ผู้เขียน หัวข้อ: ภัยแล้งฉุดภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไทยติดลบสูงสุดในรอบ 36 ปี  (อ่าน 713 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82473
    • ดูรายละเอียด
ภัยแล้งฉุดภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไทยติดลบสูงสุดในรอบ 36 ปี



  จากสถานการณ์ภัยแล้งที่ เกิดขึ้นและมีแนวโน้มรุนแรง ต่อเนื่องยาวนาน ได้ส่งผลกระทบ ต่อภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไทยในภาพรวม โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 พบสัญญาณติดลบสูงสุดในรอบ 36 ปี
 นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า จากปัจจัยภายในประเทศเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ไทยเผชิญกับปัญหาภัยแล้งมาตั้งแต่ปลายปี 2557 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ทำให้ภาครัฐต้องขอความร่วมมือให้ชาวนางดการทำนาปรังและให้เลื่อนการทำนาปี ของเกษตรกรในลุ่มน้ำเจ้าพระยาออกไป ประกอบกับปัจจัยภายนอกในช่วง 5 เดือนแรกที่ผ่านมาของปี 2558 พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชะลอตัวลงถึงร้อยละ 9.4 เนื่องมาจาก ประเทศคู่ค้าภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาได้รับผลกระทบ จากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงทำให้ชะลอการนำเข้าสินค้าเกษตร จากไทย ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 หดตัวหรือติดลบร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 โดยครึ่งปีแรกของปี 2557 มูลค่าจีดีพีภาคเกษตรอยู่ที่ 212,374 ล้านบาท ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2558 อยู่ที่ 203,454 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าที่ลดลงร้อยละ 4.2 และคาดว่าแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรทั้งปี 2558 จะติดลบอยู่ในช่วงร้อยละ (-4.3) - (-3.3) จากปี 2557 ที่มีมูลค่า 422,453 ล้านบาท คาดว่าจะลดลง เหลือ 406,400 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นภาวะเศรษฐกิจการเกษตรที่ติดลบหนักสุดในรอบ 36 ปี ทั้งนี้ คิดจากราคาปีฐาน 2531
 ทั้งนี้ เนื่องจาก สาขาพืช ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ หดตัวร้อยละ 7.3 จากการลดลงของผลผลิตพืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปรัง ในเขตพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาและแม่กลองที่มีเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตที่ลดลง จากปัญหาภัยแล้ง ส่วนสับปะรดโรงงานลดลงจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งทำให้ต้นไม่สมบูรณ์จึงไม่ให้ ผลผลิต ยางพาราลดลงจากน้ำยางในภาคอีสานที่ลดลงจากภัยแล้งและการตัดโค่นพื้นที่สวน ยางพาราเก่า ปาล์มน้ำมันลดลงจากจำนวนทะลายที่ลดลงเพราะอากาศร้อนและขนาดทะลายเล็กเพราะ จั่นมีเกสรตัวผู้มากกว่าตัวเมีย และผลไม้ที่ลดลง ได้แก่ ทุเรียน มังคุด และเงาะ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจึงไม่ติดดอกออกผลเท่าที่ควร พืชที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปีภาคใต้ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น ลำไยนอกฤดูเพิ่มขึ้นจากผลผลิตในภาคกลางทยอยออกสู่ตลาด
 เช่นเดียวกับ สาขาบริการทางการเกษตร ที่ในช่วงครึ่งแรกของปี หดตัวร้อยละ 6.6 เนื่องจากผลกระทบจากการจ้างบริการเตรียมดิน ไถพรวนดิน และการให้บริการเกี่ยวนวดข้าวลดลงตามพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ข้าวนาปรังที่ลดลง รวมทั้งการงดทำนาปีในพื้นที่เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัดในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2558
 ขณะที่สาขาอื่นมีการขยายตัว ประกอบด้วย สาขาปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากสินค้าปศุสัตว์สำคัญทั้งไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบที่ขยายการเลี้ยง สาขาประมง ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นหลังการฟื้นตัวจากปัญหาโรค EMS และ สาขาป่าไม้ขยายตัวร้อยละ 3.5 จากผลผลิตป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ยางพาราที่เพิ่มขึ้นตามพื้นที่ตัดโค่นสวนยางพาราเก่าของสำนักงานกองทุน สงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ขณะที่ ไม้ยูคาลิปตัสเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้กระดาษทั้งในและต่างประเทศ ส่วนน้ำผึ้งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างเอื้ออำนวยและการเร่ง ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ
 นายเลอศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลัง ยังคงต้องเฝ้าติดตามและประเมินสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงอย่างใกล้ชิด เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกร ที่สำคัญยังต้องติดตามภาวะเสี่ยงฟองสบู่แตกของเศรษฐกิจจีน หลังดัชนีตลาดหลักทรัพย์จีนหดตัวลงกะทันหัน รวมถึงสัญญาณความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์จากการหดตัวของการบริโภคภายใน ประเทศจีน ซึ่งอาจส่งผลกระต่อทบประเทศไทย
 นี่คือปรากฏการณ์ผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ที่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของไทยอย่างชัดเจน ดังนั้นเกษตรกรควรปรับตัว เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากขึ้น
      มติชน (Th)