ผู้เขียน หัวข้อ: ไทย-มาเลย์-อินโดฯ จัดเวทีถกใน2-3สัปดาห์หน้า กำหนดมาตรการแก้ปัญหายางราคาต่ำ พร้อมดึงเวียดนาม กัมพูชา ลาวร่วม  (อ่าน 844 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82473
    • ดูรายละเอียด

ไทย-มาเลย์-อินโดฯ จัดเวทีถกใน2-3สัปดาห์หน้า กำหนดมาตรการแก้ปัญหายางราคาต่ำ พร้อมดึงเวียดนาม กัมพูชา ลาวร่วม


นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับ นายดักลัส อุกะห์ เอ็มบาส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการเพาะปลูกและสินค้ามาเลเซีย ว่า อีก 2-3 สัปดาห์ 3 ประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลกกว่า 70% ของกำลังการผลิตทั่วโลก ได้แก่ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จะร่วมหารือกันที่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย


โดยการหารือครั้งนี้จะมีการเชิญประเทศผู้ผลิตยางอื่นๆ อีก 3 ประเทศ เช่น เวียดนาม กัมพูชา และลาว รวมทั้งหมด 6 ประเทศ มาร่วมหารือถึงมาตรการระยะสั้นและระยะยาวที่จะทำให้ราคายางปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เชื่อว่าหลังการประชุมร่วมกันแล้วโอกาสที่จะขายยางได้ในราคาดีจะมีมากขึ้น


ทั้งนี้ภายหลังการหารือร่วมกันในส่วนของไทย เห็นควรมีมาตรการออกมาช่วยชาวสวนยางเพิ่มเติม จาก 4 มาตรการที่ออกมาก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย 1.เร่งรัดการใช้ยางในประเทศ 2.การปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการยาง 3.การสร้างตลาดซื้อขายยางธรรมชาติ และ 4.การร่วมมือกับต่างประเทศกำหนดแนวทางจัดเก็บสต็อกยาง ส่วนการขายยางในสต็อกของรัฐจำนวน 208,000 ตัน ขณะนี้ยังไม่ได้ขายออกไป เพราะอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจคุณภาพสต็อกยาง ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งมาตรการทั้งหมดยังไม่เพียงพอ


?ที่จริงก่อนหน้านี้ผมต้องการเดินสายไปพบปะหารือ เรื่องมาตรการยางกับประเทศผู้ปลูกยางอีก 5 ประเทศ แต่กำหนดการต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากมาเลเซียกำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จึงยังไม่สามารถไปได้ เพราะเห็นว่าในฐานะที่เราเป็นผู้ขาย ควรจะมีโอกาสกำหนดราคายาง ไม่ควรปล่อยให้ราคายางลดลง โดยถูกกำหนดโดยผู้ซื้อหรือตลาดซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ?นายปีติพงศ์ กล่าว


สำหรับสาเหตุที่ราคายางร่วงลงทั่วโลก ไม่เฉพาะราคายางในไทย เป็นเพราะปริมาณผลผลิตยาง มีมากกว่าความต้องการของโลก เนื่องจากการควบคุมปริมาณผลผลิตของแต่ละประเทศในทางปฏิบัติมักทำไม่ค่อยได้ เพราะในช่วงที่ยางพารามีราคาดี เกษตรกรก็ยังขยายพื้นที่ปลูกยางกันเหมือนเดิม โดยในส่วนของประเทศไทย มีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องยางพาราโดยตรง คือ กรมวิชาการเกษตร และบริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศ (IRCO) เป็นตัวเริ่มว่าจะหยิบมาตรการไหนมาช่วย แต่ตนคิดว่าการขายยางมีโอกาสที่ดีขึ้น


นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า แนวโน้มผลผลิตยางพาราในโลกรวมทั้งประเทศไทยเพิ่มขึ้น สวนทางกับความต้องการบริโภค โดยเฉพาะความต้องการใช้ของผู้บริโภคอันดับต้นๆ ของโลกอย่างจีน ส่งผลให้ราคายางปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลคงจำเป็นต้องหามาตรการที่จะดูดปริมาณยางออกจากระบบ เช่น การส่งเสริมการใช้ในประเทศ การส่งเสริมการแปรรูป โดยสาเหตุที่ทำให้การบริโภคยางของจีนลดลง อาจเป็นจากมาตรการส่งเสริมการปลูกยางของจีนในประเทศ CLMV คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ที่ขณะนี้มีผลผลิตออกสู่ตลาดแล้วมากกว่า 9% ของผลผลิตทั่วโลก ดังนั้น ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อพยุงราคายางที่อดีตเคยขายได้ราคาสูง


ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 7 ตุลาคม 2557)