ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการหาจำนวนกรดไขมันระเหย ( VFA )  (อ่าน 1066 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82503
    • ดูรายละเอียด

วิธีการหาจำนวนกรดไขมันระเหย  ( VFA )

จำนวนกรดไขมันระเหยได้ Volatile Fatty Acid  ( VFA ) number ของน้ำยาง  หมายถึง  จำนวนกรัมของโปแสเซี่ยมไฮดรอกไซด์ ที่ทำปฎิกิริยาพอดีกับกรดไขมันที่ระเหยได้  ซึ่งอยู่ในน้ำยางที่มีปริมาณของอของแข็งอยู่ 100 กรัม  ถ้าหากมีการเติมสารบางอย่างลงไปในน้ำยางแล้ว  จำนวนกรดไขมันระเหยอาจจะเป็นค่าที่ไม่ถูกต้อง

สารเคมีที่ใช้

1.  สารละลาย Ammonium  Sulphate  30% (m/m)
2   สารละลาย Sulphuric  acid  50% (m/m)
3   สารละลาย Barium  Hydroxide  0.01 นอร์มอล
4.  สารละลายแสดงการเปลี่ยนสี phenolphthalien 0.5%
5.  สารป้องกันการเปิดฟอง Silicone  antifoam

วิธีการ

1  ชั่งน้ำยางสดมา  50  กรัม    เอาละเอียด  0.1  กรัมขึ้นไป    ใส่ในถ้วยสแตนเลส
2  เติมสารละลาย  Ammonium  Sulphate  30 % (m/m)   จำนวน  50  ml
3  นำไปอุ่มบน  Water  bath    พร้อมคนไปเรื่อย ๆ   จนยางจับตัวเป็นก้อน  ประมาณ 15 นาที
4  แบ่งน้ำใส ๆ ( เซรุ่ม )  ออกมา  25  ml   ใส่ลงใน  Flask  50  ml
5  เติมกรด  Sulphuric  acid  50 %   ลงไป  5  ml   เขย่าให้เข้ากัน
6  แบ่งมา  10  ml  นำไปใส่ในชุดกลั่น  Markham  Still
7  เติม  Silicone  antifoam  ลงไป  1  หยด   เพื่อป้องกันการเกิดฟอง
8  ใช้  Beaker  รองรับของเหลวที่กลั่นได้    ให้ได้ประมาณ  100  ml
9  นำไปผ่านอากาศที่ไม่มีกาซคาร์บอนไฮดรอกไซด์   ประมาณ  3  นาที
10 แล้วนำไปไตเตรดกับ  Barium  Hydroxide  0.01  normal   โดยใช้  Phenolphthalien  เป็นอินดิเคเตอร์
11 สังเกตจุดที่สารเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพู   บันทึกปริมาณ  Barium  Hydroxide  ที่ใช้ไป

การคำนวณ

1.  คำนวณหาจำนวนกรดไขมันระเหยได้ ( VFA No.) ได้ดังนี้

      VFA No.  =  [ (67.32 x N x V) / ( m x tsc ) ] x [ 50 + ( m(100 - DRC)  / 100 p )  ]

      N             =    นอร์มอลิดีของสารละลายแบเรียมไฮดรอกไซด์
      V             =    ปริมาตรเป็นมิลลิลิตร  ของสารละลายแบเรี่ยมไฮดรอกไซด์ที่ทำให้ของเหลวที่กลั่นได้เป็นกลาง
      DRC        =    เปอร์เซ็นต์เนื้อยางโดยน้ำหนักของน้ำยางตัวอย่าง
      m            =    มวลเป็นกรัมของตัวอย่าง
      p             =    ความหนาแน่นเป็น  megagrams ต่อลูกบาศก์เมตรของเซรุ่ม
                            ( p = 1.02  Mg/m3 สำหรับน้ำยางข้นจากการปั่นหรือการทำครีม )
     TSC          =    เปอร์เซ็นต์ของของแข็ง โดยน้ำหนักของน้ำยางตัวอย่าง