ผู้เขียน หัวข้อ: เกษตรฯเร่งแผนใช้ยางภายในดึงราคา  (อ่าน 644 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82645
    • ดูรายละเอียด
เกษตรฯเร่งแผนใช้ยางภายในดึงราคา


เกษตรฯเสนอ"ปรีดิยาธร"แผนแก้ปัญหา ราคายาง ยอมรับเป็นเรื่องยาก เร่งวางแผนการใช้ ภายในประเทศ ดึงอปท.-ท้องถิ่นเร่งใช้ยาง เผยมี 2 ปัจจัยเสี่ยงดึงราคาตกต่ำ

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่ากระทรวงเกษตรฯได้จัดทำแผนงานและเป้าหมายการใช้ยางในประเทศให้มากที่สุด เพื่อเสนอ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาเห็นชอบการดำเนินการ ทั้งเรื่องโครงการ งบประมาณและ การนำยางไปใช้ในประเทศ เพื่อพยุงราคายางของชาวสวนยางไว้ไม่ให้ตกต่ำกว่าที่เป็นอยู่ เพราะการเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศน่าจะเป็นทางรอด ที่จะทำให้ราคายางไม่ตกต่ำ จนกว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวดีขึ้น คาดว่าราคาน้ำมันที่ยังเคลื่อนไหวในทิศทางที่ลดลงอีกประมาณ 2-3 ปีข้างหน้า

สำหรับแผนการใช้ยางในประเทศ มี เป้าหมายใช้ยางให้ได้มากที่สุดจากปัจจุบัน 14% เป็น 20-30% ของผลผลิตรวมของทั้งประเทศ หรือมากกว่านั้นถ้าทำได้ โดยทุกภาคส่วนต้องมาช่วยกัน เพราะการแก้ปัญหายางยอมรับหากให้กระทรวงเกษตรฯแก้หน่วยงานเดียวคงไม่ไหว ต้องให้ทุกภาคส่วนทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ช่วยเพื่อดูดซับผลผลิตยางว่า จะรับผิดชอบกันได้เท่าไหร่ หากได้ตัวเลข การใช้ยางทุกภาคส่วน และผลผลิตที่ชัดเจน ก็จะทำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบาย ยางธรรมชาติ(กนย.) ก่อนเสนอเป็นแผน การใช้ยางในประเทศในปีงบประมาณ 2559

"เราได้เสนอแผนการใช้ยางในประเทศให้รองนายกรัฐมนตรีไปแล้ว หากใช้ในประเทศได้ 1 แสนตัน หรือมากกว่ายิ่งดี ที่ผ่านมาเข้าใจว่า หลายฝ่ายพยายามช่วยอยู่ แต่เงื่อนไขการประมูลโครงการรัฐ มันต้องมีมาตรฐานหากไม่ถูกต้องตามมาตรฐานที่ประมูล ตรวจพบทีหลังก็เจอคุกแน่ แล้วจะมีข้าราชการคนไหนกล้า ที่ผ่านมาไทยไม่มีมาตรฐานอะไรบ้าง หากต้องการให้ภาครัฐประมูลใช้ยางพาราต้องเร่งมือทำมาตรฐานก่อน ถึงเวลานี้คงไม่ทันแล้ว จำเป็นต้องหารือกับหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานขั้นสูง เช่น อปท. เพราะ อปท.เป็นหน่วยงานที่มีงานโยธาจำนวนมาก หน่วยงานในระดับท้องถิ่น ที่ต้องทำ สนามเด็กเล่น ทางเดินเท้า การปูพื้น และ ถนน" นายปีติพงศ์ กล่าว

นายปีติพงศ์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาราคายางตกต่ำยอมรับว่าทำได้ยาก เพราะยางเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่แก้ปัญหายากกว่าสินค้าตัวอื่นทุกตัว เนื่องจากราคายางเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ที่มี การผลิตเพื่อส่งออกกว่า 90% ดังนั้นราคายาง จึงยังมีปัจจัยเสี่ยงภายนอก 2 เรื่อง คือ 1.ปัญหาสงคราม ในต่างประเทศที่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะยืดเยื้อ มากน้อยเพียงใด 2.ปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลก ตกต่ำ ยังกดดันราคาในประเทศให้ตกต่ำต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ผลักดันมาตรการกระตุ้นการใช้ และเพิ่มมูลค่า โดยการปล่อยสินเชื่อ ไปหลายต่อหลายครั้ง ทั้งให้โรงงาน ให้สหกรณ์ ผู้ประกอบการหรือชาวสวนแต่ก็ไม่เห็นภาพของการใช้ยาง หรือใช้สินเชื่อเพิ่มขึ้น อย่างกรณีปล่อยกู้ให้ภาคอุตสาหกรรม 5,000 ล้านบาท ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นมีคนมาขอกู้ประมาณ12%รัฐบาลพยายามทำหลายวิธีให้เกิดการเพิ่มมูลค่าให้ราคายาง หากไม่ช่วยคงนิ่งสนิทแบบนี้ต่อไป

ดังนั้นต้องเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเพื่อ พยุงราคายาง จนกว่าสถานการณ์น้ำมันจะดีขึ้น มีทางรอดอยู่ 3 ทาง คือ 1.ต้องลดพื้นที่เพาะปลูก 2.สร้างดูดซับในประเทศ 3.หลวงและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องช่วยกัน ยอมรับไม่ขยับ ยางแก้ปัญหายากกว่าสินค้าเกษตรตัวอื่น หากไม่ทำ 3 อย่าง ที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอไป รัฐบาลต้องเร่งผลักดัน พระราชบัญญัติรายได้ และสวัสดิการเกษตรกร เร่งเพิ่มขีดความสามารถ ของสหกรณ์เพื่อช่วยกระจายผลผลิตยางให้ได้มากที่สุด

"แก้ปัญหายาง ให้เกษตรฯ แก้หน่วยงานเดียวคงไม่ไหว"--จบ--




Souce: กรุงเทพธุรกิจ (Th)