ผู้เขียน หัวข้อ: คอลัมน์: เกษตรกรปริทัศน์: ยางโตที่อีสาน?  (อ่าน 1223 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82609
    • ดูรายละเอียด

คอลัมน์: เกษตรกรปริทัศน์: ยางโตที่อีสาน?


 
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- จันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2557 00:00:46 น.
สอาด จันทร์ดี
พูดถึงยางพาราทีไร ก็ต้องพูดถึงภาคใต้ ภาคอื่นไม่ดังเท่าภาคใต้ แถมมีอุปทานว่ายางพาราจะปลูกได้เฉพาะที่ภาคใต้เท่านั้น ภาคอื่นปลูกไม่งาม แล้วกล่าวต่อไปว่า ผลผลิตไม่ดีอะไรทำนองนั้น แต่บนความเป็นจริงในวันนี้ ยางภาคใต้ไปเติบใหญ่ที่อีสาน และกำลังทำให้ดินแดนอีสานกลายเป็นอาณาจักรยางพาราแข่งกับภาคใต้ เช่น จังหวัดบึงกาฬ เป็นต้น ซึ่งบัดนี้ได้กลายเป็นจังหวัด "ยางพารา" เรียบร้อยไปแล้ว และกำลังมีบทบาทเกี่ยวกับยางพาราอย่างน่าตื่นเต้น


นายก อบจ. ของบึงกาฬ ชื่อนายนิพนธ์ คนขยัน ท่านครับ ผมกำลังเขียนเรื่องยางพาราให้อ่าน เรื่องมีอยู่ว่า ชาวโลกเขาใช้น้ำยางพาราเป็นวัตถุดิบในกระบวนการอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น ทำเป็นถ้วยโถโอชาม ทำเครื่องประดับ ทำของใช้ในครัวเรือน ทำเสื้อผ้า ทำเครื่องมือแพทย์ และอะไรต่อมิอะไรอีกเยอะแยะ อันล้วนแต่มีประโยชน์แก่มนุษยชาติอย่างใหญ่หลวง


ยางพาราจึงมีความสำคัญแก่ชาวโลก
ประเทศที่ผลิตยางพาราเป็นกอบเป็นกำมีอยู่หลาย ประเทศ แต่ที่ขึ้นหน้าขึ้นตา คือประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของเรา สำหรับประเทศไทยของเรานั้นกำลังก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นคู่แข่งของประเทศที่มีสวนยางทั้งใกล้และไกล และกำลังเจริญรุ่งเรือง "รุดหน้า" อย่างรวดเร็ว


ถ้ามีการพัฒนาอย่างจริงจัง
ประเทศไทยจะมีสวนยางในทุกภาค สำหรับภาคอีสานในวันนี้ ข่าวชาวนาเปลี่ยนอาชีพมาทำสวนยางมีจำนวน "เพิ่มขึ้น" เกือบครบ 20 จังหวัด อันหมายถึงมิใช่แต่จังหวัดบึงกาฬเท่านั้น จังหวัดอื่นกำลังตื่นตัวตาม เช่น จังหวัดอุบลราชธานี, อุดรธานี,


ขอนแก่น, นครราชสีมา, ชัยภูมิ ก็มีการเอาที่นาเปลี่ยนมาปลูกยางพารา
ข่าวภาคอีสานปลูกยางได้น้ำดี ดังกระหึ่มไปในหมู่ชาวบ้าน ทำให้สังคมชาวบ้าน "แตกตื่น" กระจายกว้างออกไป ในขณะเดียวกันก็ได้มี "นักเก็งกำไร" พวกกับนักแสวงหาผลกำไรแห่ไปกว้านซื้อที่ดินจ้าละหวั่น ซึ่งตอนแรกๆ ก็ซื้อได้ในราคาถูก แต่ตอนนี้ที่ดินที่อีสานมีราคาแพง พุ่งพรวดไปทุกแห่งหน


ตัวผมได้ท่องเที่ยวไปตามจังหวัดต่างๆ ได้พบทั้งชาวบ้าน และพ่อค้ายางพาราในตลาด ผมเข้าไปในสวนยางจังหวัดบึงกาฬ ได้เห็น "ต้นยาง" กำลังงาม กับได้เห็นชาวบ้านทำการกรีดยาง


ชีวิตชาวสวนยางเริ่มมีชีวิตชีวา เรื่องของการมีชีวิตชีวานี้เป็นเรื่องจริง และไม่เกี่ยวกับราคายางจะขึ้นหรือจะตก เหตุที่ไม่เกี่ยวก็เพราะยางพาราไม่เน่า เก็บเอาไว้นานแรมปีได้ ไม่ต้องมี "โกดัง" เป็นจำเพาะ อันแตกต่างจากการเก็บข้าวในยุ้งฉาง ซึ่งมีมาตรฐานแตกต่างกัน


ใช่...ราคายางตกต่ำในวันนี้ แต่ไม่มีปัญหา ชาวสวนยางที่อีสานเขามีสมาธิ ไม่ร้อนรน และไม่เกรี้ยวกราด ไม่เอาเรื่องของยางมาเป็นปัญหา ครอบครัวชาวสวนยาง (อีสาน) ที่ผมไปสัมผัสมา พบว่าเป็นครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดี สมาชิกในครอบครัวมีความอบอุ่น มีอารมณ์แจ่มใส ใบหน้าสดชื่น สอบถามความเห็นหลายคน ตอบคำถามตรงกันว่าชาวสวนยางมีอนาคตที่ดีกว่าการเป็นชาวนา


ชีวิตชาวสวนยางไม่ตกต่ำ แต่ไม่ง่ายเลยที่จะได้เป็นชาวสวนยาง ปัญหา ได้แก่ "ไม่มีที่ดิน" เอามาทำสวนยาง คอลัมน์นี้มีความปรารถนาอย่างยิ่งอยากให้มีการ "จัดหา" ที่ดินให้เพียงพอกับประชากรที่มีอาชีพเป็นชาวสวนยาง ซึ่งเป็นหน้าที่ของราชการที่จะได้ "วางแผน" เอาที่ดินมาให้ชาวสวนยาง


ขอมอบเรื่องนี้ให้ คสช. รับทราบเอาไว้ครับ