ผู้เขียน หัวข้อ: ปรับคาดการณ์ยางพาราใหม่...  (อ่าน 635 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82604
    • ดูรายละเอียด
ปรับคาดการณ์ยางพาราใหม่...
« เมื่อ: เมษายน 06, 2020, 01:42:12 PM »

ปรับคาดการณ์ยางพาราใหม่...

++ การใช้ยางโลกลดลงราวร้อยละ 19.6% ในไตรมาสแรกของปีนี้ (2563)  และคาดการณ์ว่าจะลดลงร้อยละ 1.5 ในไตรมาสที่สองของปีนี้ การใช้ยางอาจจะลดลงมากว่าค่าคาดการณ์ในไตรมาสที่สอง เนื่องจากข้อมูลยังไม่นิ่ง
--- บนสมมติฐาน สถานการณ์โควิดควบคุมได้และเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นในไตรมาสที่ 3...คาดว่าการใช้ยางลดลงอย่างน้อยร้อยละ 5 เทียบกับปีที่แล้ว นั้นคือ การใช้ยางปีนี้อาจจะลดลงจาก 13.72 ล้านตัน เหลือเพียง  13.0 ล้านตัน  แต่ถ้าราคาน้ำมันยืนในระดับ 25-35 ดอลลาร์ ปริมาณการใช้ยางพาราอาจจะลดลงกว่านี้
--- บนสมมติฐานเลวร้ายสุด วิกฤตเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงทั่วโลก (อ้างอิงข้อมูลระดับการถดถอยเศรษฐกิจ คศ 1929และ2008) .....คาดว่า การใช้ยางลดลงกว่าร้อยละ20 นั้นคือ การใช้ยางอาจจะเหลือเพียง 10.9 ล้านตัน....ย้ำกรณีให้นำ้หนักน้อย เนื่องจากทุกประเทศให้ความร่วมมือในการพยุงเศรษฐกิจและยางเป็นวัสดุจำเป็นในชีวิตประจำวัน

++ การผลิตยางโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ในไครมาสแรก และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.6 ในไตรมาสที่สอง
--- คาดว่า่ทั้งปีผลผลิตจะชะลอตัว อันเป็นผลจากราคาตกต่ำอย่่างหนัก ภัยแล้ง และโรคต้นยาง  ส่งผลให้ปริมาณการผลิตยางโลกลดลงราว 0.5 - 0.8 ล้านตัน เหลือเพียงราว 13.0 ล้านตัน แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับปี 2019
+++ ในภาพรวมอัตราหดตัวของการใช้ยางพาราสูงกว่าอัตราหดตัวของปริมาณการผลิตยางพารา ร่วมกับสต็อคเดิมค่อนข้างสูง ทำให้ปริมาณยางสค็อคยางเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ ประกอบกับการลดลงของราคายางสังเคราะห์ที่จะเห็นผลกระทบในอีก 6 เดือนข้างหน้า และความผันผวนจากการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
--- ทำให้ราคายางยังคงมีความผันผวนและตกต่ำ

--- ประเด็นรับมือความเสี่ยงในระยะสั้น (3 เดือนข้างหน้า)
+++ รักษาระดับกิจกรรมตลาดในโซ่อุปทานของยางก้อนถ้วย ที่จะเห็นภาพราคาตกต่ำอย่างหนัก อันเป็นผลจากข้ออ้างการชะลอการผลิตของอุตสาหกรรมยางล้อ+ยานยนต์ ---> พี่น้องอีสานได้รับผลกระทบหนักมาก
+++ ดูความโปร่งใสในการกำหนดราคาน้ำยางสด ที่ควรจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ที่จะบูทสูงขึ้นในระยะ 6 เดือนข้างหน้า แต่ผู้เล่นในตลาดกำลังเล่นเกมส์ราคาเพื่อลดความเสี่ยง
+++ เร่งการเติบโตอุตสาหกรรมน้ำยางข้นและอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ถ้งยางอนามัยและถุงมือยาง (จากยางพารา)
+++ รักษาสภาพคล่องทางการเงินของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
*** หลังยุคโควิด-19 คือ โอกาสทองของเกษตรกรสวนยาง ***

ขอบคุณข้อมูลจาก ANRPC, world economic forum, The Independent (ภาพ)