ผู้เขียน หัวข้อ: กนย. (บอร์ด ยาง)ไฟเขียวอนุมัติกู้ธนาคาร 3 หมื่นล. เพิ่มเครื่องจักร-เงินทุนซื้อยาง  (อ่าน 902 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82609
    • ดูรายละเอียด
กนย. (บอร์ด ยาง)ไฟเขียวอนุมัติกู้ธนาคาร 3 หมื่นล. เพิ่มเครื่องจักร-เงินทุนซื้อยาง


บอร์ด ยางไฟเขียวเงินกู้ 3 หมื่นล้าน แก้ยางราคาตก ธนาคารออมสินปล่อย 1.5 หมื่นล้าน ให้อุตฯแปรรูปยางปรับปรุงเครื่องจักรใหม่ ธ.ก.ส.อนุมัติสินเชื่อ 1.5 หมื่นล้าน ช่วยสหกรณ์-วิสาหกิจชุมชนแปรรูปยาง พร้อมหาทางระบายสต๊อกยาง 2.1 แสนตัน
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 57 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2557 โดยมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน ที่ประชุมหารือและเห็นชอบในหลักการมาตรการแก้ไขยางพาราทั้งระบบ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำเสนอ

โดยมาตรการเร่งด่วน ได้แก่ 1.การจัดการระบายสต๊อกยางรัฐ 2.1 แสนตัน 2.สินเชื่อเสริมสภาพคล่องแก่เกษตรกรยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณภาพ ด้านมาตรการระยะยาว ได้แก่ 1.การพัฒนาระบบตลาดยางพารา 2.หาตลาดส่งออกใหม่ 3.จัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา 4.ควบคุมปริมาณผลผลิตและพัฒนาประสิทธิภาพการปลูกยางพารา

นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สินเชื่อดังกล่าวที่อนุมัติรวม 3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 1.5 หมื่นล้านบาท จากธนาคารออมสิน ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมยางแปรรูป และอีก 1.5 หมื่นล้านบาท จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดอกเบี้ย 1% รัฐอุดหนุนดอกเบี้ย 3% สำหรับสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน โดย 5,000 ล้านบาทนั้น จะให้สำหรับปรับปรุงธุรกิจการแปรรูปยางชนิดต่าง ๆ เช่น ยางอัดแท่ง และอีก 1 หมื่นล้านบาท สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียน

นายชวลิตกล่าวว่า สำหรับวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมเอกชน ขณะนี้คัดกรองแล้วจากกว่า 20 บริษัท เหลือที่ผ่านการคัดเบื้องต้นเหลือ 10 กว่าบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมถุงมือยาง

"หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องต้องไปทำรายละเอียด เช่น หลักเกณฑ์การคัดเลือก ดอกเบี้ย แผนการใช้งบประมาณและการชดใช้คืน ซึ่งหลังจากนี้จะต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) หลังจากอนุมัติแล้ว ก็จะต้องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)"

สำหรับ มาตรการระบายยางในสต๊อก 2.1 แสนตัน นายชวลิตชี้แจงว่า ขณะนี้แนวทางการแก้ปัญหายังไม่ตกผลึก ยังต้องมีการประชุมร่วมทั้งฝ่ายผู้ประกอบการและเกษตรกรยางพารา แต่ในเบื้องต้นมีกลยุทธ์ทั้งการนำยางมาใช้ในประเทศ และการระบายออกด้วยการหาตลาดใหม่ แต่หลักสำคัญคือต้องไม่ให้กระทบกับราคายางในประเทศ ซึ่งการหาตลาดใหม่นั้น กระทรวงพาณิชย์จะรับหน้าที่ดูแล ได้แจ้งมาแล้วว่ามีประเทศที่มีศักยภาพรับซื้อยางพารา เช่น เกาหลีใต้ อินเดีย รัสเซีย ฯลฯ

นายชวลิตกล่าวว่า ส่วนมาตรการระยาว ด้านการตลาดจะพัฒนาให้มีตลาดซื้อขายจริงเพื่อแทนที่ตลาดกระดาษ ผลักดันให้มี Spot Market มีการลดพื้นที่ปลูกยางที่กำหนดไว้แล้วว่าจะโค่นยางปีละ 4 แสนไร่ เป็นเวลา 7 ปี รวมถึงตั้งสถาบันวิจัยยางเพื่อพัฒนาการผลิตยางแปรรูปตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลาย น้ำ ซึ่งส่วนนี้ทางคณะกรรมการมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯกับกระทรวงอุตสาหกรรมไปพูด คุยตกลงบูรณาการเรื่องการดำเนินการทำงานร่วมกัน


ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 14 สิงหาคม 2557)