ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2016, 09:54:52 AM »

เข้มระดับส่งออกยาง วงประชุมไตรภาคี3ชาติเร่งทบทวนป้องกันล้นตลาด
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน  2016 เวลา 10:41 น.


ายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า การประชุมสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับประเด็นการพยากรณ์อุปสงค์ อุปทาน ยางพาราของโลก ในการนำหลักสถิติและวิชาการเข้ามาใช้ในการประเมินความต้องการการใช้ยางของโลก ซึ่งโลกยังมีความต้องการใช้ยางพาราอยู่เป็นจำนวนมาก แม้จะไม่ได้เติบโตในอัตราที่สูงมากแต่ก็มีความใกล้เคียงกันของอุปสงค์ อุปทาน ที่เกิดขึ้นในแต่ละปีประมาน 3-5% ต่อปี แต่สิ่งที่แตกต่างกันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ จะมีประเทศผู้ส่งออกที่มีความหลากหลายทำให้เกิดแข่งขันเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการแข่งขันในเชิงประเทศผู้ปลูกยาง ดังนั้นการแก้ปัญหาจำเป็นต้องทำการพัฒนาคุณภาพยางพาราให้ตรงความต้องการของผู้ใช้ในโลก

ในส่วนของผลการดำเนินการตามมาตรการกำหนดปริมาณการส่งออก (AETS) ขณะนี้ได้ดำเนินการเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่มีการ

ร่วมมือกันของไตรภาคียางพาราระหว่างประเทศ โดยสาเหตุที่ต้องมีการวิเคราะห์กำหนดปริมาณการส่งออกที่เหมาะสม อันเนื่องมาจากหลักสถิติจะแสดงให้เห็นว่าหากแต่ละประเทศทำการส่งออกโดยที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จะทำให้ปริมาณสินค้าเกินความต้องการของตลาด ส่งผลกระทบต่อราคายางและส่งผลต่อเกษตรกรของโลก จำเป็นต้องหาจุดสมดุลของราคาและปริมาณ โดยการกำกับปริมาณให้เป็นไปตามข้อตกลงของ 3 ประเทศสมาชิก ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เนื่องจากการส่งออกยางพารารวมทั้ง 3 ประเทศ มีปริมาณมากกว่า 50% ของโลก ดังนั้นจะต้องมีการประเมินความเหมาะสมของปริมาณที่ชัดเจน ซึ่งในรอบปีนี้มาเลเซียเป็นประเทศเดียวที่สามารถปฏิบัติได้ตามข้อกำหนดที่เป็นพันธะสัญญาร่วมกันของสภาไตรภาคี เพราะฉะนั้นประเทศไทยและอินโดนีเซีย ต้องทบทวนแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้สามารถรักษาระดับปริมาณการส่งออกของแต่ละประเทศที่เหมาะสม

เพื่อให้ราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสมในอนาคตต่อไป

ที่มา : แนวหน้า (22 พ.ย. 59)