ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 21, 2015, 01:52:27 PM »

ถนนยางขอ ม.44 (21/04/2558)


การเสวนา ?ฝ่าวิกฤติยางพารา พัฒนาสู่ความยั่งยืน? ในงานวันยางพาราแห่งชาติที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนเห็นตรงกัน ปัญหาราคายางมาจากเราพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก มากถึง 86%...ถ้าจะฝ่าวิกฤติให้ได้ ต้องพึ่งพาตัวเอง เพิ่มการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น

และสิ่งที่จะทำให้มีผลในทางปฏิบัติได้เร็วที่สุด ทุกฝ่ายมองไปที่ นำไปใช้ทำถนน เป็นส่วนผสมในยางมะตอย ทั้งรัฐ-เอกชน-เกษตรกร เห็นดีเห็นงามไปกันหมด...แต่พอถึงขั้นปฏิบัติ กลับไม่มีใครคิดจะเร่งรัดแก้ไขอุปสรรคปัญหา?องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 จังหวัดภาคใต้ เห็นด้วยที่จะนำยางพารามาใช้ทำถนนในส่วนรับผิดชอบของ อปท.ที่มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 1 แสนกิโลเมตร แต่หลายพื้นที่ยังไม่กล้าจะลงมือ เนื่องจากระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างยังไม่ชัดเจนว่าจะทำได้แค่ไหน บางจังหวัดที่ลงมือทำไปแล้ว ล้วนแต่เสี่ยง ทำแบบเอาขาข้างหนึ่งเข้าไปอยู่ในคุก เพราะยังไม่รู้ว่าเลยว่า เมื่อ สตง. มาตรวจสอบภายหลัง พบว่า ถนนที่ทำไปแพงกว่าถนนลาดยางทั่วไป จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้บริหาร อปท. เพราะการนำยางพารามาทำถนน ถึงจะมีคุณภาพดีกว่าแต่ราคาสูงกว่าถนนลาดยางธรรมดา 20% มันเข้าข่ายทุจริตจัดซื้อจัดจ้างแพงเกินจริง?

นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายก อบจ.ปัตตานี ในฐานะประธานสมาพันธ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคใต้ ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคสำคัญของการเอายางพารามาทำถนน ที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนจากรัฐบาลอีกปัญหา เทคโนโลยีการเอายางพารามาทำถนน ณ วันนี้ มีผู้ผลิตเพียงรายเดียว ที่ทำได้ เปิดประมูล มีปัญหาในทางปฏิบัติ มีผู้มาประมูลรายเดียว เข้าข่ายล็อกสเปก เสี่ยงติดคุกได้อีกเช่นกันที่สำคัญ ณ วันนี้ยังไม่มีมาตรการระเบียบมารองรับว่าการนำยางพารามาทำถนน จะต้องใช้ยางพาราจากส่วนไหน จากเกษตรกรในพื้นที่หรือเปล่า ถ้าไม่มีระเบียบตรงนี้ นายเศรษฐ์ มองว่า สิ่งที่ทำลงไปจะสูญเปล่า เพราะคนได้ประโยชน์จะกลายเป็นพ่อค้า...เกษตรกรจะไม่ได้อะไรเลยทั้งที่เป็นปัญหามีการพูดเรียกร้องมานาน แต่หน่วยราชการกลับไม่ได้เร่งคิดหาทางแก้ไข ประหนึ่งธุระไม่ใช่...ขืนรอระบบราชการทำงาน กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ไปซะก่อนไปๆมาๆทั้ง อปท. ทั้งคนสวนยาง คงต้องร้องขอ...ม.44 อีกแล้วรึเนี่ย.ชมชื่น ชูช่อ


ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (วันที่ 21 เมษายน 2558)