ผู้เขียน หัวข้อ: ลดการสูญเสียจากเศษยางสะสมด้วยผลิตภัณฑ์ทางเคมี  (อ่าน 939 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82574
    • ดูรายละเอียด
ลดการสูญเสียจากเศษยางสะสมด้วยผลิตภัณฑ์ทางเคมี
Published on Tuesday, 22 September 2015




 ในขณะที่ชาวสวนยางกำลังเผชิญกับปัญหาเรื่องราคายางตกต่ำ ทางด้านผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมเองก็ประสบปัญหา เนื่องด้วยธุรกิจยางเป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วและมีตลาดขนาดใหญ่ ดังนั้น ปัญหาการสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิตจึงเป็นปัญหาที่ภาคอุตสาหกรรมไม่ควร ละเลยเช่นกัน
นายอภิชาติ เตชะภัทรกุล ตัวแทนสมาคมน้ำยางข้นไทยและผู้ จัดการฝ่ายตลาดต่างประเทศ บริษัท ฉลองอุตสาหกรรมน้ำยางข้น จำกัด เปิดเผยว่า ทั่วประเทศมีโรงงานผลิตน้ำยางข้นมากกว่า 70 แห่ง ซึ่งจะมีน้ำยางสดเข้าสู่กระบวนการผลิตไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านลิตร (ข้อมูล ณ ปี 2556) ทำให้มียอดการผลิตและส่งออกเกือบ 680,000 ตัน

โดยในกระบวนการผลิตจะมีการสูญเสียยางคิดเป็นประมาณร้อย 0.1 ถึง 0.5 ของผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นเสมอ โดยที่การสูญเสียส่วนหนึ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ไม่ว่าจะมีการดูแลทำความสะอาดอย่างไร ก็คือ การเกิดเศษยางสะสมที่มาจากการยึดติดของยางตามบ่อพัก ถังเก็บกักขนาดต่างๆ  รางและท่อลำเลียง

สำหรับปัญหาดังกล่าวโดยทั่วไปจะต้องจ้างแรงงานทำความสะอาดเป็นเวลานาน อีกทั้งยังต้องใช้น้ำในการชำระล้างนับพันลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือแม้แต่ใช้สารเคมีกัดทำลายยางที่ติดหลงเหลืออยู่แต่ก็ยังออกไม่หมด จนกระทั่งมีผลให้ต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการปั๊มเศษยางตกค้างออกจากบ่อหรือ อุดตันในท่อ

รศ.ดร.นันทกาญจน์ มุรศิต กรรมการ บริษัท วอนนาเทค จำกัด เป็นผู้หนึ่งที่ผลักดันนำผลงานวิจัยจากสถานวิจัยความเป็นเลิศนาโนเทคโนโลยี เพื่อการพลังงานแห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีที่มีชื่อทางการค้าว่า "แล็กซ์"  (Lax) ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำยาสีขาวขุ่นและมีคุณสมบัติคือช่วยป้องกันการยึดติดของ ยางบนผิววัสดุต่างๆ และกำลังนำไปใช้ประโยชน์ใน บจก.ฉลองอุตสาหกรรมน้ำยางข้น โดยบริษัทฯ เป็นเอกชนรายเดียวที่ดูแลการผลิตแล็กซ์ รวมทั้งการสร้างชั้นเคลือบป้องกันการติดของยางในโรงงานอุตสาหกรรมยางข้น

โดย รศ.ดร.นันทกาญจน์ อธิบายว่า "การเริ่มต้นดูแลการรวบรวมขนถ่ายน้ำยางสดซึ่งเป็นต้นน้ำของการเกษตรและ อุตสาหกรรมด้านยางพาราสามารถทำได้ด้วยการเคลือบแล็กซ์ที่ผิวภาชนะรองรับ เพื่อทำให้ยางไม่ติดและไหลถ่ายเทได้ง่าย การสร้างชั้นเคลือบดังกล่าวในบ่อพักสามารถรวบรวมน้ำยางได้นับพันตันต่อเดือน ซึ่งจะช่วยลดเศษยางตลอดจนยืดเวลา ลดความสิ้นเปลือง และลดความยุ่งยากในการทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นบ่อปูนหรือบ่อเซรามิก แล็กซ์มีศักยภาพสำหรับการพ่นเคลือบภายในถังและท่อที่มีการทาอีพอกซีไว้แล้ว เช่นกัน โดยที่แล็กซ์จะยึดติดดีกับอีพอกซีและในเวลาเดียวกันยางจะลื่นไม่ยึดติดแล็ก ซ์ เศษยางที่ต้องดึงออกจากถังขนาดใหญ่นานเป็นวันๆ ก็จะลดน้อยลง เพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง แทนที่จะกลายเป็นเศษยางมูลค่าต่ำในโรงงาน"

แหล่งข้อมูล thewindustry.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2015, 09:07:05 AM โดย Rakayang.Com »