ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  (อ่าน 771 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82503
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  15  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559
ปัจจัย

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ

- ประเทศไทยตอนบนโดยทั่วไปมีอากาศเย็น ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนและมีฝนบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง อย่างไรก็ตาม ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง เพราะเดือนหน้าก็จะเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ
2. การใช้ยาง

- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์อินเดียเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศลดลงสู่ระดับ 1,680,303 คันในเดือนมกราคม เทียบกับระดับ 1,690,527 คันในช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2,320,016 คัน เทียบกับ 2,090,086 คันในปีก่อน และสมาคมคาดการณ์ว่ารถยนต์นั่งจะมีการขยายตัวร้อยละ 8 - 12 ในปีงบการเงินต่อไป
3. สต๊อคยาง

- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 31 มกราคม 2559 เพิ่มขึ้น 602 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.61 อยู่ที่ 6,869 ตัน จากระดับ 6,267 ตัน เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2559
4. เศรษฐกิจโลก

- สำนักงานสถิติเยอรมันรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส
- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4 ปี 2558 หดตัวลงร้อยละ 1.4
- ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเบื้องต้นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ลดลงมากกว่าคาดในเดือนกุมภาพันธ์ แตะที่ 90.7 ลดลงจาก 93.3 ในเดือนมกราคม
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีความแข็งแกร่ง และสามารถรับมือกับภาวะตื่นตระหนกได้ดีกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตการเงิน
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อคสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนธันวาคม หลังจากปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือนพฤศจิกายน โดยทั้งผู้ผลิตสินค้าและผู้ค้าปลีกต่างเริ่มสต๊อคสินค้าเพื่อรองรับฤดูกาลจับจ่ายสินค้าในช่วงวันหยุด
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนมกราคม สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.1 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนธันวาคม
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาส 4 สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ การขยายตัวที่อ่อนแอได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่ลดลงและการอ่อนค่าของสกุลเงิน สำหรับเศรษฐกิจยูโรโซนปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2554
5. อัตราแลกเปลี่ยน

- เงินบาทอยู่ที่ 35.69 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.38 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 113.49 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 1.08 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดตลาดที่ 29.44 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 3.23 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขานรับคำกล่าวของรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ที่ก่อให้เกิดความหวังว่าผู้ผลิตน้ำมันจะสามารถจับมือกันลดกำลังการผลิตเพื่อผลักดันให้ราคาน้ำมันฟื้นตัวขึ้น
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดที่ 33.36 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 3.30 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
7. การเก็งกำไร

- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคมอยู่ที่ 143.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 150.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.0 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 124.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
8. ข่าว

- เกษตรกรที่ประเทศกรีซเดินทางถึงกรุงเอเธนส์ เพื่อร่วมชุมนุมคัดค้านแผนขึ้นภาษีและเงินสมทบเข้ากองทุนบำนาญของรัฐบาล เป็นเวลา 2 วัน
9. ข้อคิดเห็นของประกอบการ

- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อยตามฤดูกาล และแหล่งข่าวรายงานว่า มีการเก็บสต๊อคเพื่อขายในโครงการรับซื้อยางของรัฐบาล หลังจากมีกระแสข่าวว่ามีการรับซื้อแบบไม่จำกัดจำนวน
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่าลง ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับผลผลิตยางที่ออกสู่ตลาดน้อยลง เพราะหลายพื้นที่เริ่มเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ รวมทั้งราคาน้ำมันเคลื่อนไหวในทิศทางที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยลบจากสัญญาณเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอจะเผชิญกับการชะลอตัวอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลต่ออุปสงค์ยางในภาพรวมให้ปรับลดลงด้วย

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา