ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 700 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82452
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  7  กันยายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ร่องมรสุมและมรสุมตะวันออกเฉียงใต้อ่อนกำลังลง   ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนภาคอื่น ๆ   มีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่
 
2. การใช้ยาง
 
- สมาคมผู้นำเข้ารถยนต์ญี่ปุ่นรายงานว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าใหม่รวมทั้งรถยนต์แบนด์ญี่ปุ่นที่ผลิตในต่างประเทศ ปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.8 ในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 22,339 คัน
 
3. สต๊อคยาง
 
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 4 กันยายน   2558 เพิ่มขึ้น 2,430 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.27 อยู่ที่ 193,666 ตัน   จากระดับ 191,236 ตัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2558
 
4. เศรษฐกิจโลก
 
- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศทรง ตัวในเดือนสิงหาคม   ที่ระดับ 93.0 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนกรกฎาคม
- คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน   เปิดเผยว่า เดือนสิงหาคมเศรษฐกิจจีนปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีการใช้ไฟฟ้า กรมขนส่งสินค้าทางรถไฟ และตลาดบ้านขยายตัว
- ธนาคารกลางยุโรป   (ECB) ประกาศปรับลดคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจในยูโรโซนมาอยู่ที่เติบโตร้อยละ 1.4 ในปีนี้ จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.5 หลังจากขยายตัวร้อยละ 0.9 ในปีที่แล้ว ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 1.7 ในปีหน้า ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 1.9
- สำนักงานสถิติเยอรมันเผยยอดสั่งซื้อภาคการผลิตเดือนกรกฎาคมปรับตัวลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เนื่องจากความต้องการในต่างประเทศที่ซบเซา
- ศูนย์วิจัยสังคมวิทยาสเปน (CTS) เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสเปนเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.3 จุด แตะที่   105.9 จุด สะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อสภาวะเศรษฐกิจสเปน
 
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 35.95 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.11   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 119.35 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.44 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
6. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคมปิดตลาดที่ 46.05 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.70 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขจ้างงานเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น
 ต่ำกว่าคาดการณ์ ขณะที่อัตราว่างงานลดลง

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์   (Brent)   ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดที่ 49.61ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
7. การเก็งกำไร
 
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 156.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 164.7 เยนต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 0.6 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM   เปิดตลาดที่ 126.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.9   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
8. ข่าว
 
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขามินนิอาโพลิส ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดภายในปีนี้ เมื่อพิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายของเฟดที่ร้อยละ 2.0   การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในปีนี้จึงเป็นเรื่องที่
 ไม่เหมาะสม

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 173,000 ตำแหน่ง จากระดับ   245,000 ตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม ขณะที่อัตราว่างงานลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 จากร้อยละ 5.3 ในเดือนกรกฎาคม
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาริชมอนด์   กล่าวว่า มีแนวโน้มอย่างมากที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้
 
9.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อยตามราคาตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศยังมีอยู่ เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบป้อนโรงงาน จึงเห็นว่ายังคงมีการแข่งขันสูง เห็นได้จากราคาประมูลอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับราคาตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ ซึ่งพ่อค้าใช้ในการคำนวณราคาซื้อขายในแต่ละวัน
 
   ?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยลบจากเงินเยนแข็งค่าและราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนต่อข้อมูลการจ้างงานของ สหรัฐฯ ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้หรือไม่ ส่วนปัจจัยบวกมาจากเงินบาทอ่อนค่า ซึ่งส่งผลต่อการส่งออก


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา