ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 918 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82503
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  1  ตุลาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศยังคงมีฝนตกในเกณฑ์กระจายถึงเกือบทั่วไป โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพรจนถึงสงขลา   ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 634,747 คัน ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.7   จากปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ซบเซา หลังจากมีการปรับเพิ่มภาษีบริโภคเมื่อเดือนเมษายน โดยรายงานระบุว่าความต้องการรถยนต์เดือนสิงหาคมปรับลดลงร้อยละ 9.1 หลังจากได้มีการปรับเพิ่มภาษีจากร้อยละ 5.0 เป็นร้อยละ 8.0 ขณะที่ยอดส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 322,838 คัน ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.1
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศส (Insee) เปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคฝรั่งเศสปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือนสิงหาคม หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือนกรกฎาคม
- HSBC   โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนเดือนกันยายนทรงตัวที่ระดับเดียวกับเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน อยู่ที่ 50.2 จุด ลดลงน้อยกว่าข้อมูลเบื้องต้นที่ 50.5 จุด
- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า   ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือน
- ธนาคารกลางอินเดียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ   8.0 ถือเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในการประชุม 4 ครั้งติดต่อกัน เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วของอินเดีย
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า เงินเฟ้อของยูโรโซนดือนกันยายนลดลงแตะร้อยละ 0.3 จากร้อยละ 0.4 ในเดือนสิงหาคม ซึ่งธนาคารกลางยุโรปให้ความสำคัญกับข้อมูลเงินเฟ้อที่จะนำมาใช้ประกอบการ ตัดสินใจในการประชุมในสัปดาห์หน้าว่าธนาคารจะใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อ ป้องกันไม่ให้ยูโรโซนต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืดหรือไม่
- กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การใช้จ่ายโดยเฉลี่ยภาคครัวเรือนเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 282,124 เยน ลดลงร้อยละ 4.7   จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน หลังจากมีการปรับขึ้นภาษีการบริโภคในเดือนเมษายน
- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยรายงานระบุว่าดัชนีการขนส่งในภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.9 ขณะที่ดัชนีสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 อยู่ที่ 112.7 จุด
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า   ยอดค้าปลีกเดือนสิงหาคมปรับตัวสูงขึ้น
 ร้อยละ 2.5 หลังจากที่ลดลงในเดือนก่อน โดยปรับตัวสูงขึ้นกว่าคาดการณ์ที่ร้อยละ   0.5

- คอนเฟอร์เรนซ์   บอร์ด เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกันยายนอยู่ที่ 86.0 จุด   ปรับตัวลดลงจาก 93.4 จุดในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี และเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน
- สถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก เดือนกันยายนลดลงแตะ 60.5 จุด จาก 64.3 จุดในเดือนสิงหาคม แม้ดัชนีจะปรับตัวลดลงแต่ก็ถือเป็นระดับที่แข็งแกร่งมาก
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.45 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.08   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 109.91 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.54 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดตลาดที่ 91.16 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 3.41 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากคาดการณ์ที่ว่าสต๊อคน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ อาจปรับตัวสูงขึ้นทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของอุปสงค์พลังงาน ภายในประเทศ   ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ลดลง 2.53   ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 94.67 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 170.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ 179.1 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 4.4 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 155.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 2.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร   และเคสซิลเลอร์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาบ้าน 20 เมืองของสหรัฐฯ   เดือนกรกฎาคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน   แต่ชะลอตัวลงจากอัตราร้อยละ 8.1 ในเดือนมิถุนายน   และเพิ่มขึ้นในอัตราช้าที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปรายงานว่า อัตราว่างงานในยูโรโซนเดือนสิงหาคมแตะร้อยละ 11.5 ทรงตัวจากเดือนกรกฎาคม แต่ลดลงจากร้อยละ 12.0 ในเดือนสิงหาคม 2556
- ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ผู้ซื้อบ้านหลังที่สองจะได้รับสิทธิ์จ่ายเงินดาวน์ลดลงเช่นเดียวกับผู้ซื้อ บ้านครั้งแรก โดยสิทธิ์ดังกล่าวเป็นความพยายามล่าสุดของรัฐบาลในการตอบสนองอุปสงค์สิน เชื่อที่อยู่อาศัยอย่างสมเหตุสมผล ท่ามกลางภาวะซบเซาในตลาดอสังหาริมทรัพย์
- กระทรวงสื่อสารและฝ่ายกิจการภายในประเทศญี่ปุ่นเปิดเผยว่า อัตราว่างงานเดือนสิงหาคมปรับตัวสูงขึ้นสู่ร้อยละ 3.5 จากร้อยละ 3.8 ในเดือนก่อน   เป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลดลงของอัตราว่างงานดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะเป็นสัญญาณบวก สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางคาดว่าทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงมาก   เพราะผลผลิตมีน้อย และผู้ประกอบการในประเทศยังคงซื้อในราคาสูง เมื่อเทียบกับราคาต่างประเทศ เพราะหลายรายเริ่มขาดแคลนยาง อย่างไรก็ตาม ยังคงขายยากและผู้ซื้อยังคงซื้อในราคาต่ำ
 
 
 
แนวโน้ม[/size] ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังจากสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา อย่างไรก็ตาม ราคายางเปลี่ยนแปลงในกรอบจำกัด เพราะยังมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปทานยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย และผู้ประกอบการในประเทศหลายรายมีความต้องการซื้อ เพราะเริ่มขาดแคลนวัตถุดิบ เห็นได้จากราคาที่ประมูลอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับราคาตลาดชี้นำโตเกียว และสิงคโปร์ ขณะที่จีนหยุดทำการวันที่ 1 - 7 ตุลาคม 2557 เนื่องใน[/size]วันชาติ
[/size]
[/size]
[/size]
[/size]ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]