ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 789 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82663
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  24  เมษายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ประเทศไทยยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น   โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกรรโชกแรง ส่วนภาคใต้มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง เพราะส่วนใหญ่ยังไม่มีการเปิดกรีดยางรอบใหม่ซึ่งล่าช้ากว่าทุกปีที่จะมีการ เปิดกรีดหลังสงกรานต์
 
2. การใช้ยาง
 
- บริษัทผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การผลิตรถยนต์ภายในประเทศลดลงร้อยละ 3.7 ในปีงบประมาณ 2557 อยู่ที่ 9,031,944 คัน ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 5 ปี   ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีบริโภคหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากร้อยละ 5.0 เป็นร้อยละ   8.0 ในเดือนเมษายน 2557 ที่เป็นการปรับขึ้นในรอบ 17 ปี
 
3. สต๊อคยาง
 
- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 10   เมษายน 2558 ลดลง 269 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2.80 อยู่ที่ 9,342 ตัน จากระดับ 9,611 ตัน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558
 
4. เศรษฐกิจโลก
 
- มาร์กิต อิโคโนมิกส์   บริษัทสำรวจข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ภาคการผลิตสหรัฐฯ   เดือนเมษายนมีการขยายตัวต่ำกว่าคาด โดยระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)   ภาคการผลิตเบื้องต้นลดลงสู่ 54.2 จุด จาก 55.7 จุดในเดือนมีนาคม ชะลอตัวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 55.5 จุด พร้อมนี้ได้เปิดเผยข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของยูโรโซนเดือนเมษายนปรับลดลงแตะ 53.5 จุด ต่ำสุดในรอบ   2 เดือน จาก 54.0 จุดในเดือนมีนาคม โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนเมษายนลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน
 ที่ 51.9 จุด จาก 52.2 จุดในเดือนมีนาคม ขณะที่ PMI ภาคบริการเบื้องต้นเดือนเมษายนปรับตัวลงมาอยู่ที่   53.7 จุด ต่ำสุดในรอบ 2 เดือน เมื่อเทียบกับ 54.2 จุดในเดือนมีนาคมเช่นเดียวกัน

- สถาบัน Gfk เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมันเดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้นแตะ   10.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544 หลังจากปรับตัวที่ 10.0 ในเดือนเมษายน แสดงให้เห็นว่าชาวเยอรมันยังคงมีมุมมองบวกต่อเนื่องต่อภาวะเศรษฐกิจของ ประเทศ
- ธนาคารกลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า   ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 1.0 เป็นไตรมาสที่สี่ติดต่อกัน หลังจากการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนซบเซา ก่อให้เกิดกระแสวิตกต่อแนวโน้มการขยายตัวต่ำ ทั้งนี้ GDP ที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 0.8 ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนเดือนเมษายนลดลงแตะ 49.2 จุด เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 12 เดือน จาก 49.6 ในเดือนมีนาคม
 
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.45 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.05   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 119.51 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.52 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
6. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดตลาดที่ 57.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น   1.58 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางเริ่มกลับมาปะทุอีกครั้ง หลังจากมีรายงานว่าซาอุดิอาระเบียและกองกำลังพันธมิตรได้เปิดฉากโจมตีทาง อากาศรอบใหม่ต่อกลุ่มกบฎฮูตีในเยเมน
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent)   ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 64.85 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล   เพิ่มขึ้น 2.12 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
7. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 206.3 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 0.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 206.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 172.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 1.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
8. ข่าว
 
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ   รายงานยอดจำหน่ายบ้านใหม่ในสหรัฐฯ เดือนมีนาคมลดลงมากที่สุดในรอบกว่า 1 ปีครึ่ง บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัย   ทั้งนี้กระทรวงฯ ระบุว่ายอดจำหน่ายบ้านใหม่ลดลงร้อยละ 11.4 อยู่ที่ 481,000 ยูนิต ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 จาก 543,000 ยูนิตในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ   เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 18 เมษายน 2558 เพิ่มขึ้น 1,000 ราย อยู่ที่ 295,000 ราย สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 290,000 ราย
 
9.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นได้ในช่วงแคบ   ๆ เพราะผลผลิตยางมีน้อย หลายพื้นที่ยังคงรอฝนตกหนักจึงจะเปิดกรีดยางรอบใหม่ได้   อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางส่วนมีความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบ แต่ถ้าราคาสูงเกินไปก็จะไม่ซื้อ
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้อุปทานยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย อีกทั้งการเปิดกรีดยางรอบใหม่อาจล่าช้ากว่าทุกปี ส่วนปัจจัยลบมาจากเงินเยนแข็งค่า และยังไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ เข้ามากระตุ้นตลาด ประกอบกับนักลงทุนยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซและสถานการณ์ความตึง เครียดในตะวันออกกลาง รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของทั้งสหรัฐฯ และยูโรโซน อาจส่งผลให้อุปสงค์ยางซบเซาลง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา