ผู้เขียน หัวข้อ: ลุยแก้ปัญหาเอง! ชสยท.ส่งหนังสือขอนายกฯหนุน G to G ขายยางให้จีน  (อ่าน 904 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82604
    • ดูรายละเอียด
ลุยแก้ปัญหาเอง! ชสยท.ส่งหนังสือขอนายกฯหนุน G to G ขายยางให้จีน


18:35น. 8/12/2558  ที่มา PPTV HD



?ลุยแก้ปัญหาเอง! ชสยท.ส่งหนังสือขอนายกฯหนุน G to G ขายยางให้จีน
 เกษตรกรชาวสวนยางขอลุยแก้ปัญหาราคายางเอง ส่งหนังสือถึงนายกฯขอให้ อตก.เป็นเจ้าภาพซื้อขายยางแบบ G to G กับจีน โดยชุมนุมเกษตรกรชาวสวนยางจะเป็นผู้หาสินค้าส่งจีนด้วยตัวเอง พร้อมขอ 3,000 ล้านตั้งโรงงานล้อยาง
 
 

ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตัวหนึ่ง ที่เป็นปัญหายืดเยื้อต่อเนื่องมาหลายปีได้แก่ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ จากจุดสูงสุดที่ 140 กว่าบาท ลดลงเหลือกิโลกรัมละ 30 กว่าบาท ซึ่งรัฐเองก็พยายามหาทางแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ โดยที่ผ่านมาพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเองก็มีแนวคิดให้ลดพื้นที่ปลูกยาง โดยเฉพาะพื้นที่มีการบุกรุกอย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งการสร้างโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพารา ซึ่งจะมีผลทางด้านจิตวิทยาในการใช้ยางพารามาทำผลิตภัณฑ์มากขึ้น รวมถึงให้มีการรวมองค์กรต่างๆ ได้แก่ องค์การสวนยาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ขึ้นเป็น การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งเมื่อวันที่ 15 ก.ค.58 ตาม พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558


ความน่าสนใจของ การแก้ปัญหาราคายางพาราครั้งนี้ของรัฐบาล มีสิ่งที่น่าสนใจคือ แม้จะมีการรวมองค์กรเกี่ยวกับการดูแลยางเข้าไว้ด้วยกัน และดูเหมือนจะเป็นทิศทางการแก้ปัญหายางพาราได้ดี


กลับพบว่าเกษตรกรผู้ปลูกยาง อาจไม่ได้คิดเช่นนั้น และเดินหน้าแก้ปัญหาราคายางตกต่ำของพวกเขาเอง


นาย เพิก เลิศวังพง ประธานที่ปรึกษา ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า วันนี้ (8 ธ.ค.58) ทางชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสยท.) ได้รวมตัวกันและทำหนังสือส่งถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอแก้ปัญหาราคายาง โดยขอให้รัฐเป็นเจ้าภาพในการทำข้อตกลงร่วมกับรัฐวิสาหกิจของจีน 2 แห่งในการค้ายางพารารัฐวิสาหกิจไทย-จีน และชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ในรูปแบบ G to G


"ปัญหา คือ กยท. หรือการยางแห่งประเทศไทยควบรวมในภาวะที่ไม่ควรจะรวมตัวกัน แต่ควรจะเร่งแก้ปัญหาเกษตรกรก่อน เพราะอยู่ในภาวะวิกฤต แต่การควบรวมครั้งนี้ทำให้การแก้ปัญหาราคายางของเกษตรกรทำได้ล่าช้า เพราะงานหลายๆอย่างยังไม่มีการขับเคลื่อน" นายเพิก กล่าว


ที่ สำคัญคือพบว่าผู้บริหาร กยท.ในเวลานี้มีการไปทำสัญญาร่วมกับจีนเช่นกัน มีทั้งการเสนอซื้อเครื่องจักร และมีการเซ็นสัญญาขายยางให้ประเทศจีน 2 แสนตัน


นายเพิกกล่าวว่า สัญญากลับพบพิรุธมากมายว่าอาจเป็นสัญญาเอื้อนายทุน


"ใน สัญญาระบุว่าต้องเป็นยางใหม่ อายุไม่เกิน 3 เดือนเท่านั้น ที่จะขายให้จีน 2 แสนตัน และยังระบุอีกว่าจะขายในบริษัท 5 เสื้อเท่านั้น เราสงสัยมากว่าทำไมไม่เอายางเก่าที่มี 4 แสนตันไปขาย เพราะตรงนี้ถึงช่วยเกษตรกรได้จริง" นายเพิก กล่าว


ดัง นั้น ตอนนี้สิ่งที่ ชสยท. จะทำคือ ได้ส่งตัวแทนไปติดต่อกับบริษัทรัฐวิสาหกิจจีน เพื่อทำการขายยางให้จีนโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง แต่ที่สำคัญคือต้องพึ่งรัฐบาลให้เป็นตัวกลางให้ในการทำสัญญาแบบ G to G โดยจะไม่ผ่าน กยท.


"เราจะขอให้รัฐใช้ อตก.เป็นคู่สัญญา ไม่ใช่ กยท. เพราะไม่ไว้ใจ การทำสัญญาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเป็นสัญญาที่เอื้อประโยชน์นายทุนมากกว่า เกษตรกร" นายเพิก กล่าว


โดย ชสยท.จะเป็นผู้หายางของเกษตรกรนำส่งให้รัฐวิสาหกิจจีนเอง ซึ่งโดยเบื้องต้นได้มีการติดต่อไว้แล้ว 2 แห่งคือ 1.PEUING GRAIN GROUP และ 2.CMFC


นอกจากนี้ยังเตรียมที่จะเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งโรง งานยางล้อ เพื่อนำยางของเกษตรกรมาผลิต ขายให้ผู้บริโภคคนไทยในราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยจะเสนอของบประมาณ 3,000 ล้านบาท เพราะเชื่อว่าดีกว่าการที่รัฐจะเอาเงินไปแจกรายหัวให้เกษตรกรผู้เดือดร้อน


 "ทาง ชสยท.ต้องการทำจริง ไม่ค้าน กยท. แต่เมื่อสัญญามีข้อพิรุธมาก ก็จะไม่คัดค้าน แต่ขอทำเอง ขอหาแนวทางรอดของเกษตรกรด้วยตนเอง วันนี้เราขอแค่รัฐช่วยการันตีแค่นั้น" ประธานที่ปรึกษา ชสยท.กล่าว


คง ไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะเห็นการชุมนุมเรียกร้องของชาวสวนยางในแนวรุกขนาดนี้ แต่ที่ต้องจับตาคือท่าทีของรัฐบาลจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร เมื่อองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาชาวสวนยางถูกมองว่าแก้ปัญหาไม่ถูกจุด และมีผลประโยชน์ทับซ้อน?