ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 08, 2015, 07:37:59 PM »

เกษตรบูรณาการ :มนต์ดำยังมาแรง

สัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวที่ได้รับความสนใจจากสังคมเป็นพิเศษ ต้องยอมรับว่าหนีไม่พ้นเรื่องที่รองนายกรัฐมนตรี ?สมคิด จาตุศรีพิทักษ์? ให้มีการเลื่อนการลงนามสัญญากับทางการจีนทั้งชุด และเลื่อนออกไปโดยสาเหตุดังกล่าวสืบเนื่องมาจากทางไทยเห็นว่า ทางการจีนไม่รับซื้อยางพาราเก่าในสต๊อกตามสัญญา โดยมีการซื้อเฉพาะยางใหม่ เพียง 2  แสนตัน  พร้อมกับเปลี่ยนบริษัท ที่จะมาเป็นคู่สัญญาด้วย
มองเผินๆ มันคงไม่มีอะไร แต่ในฐานะที่ติดตามตรวจสอบเรื่องของการค้าขายยางระหว่างไทยกับทางการจีน ตลอดหลาย ปีที่ผ่านมา ต้องบอกว่าคู่สัญญาที่ทางรัฐบาลไทยลงนามขายยางนั้น คือบริษัท HAINAN เป็นเพียงบริษัทเอกชนรายหนึ่งของประเทศจีน ซึ่งไม่ใช่ตัวแทนของรัฐบาลกลาง และที่สำคัญไปกว่านั้น การลงนามขายยางให้กับเอกชน ที่องค์การสวนยางลงนามเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2557   โดยมียางพาราทั้งหมด 2 สัญญา ซึ่งในสัญญาแรก เป็นยางพาราในสต๊อก 2.1 แสนตัน ที่ค้างมานานเป็นชาติ และในส่วนที่ 2 ยางพาราใหม่ที่เพิ่งซื้อ อีก 2 แสนตัน ซึ่งอดีตรัฐมนตรี ?อำนวย ปะติเส? ที่อ้างหนักหนาว่าเก่งในการแก้ปัญหายางพารา  โดยเสนอของบไปซื้อในโครงการมูลภัณฑ์กันชน ซึ่งสุดท้ายชัดเจนว่าไม่ถึงมือเกษตรกรจริง

มาดูกันว่า ยางพาราในสต๊อก 2.1 แสนตัน สัญญาเป็นอย่างไร เอากันให้ชัดเจนว่า เรื่องนี้มีเงื่อนงำในสัญญาชัดเจน แต่ไม่ขอเล่าลงลึก  แต่ที่สำคัญ ในสัญญาต้องรับมอบยางพาราในสต๊อก เดือนละไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นตัน แต่ถึงวันนี้ที่สิ้นสุดสัญญามาหลายเดือน ยังขายยางไม่ได้ถึง 3  หมื่นตัน ซึ่งล่าสุด กระทรวงเกษตรฯ ให้ทาง HAINAN เร่งรับยางที่เหลือพร้อมเสียค่าปรับตามสัญญา แต่เมื่อเปรียบเทียบความเสียหายที่เกิดขึ้น วันนี้ต้องยอมรับว่า ไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นไม่รวมถึง ยางอีก 2 แสนตัน ในโครงการมูลภัณฑ์กันชนที่ยังเป็นเรื่องมืดมนว่าจัดจะการกันอย่างไร

แปลกใจว่า อยู่ๆ ทางรองนายกรัฐมนตรี ?สมคิด? ออกมาเอาเรื่องยางพารามาเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดชะลอการลงนามสัญญาออกไประ หว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน น่าจะมีอะไรที่เป็นเงื่อนงำ เพราะบริษัทของทางการจีน ที่เป็นรายใหม่ เท่าที่ตรวจสอบพบว่า เป็นบริษัทที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลจีนจริง ไม่ใช่บริษัทกำมะลอ ที่ทางไทยเคยลงนามค้าขายยางกันมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 และรับยางไม่ได้ตามสัญญา ส่งผลเสียหายต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

และที่สำคัญต้องยอมรับว่า มนต์ดำ ขบวนการยางพาราที่ครอบงำกระทรวงเกษตรฯ มานานนั้น  ณ เวลานี้ในฐานะที่ตรวจสอบขบวนการงาบยางพารามานานต้องขอคารวะว่า เยี่ยมจริงๆ และที่สำคัญครอบงำมาเนิ่นนานหลายรัฐบาล ทำให้ขบวนการแก้ปัญหายางพาราของไทยยังคงหลงทิศหลงทางไปไกล ซึ่งปัญหาทั้งหมดน่าจะเกิดจากข้อมูลที่ผิดเพี้ยนจากมนต์ดำที่ร่ายกันมานาน ที่สุด หากผู้มีอำนาจรู้จักมองย้อนกันไปคงได้เห็นว่า ในกระทรวงเกษตรฯ น่าจะมีเงาอะไรรางๆ ที่ครอบงำเรื่องยางมานาน จนฉิบหาย และน่าจะสมควรถึงเวลานำพระมาสวดขับไล่เสียที เรื่องของปัญหาราคายางเท่าที่พูดคุยกับคนที่เกี่ยวกับยางพาราจริงๆ ตั้งแต่เกษตรกรจริงๆ จนถึงผู้ประกอบการ ทุกคนพูดตรงกันว่าคงแก้ยาก และสงสารเกษตรกรชาวสวนยางจริงๆที่ต้องเผชิญปัญหาราคายางพาราตกต่ำไปอีกยาว นาน
มาถึงวันนี้ ไม่แปลกใจว่า ปัญหายางพารา ทำไมแก้ปัญหาไม่ได้เสียที  เพราะล่าสุด มีข้อมูลว่า เรื่องของขบวนการงาบใน
กลุ่ม ยางพารา วันนี้ลงลึกไปถึงขั้นมีตังค์ทอนในเรื่องของการประกันภัยยางพาราที่เก็บใน สต๊อกที่เช่าเก็บในโกดัง ว่ากันว่าจ่ายกันค่อนข้างเยอะเสียด้วย  ยังไงจริงเท็จขนาดไหน จากนี้ไปคงเป็นเรื่องของท่านรัฐมนตรีเกษตรฯ ?ฉัตรชัย สาริกัลยะ? และผู้มีอำนาจที่สูงกว่านั้นจะลองตรวจสอบดูบ้างนะขอรับ เผื่อจะได้เดินแก้ปัญหาได้ถูกทาง เกษตรกรชาวสวนยางจะได้ลืมตาอ้าปากได้เสียที สาธุ


ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 8 ธันวาคม 2558)