ผู้เขียน หัวข้อ: ราคายางปีนี้ยังไม่รู้ว่าจะลูกผีหรือลูกคน  (อ่าน 1145 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82609
    • ดูรายละเอียด
ราคายางปีนี้ยังไม่รู้ว่าจะลูกผีหรือลูกคน

อังคารที่ 19 สิงหาคม 2557 06:00:00 น.


เพราะหลายเหตุ หลายปัจจัย ที่ส่งสัญญาณออกมาจากตลาดโลก ยังไม่มีทีท่าว่าจะมีเหตุปัจจัยอะไรที่สามารถช่วยทำให้ราคายางพาราหยุดความ ผันผวนหรือเพิ่มขึ้นได้เลย


ยิ่งเมื่อเห็น สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ออก มาประกาศคาดการณ์ราคายางเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยชี้ว่าราคายางยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว และราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงจนแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาท รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในกลุ่มสหภาพยุโรปอาจประสบภาวะชะงัก งันเนื่องจากมีรายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสมาชิกในกลุ่มยูโรโซนไม่มีการขยายตัวในไตรมาส 2 และเศรษฐกิจจีนที่ส่งสัญญาณชะลอตัว รวมทั้งญี่ปุ่นยังได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีการบริโภคเมื่อเดือนเมษายน


สัญญาณที่ออกมาจึงบ่งบอกได้อย่างเดียวว่า อนาคตราคายางยังแทบไม่มีโอกาสได้โงหัวขึ้นมาภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ได้อย่างแน่นอน
และก็คงต้องรอวัดฝีมือของรัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเข้ามาบริหารประเทศในเร็วๆ นี้ว่า จะมีแนวทางจัดการปัญหาเหล่านี้ได้อยู่หมัดได้สักแค่ไหน


อย่างไรก็ตาม ช่วงที่เราท่านต่างกำลังรอดูโฉมหน้ารัฐบาลชุดใหม่อยู่ในขณะนี้ ยังมีอีกประเด็นที่ต้องฝากไปถึง ?สภานิติบัญญัติแห่งชาติ? หรือ สนช. ที่กำลังมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 อยู่ขณะนี้ ถึงการอุดหนุนงบประมาณด้านการวิจัยพัฒนาของประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นที่ทุกคนทุกฝ่ายต่างระบุว่า เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะนอกจากจะสามารถทำให้ประเทศไทยพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งเป็นของตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาต่างประเทศแล้ว ยังเป็นช่องทางที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบสินค้าต่างๆ ที่เราผลิตได้เองในประเทศ


ยกตัวอย่าง กรณียางพารา เป็นที่ทราบและยอมรับกันดีว่า ประเทศไทยส่งออกยางพาราได้เป็นอันดับต้นๆ ของโลกก็จริง แต่การส่งออกนั้นส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในรูปของวัตถุดิบ จึงไม่แปลกที่ต้องพบกับความผันผวนไปตามภาวะเศรษฐกิจและความต้องการของตลาด โลกเป็นหลัก ซึ่งสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายไม่ว่าภาครัฐอย่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย รวมถึงภาคเอกชน ต่างชี้ว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดทางหนึ่ง คือ การสนับสนุนการใช้ในประเทศ และการนำไปพัฒนาหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งจะทำให้เกษตรกรชาวสวนยางในบ้านเรา ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออกวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม การจะได้มาซึ่งองค์ความรู้ในการพัฒนาวัตถุดิบจากน้ำยางพารา เพื่อนำไปใช้ ประโยชน์หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ จำเป็นที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ขึ้นมา แล้วนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา


แต่กลับเป็นที่น่าเสียดายว่า ทั้งที่เรารู้ทั้งรู้กันอย่างนี้แล้ว ที่ผ่านมากลับไม่เคยมีรัฐบาลชุดไหนเลยที่ให้ความสำคัญกับงานด้านการวิจัยและ พัฒนามาก่อน
ตัวอย่างง่ายๆ การพิจารณางบประมาณให้กับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความสามารถบริหารงบประมาณวิจัยครอบคลุมในทุกประเด็นทั้ง สังคม เศรษฐกิจ การเกษตร วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่างๆ ได้อย่างมีศักยภาพ แต่ปีที่แล้วกลับได้รับงบประมาณสนับสนุนแค่ 800 ล้านบาท เช่นนี้แล้ว เราจะเอาอะไรไปสู้ประเทศอื่นเขาได้ล่ะครับ
ฉะนั้นจึงอยากขอฝากเอาไว้ อย่าให้งานวิจัยเป็นงานที่ถูกลืมไปอีกเลย




หนังสือพิมพ์แนวหน้า