ผู้เขียน หัวข้อ: รายงาน???าวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2556  (อ่าน 706 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82627
    • ดูรายละเอียด
รายงาน???าวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2556

 
 
ข่าวเศรษฐกิจ กระทรวงการคลัง -- พฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2556 10:53:55 น.
Macro Morning Focus ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2556

Summary:
1. ผู้ว่าธปท.ชี้ปัญหาสหรัฐฯ-การเมืองในประเทศเริ่มส่งผลต่อตลาดการเงิน
2. พลังงานดีเดย์เคาะแผนPDP ใหม่ปีนี้
3. ผู้ว่าฯ BOJ มั่นใจ บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2%

Highlight:

1. ผู้ว่าธปท.ชี้ปัญหาสหรัฐฯ-การเมืองในประเทศเริ่มส่งผลต่อตลาดการเงิน
 

- ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึง ผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และการเมืองในประเทศ โดยระบุว่า ขณะนี้ตลาดเงินเริ่มแสดงปฏิกิริยาต่อปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และปัญหาการเมืองในประเทศให้เห็นบ้างแล้ว ทั้งในแง่ของความคึกคักในตลาดหุ้นและเงินทุนไหลเข้าที่มีการรีรอไปบ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นจากความกังวลในประเด็นดังกล่าว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการบริหารความขัดแย้งว่าจะทำได้ดีมากน้อยเพียงใด
- สศค. วิเคราะห์ว่า จากความกังวลของเศรษฐกิจอเมริกาและปัญหาการเมืองในประเทศ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและในตลาดการเงิน แต่อย่างไรก็ดี อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทตั้งแต่เดือน ก.ย. 56 กลับมาแข็งค่าขึ้นจากเดือนก่อนหน้า (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 21 ต.ค. 56 ค่าเงินบาทปิดที่ 31.094 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ) อ่อนค่าลงร้อยละ 2.04 จากต้นปี  ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินใน???ูมิ???าค อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีเสถียร???าพอยู่ในเกณฑ์ดีสะท้อนได้จากเสถียร???าพ???ายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือน ก.ย. 56 อยู่ในระดับสูงที่ 172.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.8 เท่า

2. พลังงานดีเดย์เคาะแผน PDP ใหม่ปีนี้
- ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ได้เตรียมเสนอแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ปี 2556-2576 (PDP 2013) ให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณา???ายในปีนี้ ซึ่งจะมีข้อเสนอหลายทางเลือกที่แตกต่างจากแผน PDP เดิม เช่น การนำโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติประมาณ 13,000 เมกะวัตต์ออกจากแผน และทดแทนด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดและการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ยังปรับลดโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ 2,000 เมกะวัตต์ ในช่วงท้ายของแผนออก และเพิ่มโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงพลังงานหมุนเวียนเข้ามาแทน เป็นต้น
- สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับแผน PDP ใหม่ถือเป็นการเตรียมพร้อมด้านพลังงานเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่ทำให้ไทยจำเป็นต้องพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิ???าพโดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าที่ยังคงมีปริมาณไม่เพียงพอ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศโดยเฉพาะผลิต???ัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นหลักในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2012 ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานคิดเป็นร้อยละ 18.8 ต่อ GDP สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับในปี 1995 ที่มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ร้อยละ 10.9 ต่อ GDP โดย???าคอุตสาหกรรมและ???าคขนส่งมีการใช้พลังงานสูงสุดในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 37.1 และ 35.5 ของการใช้พลังงานทั้งหมด ตามลำดับ  ทั้งนี้ แผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินถือเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มการใช้ถ่านหินของไทย เนื่องจากราคาถ่านหินมีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงประเ???ทอื่นๆ และไทยมีพลังงานเชื้อเพลิงสำรองที่ได้พิสูจน์แล้วโดยเฉพาะถ่านหินลิกไนต์ที่มีเวลาเหลือใช้ได้ถึง 65 ปี นอกจากนี้ แหล่งสำรองถ่านหินใน ASEAN ที่ยังมีอยู่มากโดยเฉพาะการผลิตจากอินโดนีเซีย และเทคโนโลยีการผลิตถ่านหินในปัจจุบันที่มีประสิทธิ???าพในการดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้นจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินของไทยให้มากขึ้น

3. ผู้ว่าฯ BOJ มั่นใจ บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2%
- นายฮารุฮิโกะ คูโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) แสดงความเชื่อมั่นในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อของแบงก์ชาติที่ร้อยละ 2 เพื่อแก้ไข???าวะเงินฝืด และให้คำมั่นว่าจะยังคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินจนกว่าเงินเฟ้อจะสอดคล้อง กับเป้าหมายอย่างยั่งยืน ในด้านสถานการณ์ทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปัจจุบัน ผู้ว่าการบีโอเจชี้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่น "กำลังฟื้นตัวปานกลาง" เมื่อพิจารณาแนวโน้มในอนาคตแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงฟื้นปานกลาง โดยได้รับแรงหนุนจากวงจรการผลิต รายได้และการใช้จ่ายที่เหมาะสม
- สศค. วิเคราะห์ว่า นโยบายผ่อนคลายทางการเงินขนานใหญ่ ซึ่งเริ่มใช้เมื่อเดือนเม.ย.ปีนี้ เริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยอัตราเงินเฟ้อ ณ เดือน ส.ค. 56 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากดัชนีราคาสินค้าเกือบทุกหมวดที่ปรับตัวเร่งขึ้น โดยเฉพาะราคาอาหารและการคมนาคมขนส่งเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นดังกล่าวอยู่ในแดนบวกต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกันแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มส่งผลต่อระดับการบริโ???ค???ายในประเทศที่เพิ่มขึ้น สะท้อนความเสี่ยงด้าน???าวะเงินฝืดของญี่ปุ่นที่คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 56 อัตราเงินเฟ้อยังคงหดตัวที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance
Tel:  02-273-9020  Ext. 3257