ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 998 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82556
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  4  กรกฎาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้อ่อนกำลังปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนน้อยลง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง- บริษัท Hankook Tire ผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า บริษัทได้ลดกำลังการผลิตเนื่องจากสต๊อคสินค้ามีจำนวนมาก โดยระบุว่าจำนวนยางล้อที่ยังไม่ได้จำหน่ายมีสูงถึง 660,000 เส้น ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2484 หรือคิดเป็นร้อยละ 8.5 ของปริมาณการผลิต 7.75 ล้านเส้นที่บริษัทผลิตได้ต่อเดือน
3. เศรษฐกิจโลก- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 0.15 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และได้คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ร้อยละ 0.10 โดยการตัดสินใจของ ECB. เพื่อต้องการประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ร้อยละ 0.15 จากระดับเดิมที่ร้อยละ 0.25 และยังคงยืนยันจะใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินต่อไป เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยูโรโซน
- แบงค์ ออฟ คอมมิวนิเคชั่น เปิดเผยรายงานอัตราขยายตัวรายปีของเศรษฐกิจมีแนวโน้มอยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปี 2557 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้มาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล นับว่าบรรลุระดับเป้าหมายที่จีนได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นปี
- ผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของญี่ปุ่นเดือนมิถุนายนลดลงเล็กน้อย สู่ระดับ 49.0 จุด จาก 49.3 จุดในเดือนพฤษภาคม
- สถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)
ภาคบริการเดือนมิถุนายนลดลงแตะ 56.0 จุด จาก 56.3 จุดในเดือนพฤษภาคม

- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของสหรัฐฯ เดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 61.0 จุด จาก 58.1 จุดในเดือนพฤษภาคม
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนพฤษภาคมปรับตัวลดลงหลังยอดส่งออกปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดนำเข้าลดลง โดยยอดขาดดุลการค้าเดือนพฤษภาคมลดลง 2.6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ อยู่ที่ 4.44 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ จาก 4.70 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี
- ผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิถุนายน ระบุว่า
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อยูโรโซนปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน อยู่ที่ 52.8 จุด จาก 53.2 จุดในเดือนพฤษภาคม แต่ทรงตัวเมื่อเทียบกับข้อมูลเบื้องต้น
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อสเปนลดลงมาอยู่ที่ 54.8 จุด จาก 55.47 จุดในเดือนพฤษภาคม ส่งสัญญาณว่ากิจกรรมในภาคบริการขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้ออิตาลีปรับตัวสูงขึ้นแตะ 53.9 จุด จาก 51.6 จุดในเดือนพฤษภาคม เป็นการปรับตัวขึ้นครั้งที่ 4 ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อฝรั่งเศสลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนที่ 48.2 จุด จาก 56.0 จุดในเดือนพฤษภาคม
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้ออังกฤษลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ที่ 57.7 จุด จาก 58.6 จุดในเดือนพฤษภาคม
4. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 32.41 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 102.14 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.27 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่ 104.06 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.42 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงกดดันจากการคาดว่าอุปทานน้ำมันจากลิเบียอาจเข้าสู่ตลาดน้ำมันโลกมากขึ้น หลังจากมีรายงานว่าท่อส่งน้ำมัน 2 แห่งของลิเบียสามารถดำเนินการได้ตามปกติ
6. การเก็งกำไร- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 204.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 213.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.6 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 209.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้น 288,000 ตำแหน่ง มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 215,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราว่างงานปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปี สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ยังคงฟื้นตัว และมีแนวโน้มที่จะช่วยหนุนเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
- กระทรวงการจ้างงานและสวัสดิการสังคมของสเปน เปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงานในสเปนเดือนมิถุนายนลดลง 122,684 ราย เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม หรือลดลงร้อยละ 2.68
- สถาบันวิจัยด้านการเงินระหว่างประเทศของแบงค์ ออฟ ไชน่า (BOC) คาดการณ์ว่าจีนจะคุมเข้มและขยายขอบเขตการปรับลดสัดส่วนการกันสำรอง (RRR) ในไตรมาส 3
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากผู้ประกอบการหลายรายเริ่มขาดทุนในช่วงครึ่งแรกของปี ซึ่งได้ซื้อเกินราคามาตลอด เมื่อมีการทบทวนรายจ่ายดอกเบี้ยการจัดการที่ต้องใช้จ่าย จึงมีการปรับราคาลงให้เป็นไปตามความเป็นจริง ให้คุ้มทุนกับที่ขาดทุนในช่วง 6 เดือนแรกของปี
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง และข้อมูลเศรษฐกิจยูโรโซนยังคงซบเซา ประกอบกับผู้ประกอบการในประเทศเริ่มวิตกกังวลหลังจากครึ่งปีแรกราคาไม่มีแนวโน้มจะสดใส อีกทั้งคาดว่าปริมาณผลผลิตจะเพิ่มขึ้นหลังจากต้นยางได้รับปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]