ผู้เขียน หัวข้อ: ดันสวนยางขึ้นชั้น 'เสือส่งออก'  (อ่าน 754 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82609
    • ดูรายละเอียด
ดันสวนยางขึ้นชั้น 'เสือส่งออก'
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2015, 04:42:54 PM »
ดันสวนยางขึ้นชั้น 'เสือส่งออก'


หลังใช้เวลา 20 ปี ใน ที่สุดก็มีการจัดตั้ง "การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)" ภายใต้ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ทำหน้าที่กำหนดนโยบายบริหารจัดการยางพาราของประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่การปลูกยางไปจนถึงแปรรูป และส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางส่งออกยางได้เอง

 แต่ปรากฏว่าในทางปฏิบัติองค์กรแห่งนี้ยังไม่สามารถปฏิบัติงานใดๆ ได้ เนื่องจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งกรรมการบริหารองค์การยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้ตัวกรรมการภายใน 120 วันหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ หรือภายในวันที่ 11 พ.ย. 2558

 เชาว์ ทรงอาวุธ รักษาการ ผู้ว่าการ กยท. ระบุว่า ขณะนี้ยังเรียกประชุมบอร์ดไม่ได้ เพราะแม้ว่าจะคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการครบทั้ง 15 คนเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้ประธานบอร์ด เพราะต้องรอให้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ลงนามแต่งตั้งประธานบอร์ดก่อน จากนั้นจึงจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ จากนั้นบอร์ดจะคัดเลือกผู้จะทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการ กยท. และทำหน้าที่เป็นเลขานุการบอร์ด

 ทว่า การที่บอร์ดยังประชุมไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อการทำงานตามนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรชาว สวนยางของรัฐบาลแล้ว ประสิทธิ์ หมีดเส็น ว่าที่บอร์ด กยท. ระบุว่า การจัดตั้งบอร์ดยิ่งล่าช้าออกไปเท่าไหร่ยิ่งกระทบต่อชาวสวนยางที่รอการช่วย เหลือมากเท่านั้น เช่น การชดเชยรายได้ตามมาตรเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรชาวสวนยางไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ ที่ ครม.อนุมัติวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ยังไม่ได้เงินช่วยเหลือ

 นอกจากนี้ ยังส่งผลให้ กยท.ไม่สามารถนำเงินจากกองทุนการยางฯ ที่มีประมาณ 1 หมื่นล้านบาท มาใช้เป็นทุนหมุนเวียนให้สถาบันเกษตรกรนำไปสนับสนุนการปลูกการแปรรูป และการส่งออกได้ รวมทั้งสนับสนุนมาตรการโค่นยางเก่าปลูกยางใหม่ด้วย

 "สถาบันเกษตรกรขาดเงินทุนหมุนเวียน เพราะเข้าถึงแหล่งเงินจากธนาคารได้ยาก พ.ร.บ.การยางจึงกำหนดให้กันเงินไม่เกิน 35% ของกองทุน กยท. ซึ่งปัจจุบันเหลือเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท มาใช้ได้ โดยเฉพาะการนำเงินไปสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรยกระดับเป็น ผู้ส่งออกยางโดยตรง แข่งกับ 5 เสือส่งออก หากทำได้จะทำให้ชาวสวนส่งออกยางได้เองอย่างน้อย 2-3 แสนตัน/ปี จากผลผลิต 4 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้ราคายางมีเสถียรภาพ" ประสิทธิ์ กล่าว

 ประสิทธิ์ ตั้งเป้าว่า กยท.จะสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ยกระดับจนกลายเป็นผู้ส่งออกยางในตลาดโลกแข่งกับเอกชนรายใหญ่ จากปัจจุบันที่มีน้อยมาก
 ด้าน อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะนักวิชาการที่ศึกษาตลาดยางพารา ให้ความเห็นว่า กยท.คงไม่ใช่ยาวิเศษที่จะเข้ามายกระดับราคายางในประเทศได้ เนื่องจากราคายางจะผูกติดกับราคาในตลาดโลก แต่ กยท.จะทำให้องค์กรชาวสวนยางเข้มแข็ง และพัฒนาเป็นเสือส่งออกยางตัวใหม่ได้ในอนาคต เพราะจะมีกองทุนการยางฯ เข้ามาสนับสนุนปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท

 "ราคายางที่ขณะนี้ตกต่ำมาอยู่ที่ 3 กิโลกรัม 100 บาท หากเป็นสถานการณ์ปกติม็อบคงเต็มถนนไปแล้ว และหากรัฐบาลต้องการดึงราคายางในประเทศให้สูงขึ้น จะต้องส่งเสริมให้มีการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งบุกหาตลาดส่งออกใหม่ๆ เช่น อินเดีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก มีกำลังผลิตรถยนต์ 21 ล้านคัน/ปี ที่สำคัญอินเดียพื้นที่ปลูกยางน้อย จึงต้องนำเข้ายาง" อัทธ์ ระบุ

 อัทธ์ ยังระบุอีกว่า แม้ว่าทุกรัฐบาลจะมีนโยบายส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศ โดยตั้งเป้าเพิ่มการใช้จาก 14% เป็น 30% ของผลผลิตทั้งประเทศ 4 ล้านตัน แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไทยไม่สามารถเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศได้เกิน 14% ของผลผลิตทั้งหมด เพราะหน่วยงานภาครัฐและเอกชนแทบไม่ให้ความร่วมมือ และอ้าง ข้อจำกัดมากมาย เช่น โครงการถนนยางพาราที่ประกาศมา 2 ปี แล้ว แต่ปัจจุบันมีการสร้างถนนยางพาราน้อยมาก โดยเท่าที่ทราบมีการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้นเพียง 2-3 หมื่นตันเท่านั้น จากปริมาณการใช้ยางในประเทศ 5-6 แสนตัน/ปี

 จึงต้องติดตามว่า กยท.จะสร้างเสือส่งออกตัวใหม่ได้หรือไม่

      โพสต์ ทูเดย์ (Th)      
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2015, 04:46:42 PM โดย Rakayang.Com »