ผู้เขียน หัวข้อ: จี้รัฐรื้อเงิน 'เซส' ยางชี้กระทบส่งออก  (อ่าน 710 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82473
    • ดูรายละเอียด
จี้รัฐรื้อเงิน 'เซส' ยางชี้กระทบส่งออก


       นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมทบทวนการจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง (cess หรือ เซส) และพิจารณาโครงการสร้างอาชีพเสริมในสวนยางพารา ว่า ตามข้อเสนอของผู้ส่งออก ชาวสวนยาง สมาคมน้ำยางข้น ที่ต้องการทบทวนอัตราการจัดเก็บเงินเซสใหม่ โดยอ้างว่าการจัดเก็บแบบขั้นบันไดในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถการส่งออกยางของไทย




อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปรับเปลี่ยนระบบเงินเซสดังกล่าว จะส่งผลกระทบกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงให้ทุกหน่วยงานกลับไปหารือ และศึกษาวิธีการของประเทศผู้ผลิตรายอื่น ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่งทางการค้าด้วย


          เบื้องต้นที่ในประชุมได้เสนอให้วางกรอบการเก็บเซสอยู่ที่กิโลกรัมละ 2-3 บาท จากปกติกิโลกรัมละ 1.40-5 บาทตามขั้นบันได




          ทั้งนี้ปัจจุบันสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ส.ก.ย.) สามารถเก็บเงินเซสได้ ปีละ ประมาณ 7,000 ล้านบาท หักค่าใช้จ่ายปีประมาณ 2000 ล้านบาท เหลือเพียง 4,000 - 5,000 ล้านบาทเท่านั้น ถือว่ายังไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมอาชีพการทำสวนยาง เพราะปัจจุบันส.ก.ย. กำหนดจ่ายเงินส่งเคราะห์การทำสวนยางไว้สูงถึงไร่ละ 16,000 บาท ในขณะที่ ชาวสวนขอเพิ่มเป็น ไร่ละ 26,000 บาท ดังนั้นรายได้ทั้งหมดจึงไม่เพียงพออย่างแน่นอน




          นายประสิทธิ์ หมีนเส็ด รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ส.ก.ย.) กล่าวว่า สมาคมผู้ผลิตน้ำยางข้น เกษตรกรและผู้ประกอบการเห็นว่าการเก็บแบบขั้นบันไดในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันการส่งออกยางไทย โดยส่วนใหญ่เห็นว่าการเก็บเซสครั้งนี้ควรกำหนดเป็นอัตราตายตัว แต่จะเป็นอัตราเท่าใดนั้นยังไม่สามารถกำหนดได้




        "ส.ก.ย. เห็นด้วยที่จะให้มีการจัดเก็บแบบฟิกตายตัวเอาไว้ แต่ควรจะเป็นอัตราที่สูงๆ เพื่อให้สามารถนำรายได้ชดเชยการโค่นยางเก่าเพื่อปลูกใหม่ หากค่าเซสลดลงก็ต้องช่วยเหลือในอัตราที่เหมาะสมด้วย" นายประสิทธิ์ กล่าว




         นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานชุมนุมสหกรณ์เกษตรอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่าการเก็บเงินเซส ควรกำหนดไว้ที่ กก.ละ 1.40 บาทเท่ากับมาเลเซีย ไม่ควรกำหนดไว้ที่ กก.ละ 2 บาท เพราะปัจจุบันที่ราคายางปรับตัวลดลง มีการจัดเก็บอยู่ที่กิโลกรัมละ 1.90 บาท การจัดเก็บดังกล่าว แม้จะส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้น้อย แต่ก็ไม่ควรปรับลดค่าสงเคราะห์ ลงจากปัจจุบันที่ส.ก.ย. จะต้องจ่ายให้ไร่ละ 16,000 บาท หากเงินไม่พอก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องหามาเพิ่มให้




            ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ได้จัดทำแผนที่จะให้การช่วยเหลือชาวสวนยางเสร็จเรียบร้อยแล้วและจะนำเสนอให้กับนายกรัฐมนตรีภายใน 3 - 4 วันนี้ โดยเป็นแผนที่ครอบคลุมทุกด้านทั้งการช่วยเหลือเกษตรกร การขยายยางและการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพารา อย่างไรก็ตามไม่มีมาตรการให้เงินช่วยเหลือต่อไร่แต่อย่างไร




        "การช่วยเหลือเกษตรกรทั้งหมดก็ดูอยู่แต่จะให้ช่วยเหลือให้มากกว่าต้นทุนอันนี้ก็ต้องเห็นใจกันว่าการช่วยเหลือในวงกว้างหลายอย่างก็อาจทำไม่ได้ ในส่วนของมาตรการยางพาราจะทำให้ครบทั้งหมด 3 ด้านและคาดว่าราคายางพาราจะเพิ่มขึ้น พอสมควร" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว






Souce: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ