ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 17, 2018, 08:23:27 AM »

รัฐบาลแนะชาวสวนยางปรับตัวรับมาตรฐานสากลเพิ่มมูลค่าไม่รุกป่า


เผยแพร่: 16 ม.ค. 2561 11:19:00   ปรับปรุง: 16 ม.ค. 2561 11:24:00   โดย: MGR Online
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด(แฟ้มภาพ)

รัฐบาลพร้อมหนุน ?ชาวสวนยาง-ผู้ประกอบการ? ปฏิบัติตามมาตรฐานสภาพิทักษ์ป่าที่กำหนดให้พื้นที่ปลูกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่รุกป่า แนะชาวสวนเร่งปรับตัว และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางพาราไทย ขยายตลาดส่งออกส่งสินค้ามีคุณภาพ ระบุอีก 3 ปีอียูงดรับซื้อผลิตภัณฑ์จากยางที่ปลูกในพื้นที่ผิดกฎหมาย

วันนี้ (16 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้รับรายงานผลการหารือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ 4 สมาคมยางพารา คือ สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางแห่งประเทศไทย และสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย ว่าทั้ง 4 สมาคมต้องการให้รัฐสนับสนุนให้สวนยางพาราของเกษตรกรได้รับมาตรฐานของสภาพิทักษ์ป่า (FSC) โดยมาตรฐาน FSC เป็นมาตรฐานที่กำหนดให้พื้นที่สวนยางพาราต้องปลูกในพื้นที่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ห้ามบุกรุกป่า เพื่อความยั่งยืนของป่า

พล.ท.สรรเสริญกล่าวว่า นายกฯ อยากให้เกษตรกรชาวสวนยางรับทราบข้อมูลนี้อย่างทั่วถึง และพยายามปรับตัวตามสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยย้ำว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลส่งเสริมมาตลอด เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย จัดโซนนิ่งการเพาะปลูก ช่วยควบคุมปริมาณยางพาราให้เหมาะสม ทำให้ราคายางในตลาดเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ หากเกษตรกรหรือผู้ประกอบกิจการยางพาราต้องการส่งออกยางไปขายยังตลาดสหภาพยุโรป (อียู) หรือสหรัฐอเมริกา ก็ต้องปฏิบัติตามแนวทางนี้

พล.ท.สรรเสริญระบุว่า นายกรัฐมนตรียังกล่าวด้วยว่าปัจจุบันประเทศไทยมีสวนยางพารามากกว่า 10 ล้านไร่ แต่ได้มาตรฐาน FSC ประมาณ 50,000 ไร่ และปัจจุบันอียูก็ได้ออกประกาศว่า อีก 3 ปีข้างหน้าจะไม่รับซื้อผลิตภัณฑ์จากยางพารา เช่น เฟอร์นิเจอร์ น้ำยาง ยางแผ่น ไม้ยาง ฯลฯ ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ดังนั้น เกษตรกรและผู้ประกอบการส่วนหนึ่งจึงเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และขอให้ภาครัฐสนับสนุนเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ยางไทยมีมาตรฐานเดียวกับคู่ค้าในอียูและสหรัฐฯ ทั้งนี้ รัฐบาลยินดีรับฟังและสนับสนุนชาวสวนยางและผู้ประกอบการอย่างเต็มที่ และขอเชิญชวนให้ชาวสวนยางทั่วไปหันมาใช้แนวทางนี้ โดยหากสวนยางพาราของไทยผ่านมาตรฐานดังกล่าว ก็จะทำให้มีโอกาสขยายตลาดไปยังประเทศอื่นที่มีศักยภาพ เพิ่มเติมจากตลาดหลักอย่างจีน และจะช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ยางที่มีมาตรฐานระดับสากลให้สูงขึ้นด้วย