ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดี ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556  (อ่าน 854 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82627
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดี ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ปัจจัยวิเคราะห์
1.   ส???าพ???ูมิอากาศ-   อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้???าคใต้มี   ฝนหนาแน่นร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2.   การใช้ยาง- โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป เปิดเผยว่า   บริษัทจะเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ของโรงงานในเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวนของจีนจาก 30,000 คัน เป็น 50,000 คันต่อปี ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 เพื่อรองรับอุปสงค์ในประเทศที่กำลังขยายตัวมากขึ้น
3. เศรษฐกิจโลก- สำนักงานสถิติของออสเตรเลีย รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโ???ค (CPI) ของออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 1.2 ในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในช่วงเดือนเมษายน ? มิถุนายน   ซึ่งก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าดัชนี CPI ของออสเตรเลียจะเพิ่มขึ้นแค่ร้อยละ 0.8 ในไตรมาสดังกล่าว
- ธนาคารกลางสเปน ระบุว่า   ความมั่งคั่งทางการเงินสุทธิของ???าคครัวเรือนสเปน   (ส่วนต่างระหว่างเงินออมและเงินกู้) ขยายตัวร้อยละ 19.13 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับปี 2555
- กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดการถือครองตราสารหนี้สหรัฐฯ   ของนักลงทุนต่างประเทศ รวมอยู่ที่ 5.5888 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ   ในเดือนสิงหาคมปีนี้ ลดลงร้อยละ 0.1 จากระดับ   5.5939 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ   ในเดือนกรกฎาคม โดยเป็นการลดลงเดือนที่ 5 ติดต่อกัน
4. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 31.15 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ และเงินเยนอยู่ที่ 97.36 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.93 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน-   สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด   Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคม   ปิดตลาดที่ 96.86 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.44 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล   หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นเกินคาด   ซึ่งส่งสัญญาณว่าความต้องการพลังงานในสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวลง
-   สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ   (EIA)   เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 18 ตุลาคม 2556 พุ่งขึ้น   5.2 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 379.8 ล้านบาร์เรล   มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4 ล้านบาร์เรล
6. การเก็งกำไร- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 248.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9  เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม   2557 อยู่ที่  261.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง   0.3 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 254.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 1.5 เซนต์-สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า   ตัวเลขจ้างงานนอก???าคการเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น 148,000 ตำแหน่งในเดือนกันยายน   ขณะที่อัตราว่างงานลดลงสู่ระดับร้อยละ 7.2 โดยตัวเลขจ้างงานเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น   180,000 ตำแหน่ง   หลังจากปรับตัวขึ้น 193,000 ตำแหน่งในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถูกปรับทบทวนขึ้นจากรายงานเบื้องต้นที่   169,000 ตำแหน่ง
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า   การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากเดือนกรกฎาคม   ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเดือนที่ 5   ติดต่อกัน   สู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี ที่ 9.151 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ   โดยเป็นผลมาจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่แข็งแกร่งสุดในรอบ 5 ปี
- ราคาบ้านในเมืองใหญ่ทั้ง 4 แห่งของจีนดีดตัวขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม   2554 ส่งผลให้มีความวิตกกังวลมากขึ้นว่า   จะเกิด???าวะฟองสบู่???าคอสังหาริมทรัพย์   ในขณะที่รัฐบาลจีนเองก็เลี่ยงที่จะออกมาตรการควบคุมอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม   เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศได้
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางปรับลดลงประมาณ 1   บาท เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังไม่มีความแน่นอน   และโดยทั่วไปผู้ประกอบการมีสินค้าในสต๊อคจำนวนหนึ่งที่รอการขายและส่งมอบ   ขณะที่คำสั่งซื้อจากต่างประเทศมีน้อยและส่วนมากสัญญาส่งมอบเดือนไกล มกราคม -   กุม???าพันธ์
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงประมาณ 1 บาท ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว เพราะได้รับแรงกดดันจากเงินเยนแข็งค่า และราคาน้ำมันปรับตัวลดลงทำสถิติต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือนอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนักลงทุนผิดหวังกับผลประกอบการของบริษัทเอกชนของสหรัฐฯ และอัตราจ้างงานที่เพิ่มขึ้นน้อยเกินคาด อย่างไรก็ตาม ส???าพอากาศทาง???าคใต้ที่ไม่เอื้อต่อการกรีดยาง ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
คณะทำงานวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา