ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 30, 2020, 02:21:41 PM »


กนย.ตั้งคณะทำงานฯ ร่วมศึกษาแนวทางจัดการสวนยางยั่งยืน-ขยายตลาดเพิ่มมูลค่าและรายได้

          นายขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2562 มีมติให้ตั้งคณะทำงานศึกษาการทำสวนยางอย่างยั่งยืน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยผู้แทน 3 ฝ่าย คือ หน่วยงานภาครัฐ เกษตรกร และผู้ประกอบการ เพื่อหาข้อสรุปแนวทางที่จะสนับสนุนและดำเนินการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจยืนต้นอย่างยั่งยืนให้เป็นรูปธรรม
          คณะทำงานชุดดังกล่าวได้มีการหารือร่วมกัน และตั้งคณะทำงานย่อยเพื่อศึกษาในด้านต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 คณะ คือ คณะทำงานย่อยศึกษาแนวทางการรับรองมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน คณะทำงานย่อยเพื่อศึกษาและขับเคลื่อนการทำสวนยางอย่างยั่งยืน และคณะทำงานย่อยศึกษาการใช้สวนยางยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหาสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ โดยจะจัดประชุมและส่งข้อมูลเพื่อเสนอ กนย. พิจารณาในคราวประชุมครั้งถัดไป
          ปัจจุบัน ตลาดยางพาราโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป การปลูกยางพาราจึงจำเป็นต้องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และเป็นไปตามมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยังยืน เช่น การจัดการสวนยางให้เป็นไปตามมาตรฐาน FSCTM PEFCTM และ มอก. 14061 ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่ การปลูก ผลผลิต รวมถึงผลิตภัณฑ์จากยางพาราและไม้ยางพารา ประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามระบบการรับรองมาตรฐานดังกล่าว หากไม่ดำเนินการอาจมีผลระทบต่อตลาดยางพาราและไม้ยางพาราไทยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
           การรับรองมาตรฐานการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามแบบ FSCTM PEFCTM และ มอก. 14061 จะสามารถพัฒนาคุณภาพ เพิ่มมูลค่าน้ำยางและไม้ยาง ขยายตลาดการจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศ รวมไปถึงผลผลิตอื่น ๆ ในสวนยาง เช่น พืชแซมยาง พืชร่วมยาง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยางอีกทางหนึ่ง ผู้ส่งออกสามารถขยายตลาดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากไม้ยางและผลผลิตยางพาราที่ได้การรับรองมาตรฐานไปยังตลาดต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป เป็นต้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป  นายขจรจักษณ์ กล่าว