ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558  (อ่าน 877 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82496
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  6  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนยังมีอากาศเย็นกับมีลมแรงและมีหมอกในตอนเช้า สำหรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีลมแรงกับมีเมฆบางส่วน และฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ว ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้นำเข้ายานยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่นำเข้าในญี่ปุ่นเดือนมกราคม รวมถึงรถยนต์ที่ผลิตโดยค่ายรถในต่างประเทศลดลงร้อยละ 17.4 จากปีก่อน อยู่ที่ 20,829 คัน


- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์อังกฤษรายงานว่า เดือนมกราคมมีการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่จำนวน 164,856 คัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2550 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จาก 154,562 คันในช่วงเดียวกันของปีก่อน


- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ยุโรป (ACEA) เปิดเผยว่า ความต้องการรถใหม่ปีนี้น่าจะชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยคาดว่าจะมียอดจดทะเบียนรถใหม่ในยุโรปเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 2.0 แตะระดับเกือบ 13 ล้านคัน สำหรับปี 2557 ยุโรปมียอดจดทะเบียนรถใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 อยู่ที่ 12.6 ล้านคัน เมื่อเทียบกับปีก่อน ฟื้นตัวอีกครั้งหลังเกิดวิกฤตการเงินครั้งใหม่


3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนธันวาคม สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง แม้ราคาน้ำมันลดลงและเงินยูโรอ่อนค่า ซึ่งยอดคำสั่งซื้อปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากเดือนก่อน


- เจ.พี มอร์แกน ประจำประเทศจีนคาดการณ์ว่า การที่ธนาคารกลางจีนประกาศปรับลดอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงร้อยละ 0.5 นั้น อาจทำให้สภาพคล่องไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของจีนสูงถึงประมาณ 6.5 แสนล้านหยวน หรือ 1.04 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สหรัฐฯ มียอดขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม จากการที่ชาวอเมริกันซื้อสินค้านำเข้ามากขึ้น ขณะที่การส่งออกลดต่ำลง ทั้งนี้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 อยู่ที่ 4.656 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในเดือนธันวาคม เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนซึ่งถือเป็นการขาดดุลการค้าที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ขณะที่การส่งออกลดลงร้อยละ 0.8


- คณะกรรมาธิการยุโรปปรับลดคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) กรีซปี 2558 ลงเหลือร้อยละ 2.5 จากเดิมที่คาดการณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 ที่ร้อยละ 2.8 พร้อมเตือนว่าภาวะผันผวนทางการเมืองของกรีซอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ


- คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป (EU.) เผยราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลง และเงินยูโรที่อ่อนค่าจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจยูโรโซนในปีนี้ พร้อมกับปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจยูโรโซนเป็นขยายตัวร้อยละ 1.3 ในปี 2558 และร้อยละ 1.9 ในปี 2559 จากที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.1 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.57 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 117.35 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.19 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 50.48 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.03 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไร หลังจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงกว่า 4 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลเมื่อวานนี้ และยังได้ปัจจัยหนุนจากเงินดอลล่าร์สหรัฐอ่อนค่า อีกทั้งข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดที่ 56.57 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.41 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 211.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 208.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น  2.5 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 175.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น  0.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2558 เพิ่มขึ้น 11,000 ราย สู่ระดับ 278,000 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 290,000 ราย เป็นสัญญาณว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงฟื้นตัว


- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังกรีซ และรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเยอรมัน มีความเห็นขัดแย้งกัน หลังการเจรจาอย่างเคร่งเครียดที่กรุงเบอร์ลินเกี่ยวกับปัญหาหนี้ของกรีซ


- รัฐบาลใหม่กรีซยืนยันจะยึดมั่นในจุดยืนเรื่องการต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด แม้ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB.) ได้ตัดสินใจระงับสิทธิพิเศษที่เคยให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ ของกรีซในการใช้พันธบัตรรัฐบาลเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อขอกู้จากธนาคารกลาง


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อยตามตลาดต่างประเทศ และผลผลิตยางเริ่มลดลง เพราะหลายพื้นที่ปลูกยางเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ อย่างไรก็ตาม ราคายางยังไม่ปรับสูงขึ้นมาก เพราะยังคงขายออกยาก โดยเฉพาะผู้ซื้อจากจีนเตรียมหยุดเทศกาลตรุษจีนจึงซื้อน้อยลง


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และข้อมูลด้านแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ ประกอบกับอุปทานยางลดลงในช่วงฤดูยางผลัดใบ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากจีนชะลอซื้อ เพราะใกล้ถึงวันหยุดยาวช่วงเทศกาลตรุษจีน และความกังวลเกี่ยวกับการเจรจาหนี้ของกรีซที่ยังไม่มีความคืบหน้า






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2015, 12:13:47 PM โดย Rakayang.Com »