ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 936 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82810
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพุธที่  19  สิงหาคม  พ.ศ. 2558

ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ประเทศไทยมีฝนน้อยลง   เว้นแต่ภาคเหนือจะมีฝนตกมากกว่าภาคอื่น ๆ ส่วนภาคใต้มีฝนตกเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางกรีดยางได้เพิ่มขึ้น
 
2. การใช้ยาง
 
- สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ธุรกิจนำเข้ารถยนต์ของจีนมีแนวโน้มยังคงได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์โกดัง ระเบิดบริเวณท่าเรือเทียนจินเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ยานพาหนะจำนวนหลายพันคันในเขตโลจิสติกส์ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ ระเบิดครั้งนี้   ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยตรงหลายพันล้านหยวน
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงินเข้าระบบการเงินสูงสุดในรอบเกือบ   19 เดือนเมื่อวานนี้ โดยแบงค์ชาติจีนได้นำเสนอสัญญาซื้อคืนพันธบัตรประเภท 7 วัน   วงเงิน 1.20 แสนล้านหยวน หรือ 1.87 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ
- มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดียลงสู่ร้อยละ 7.0 ในปีงบประมาณนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.5 เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งกว่าปกติ
- สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางจีนจะมีการปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคาร พาณิชย์ (RRR) ภายในช่วงเวลาอันใกล้นี้ เนื่องจากมีสัญญาณว่าสภาพคล่องในประเทศจะตึงตัวมากขึ้น
- นักวิเคราะห์ชี้ว่าการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบจำนวนมากในเวลาเพียง   1 วันของธนาคารกลางจีนถือเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าจีนกังวลเกี่ยวกับกระแส เงินทุนไหลออกจากประเทศ   ภายหลังจากที่เงินหยวนอ่อนค่าลง
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 35.57 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 124.32 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.16 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารกลางจีนได้แสดงความเชื่อมั่นว่า เงินหยวนจะไม่อ่อนลงมากและยืนยันว่าการที่จีนตัดสินใจปรับระบบอัตราค่ากลาง เงินหยวนถือเป็น   ?มาตรการพิเศษ? ที่จะนำมาใช้สนับสนุนเงินหยวนให้เคลื่อนไหวตามกลไกตลาดมากขึ้น
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายนปิดตลาดที่ 42.62 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบประจำสัปดาห์สหรัฐฯ จะปรับตัวลดลงอีก นอกจากนี้ตลาดยังขานรับรายงานตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเดือนกรกฎาคมของ สหรัฐฯ   ปรับตัวเพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์   (Brent)   ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดที่ 48.81ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น   0.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 174.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง   4.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 185.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.9 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 138.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 4.3   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนกรกฎาคมตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน สู่ระดับ   1.21 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 หรือในรอบเกือบ 8   ปี
- กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนมิถุนายนจีนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่ญี่ปุ่นลดการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ ลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2556
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางยังคงปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ ขณะที่ผู้ซื้อมีความกังวลและชะลอการซื้อ เพราะราคาปรับลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังไม่มีใครบอกได้ว่าจุดต่ำสุดอยู่ตรงไหน แม้ว่าก่อนหน้านี้ต่างมองว่าลงมาสู่ระดับต่ำสุดแล้ว ประกอบกับสภาพอากาศดีขึ้นหากผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ราคายางอาจ ปรับตัวลงชัดเจนขึ้น
 
   ?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคา น้ำมันอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปี ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีน หลังจากตลาดหุ้นลดลงอย่างหนักเมื่อวานนี้ และจากรายงานเศรษฐกิจญี่ปุ่นว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 หดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส รวมทั้งสภาพอากาศในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทยเอื้อต่อการกรีดยาง อุปทานยางจึงเริ่มออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น?
 


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา