ผู้เขียน หัวข้อ: อนาคตราคายางพารายังไปได้ กยท.-เอกชนหนุนปลูกพันธุ์ดี  (อ่าน 733 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82575
    • ดูรายละเอียด
อนาคตราคายางพารายังไปได้ กยท.-เอกชนหนุนปลูกพันธุ์ดี


  ผู้ส่งออกชี้วิกฤตราคายางตกต่ำถึงที่สุดแล้ว มองเป็นโอกาสที่เกษตรกรไทยต้องปลูกยางต่อไป หลังจีนหันไปปลูกพืชอื่นแทนและลดกรีดยางมากขึ้น ขณะที่ การบริโภคเพิ่ม 30-40% ทุก 10 ปี ด้านผู้บริหาร กยท. พร้อมส่งเสริมตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
 ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ได้จัดงานเสวนา "วิกฤตหรือโอกาส : ราคายางพาราไทย" ขึ้น โดยนายวรเทพ วงศาสุทธิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์ คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคายางขณะนี้ มองใน แง่ผู้ซื้อ อยากได้ราคาถูก เป็นโอกาสของคนซื้อ ที่สามารถไปแข่งขันได้ แต่ ผู้ขายคือเกษตรกรที่รับวิกฤตจากราคาลดลง จาก กก.ละ 100 กว่าบาทเหลือ 50 บาท เป็นวิกฤตของราคา แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นวิกฤตของเกษตรกรหรือยัง เพราะเกษตรกรที่ปลูกยางพันธุ์เก่า ผลผลิต 200 กก./ไร่/ปี กับพันธุ์ยางใหม่ผลผลิต 450 กก./ไร่/ปี
 ผู้ที่ปลูกได้ 200 กก.วิกฤตแน่ ขาดทุนแน่นอน ฉะนั้นวิกฤตหรือยังก็แล้วแต่ละคน แต่เป็นวิกฤตราคา
 เมื่อเกิดวิกฤตราคา เกษตรกรควรมีอาชีพเสริม หรือเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น ยกตัวอย่าง จีน เขตสิบสองปันนา ปลูกยางราคาตก ขณะที่ค่าแรงสูงขึ้น จึงปรับเปลี่ยนอาชีพใหม่ไปปลูกกล้วย ที่มีรายได้ต่อไร่ต่อปีมากกว่ายาง เกาะไหหลำก็เหมือนกัน ปรับตัวไปทำอาชีพอื่น กรีดยางกันน้อยลง อย่างไรก็ตาม ราคายางช่วงนี้ต่ำสุดแล้ว
 หากพิจารณาความต้องการใช้ยางพารา ทุก 10 ปี ความต้องการจะเพิ่ม 30-40% ปี 2000 ทั่วโลกใช้ยาง 7 ล้านตัน จากนั้นจีนนำเข้ายาง 1-2 ล้านตัน/ปี ในปี 2545 จีนนำเข้า 3 ล้านตัน และปัจจุบัน 4 ล้านตัน/ปี ปัจจุบันใช้ยางทั่วโลก 12 ล้านตัน/ปี อนาคตพื้นที่ปลูกยางจะอยู่ในเขตร้อนชื้น นอกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วที่อื่นปลูกยาก จึงมองว่ายังเป็นโอกาส ต้องปลูกยางต่อไป
 "เราไม่เหมือนจีน อินเดีย ที่ผลิตและขายในประเทศ เพราะมีประชากรมาก เราต้องทำคู่กันไป ทั้งการส่งออกวัตถุดิบและการตั้งเป้าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางจาก 14% เป็น 25% แม้จะใช้เวลาหลายปี ปัจจุบันไทยเป็นผู้ผลิตถุงยางอนามัยอันดับหนึ่งของโลก ใช้เทคโนโลยีสูงกว่าการผลิตถุงมือยาง และไทยเป็นผู้ผลิตเส้นด้าย ยางยืดอันดับหนึ่งของโลกอีกเช่นกัน"
 ทางด้านนายพิเชษฐ์ พร้อมมูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง 1 ใน 3 สถาบันการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ไทยจะใช้วิกฤตเป็นโอกาสได้อย่างไร ในเมื่อ รัฐไปบังคับเรื่องการปลูกยางไม่ได้ เรื่องนี้ ก็เป็นจุดอ่อนเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม จากการตั้งการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ขึ้นมา ในส่วนต้นน้ำก็จะส่งเสริมการปลูกยางพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิต 500 กก./ไร่/ปี แทนพันธุ์เดิมที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 250-260 กก./ไร่/ปี ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนไปได้ครึ่งหนึ่ง พื้นที่ปลูกไม่เหมาะสมเป็น ที่นา ก็ต้องใช้ไม้แข็งให้ไปปลูกพืชอื่นแทน เกษตรกรที่กรีดยางต้นเล็ก เส้นรอบวงไม่ถึง 45-50 ซม. ต่อไปเงินสงเคราะห์ที่ให้ไร่ละ 1.6 หมื่นบาท จะเหลือไร่ละ 1 หมื่นบาท ต่อไปต้องปลูกพันธุ์ยางชั้น 1 ครึ่งหนึ่ง ของพื้นที่ พันธุ์ชั้น 2-3 รวมกันไม่เกิน 50% ทั้งนี้ คิดเฉลี่ยจากเกษตรกรมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 15 ไร่
 ส่วนกลางน้ำ กยท.จะส่งเสริมการผลิตยางแท่ง ยางอัดก้อน และน้ำยางข้นเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ปลายน้ำ กยท.จะส่งเสริม ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ใน 3 เรื่องคือ การวิจัย การบริการ และมาตรฐาน โดยผู้ประกอบการสามารถมาใช้เครื่องมือสถาบันวิจัยยางวิจัยผลิตภัณฑ์ ยาง--จบ--
    
 ประชาชาติธุรกิจ (Th)