ผู้เขียน หัวข้อ: ส่งออกทรุดหนักเกินคาดส่วนมาตรการรัฐไม่ส่งผล-ปีหน้าต้องลุ้น?ภัยแล้ง-การเมือง? ศก.ไทยเข้าสู่ภาวะชะงักงัน  (อ่าน 354 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82622
    • ดูรายละเอียด
ส่งออกทรุดหนักเกินคาดส่วนมาตรการรัฐไม่ส่งผล-ปีหน้าต้องลุ้น?ภัยแล้ง-การเมือง? ศก.ไทยเข้าสู่ภาวะชะงักงัน

เศรษฐกิจไทยปี?58 สิ้นหวัง ส่งออกทรุดหนักเกินคาด รายได้ประชาชนภาคเกษตรหดตัว ไตรมาสสุดท้ายจีดีพีหดตัวลงอีก ส่วนปีหน้ายังมีอีกหลายปัจจัยเสี่ยงรอรุมกระหน่ำ ทั้งตลาดเงินผันผวน ภัยแล้ง และประเด็นทางการเมือง
 
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังไม่โต้ตัวเลขเศรษฐกิจของทุกหน่วยงาน เพราะแต่ละแห่งก็มีข้อมูลและสมมุติฐานของตัวเอง คลังก็มีข้อมูลและมาตรการที่เตรียมไว้เสนอรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ ให้เศรษฐกิจชะลอ ซึ่งคาดว่าปีนี้จะโต 3% ตามที่ สศค. คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม การออกมาตรการต้องดูไม่ให้มีปัญหาวินัยการเงินการคลัง


นาย สมชัยกล่าวอีกว่า การทำงบประมาณปี 2559 มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปี  2559 จะขยายตัวมากกว่านี้ แต่หากเศรษฐกิจขยายตัวได้น้อยตามที่ธนาคารโลกคาดการณ์ก็จะส่งผลกระทบตามมา เช่น การเก็บรายได้รัฐบาลไม่ได้ตามเป้า ทำให้ต้องเร่งดูมาตรการเพิ่มเติมว่าจะสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อไม่ให้ เศรษฐกิจชะลอตัว
 
ทั้งนี้ได้เสนอมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ให้นายอภิศักดิ์  ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง พิจารณาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ที่การพิจารณาของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี หากเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ก็สามารถเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ได้ทันที แต่หากต้องการเพิ่มเติมทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค. )ก็พร้อมจะพิจารณา นอกจากนี้ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยังอยู่ระหว่างการพิจาณามาตรการภาคอุตสาหกรรมอื่นเพิ่มเติม เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น เพราะเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ชะลอตัว
 
ด้านนายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการ อาวุโส สำนักวิจัย  ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในงานสัมมนา ?Whatsupp  Aseanomic? ว่า ขณะนี้ธนาคารกำลังอยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้จากเดิมที่ เคยคาดว่าจะขยายตัวได้ 2.5% โดยจะรอดูตัวเลข เศรษฐกิจจริงไตรมาส 3 ซึ่งจะประกาศในช่วงเดือนพฤศจิกายนก่อนว่ามีทิศทางชะลอตัวลงมากหรือไม่ แต่ยอมรับว่าภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ถือว่าเข้าสู่ภาวะชะงักงัน โดยจีดีพีไตรมาสต่อไตรมาสโตต่ำกว่า 1% ซึ่งมาตรการรัฐที่ออกมา ช่วงนี้สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้บ้างเป็นการประคองเศรษฐกิจไม่ให้ทรุดลง แต่จะมีผลต่อเศรษฐกิจจริงในช่วงเดือนธันวาคมถึงต้นปีหน้าเป็นต้นไป ซึ่งจะมีผลทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นชัดเจนปีหน้าและจีดีพีปี 2559 ขยายตัวได้ 3.3%
 
นายอมรเทพกล่าวว่า ภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก คือ การส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอทั้งจีนและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญจน 8 เดือนแรก ของปี ติดลบไปแล้ว 1.8% และทั้งปีน่าจะติดลบ 5-6% ดังนั้น ผู้ประกอบการ ต้องปรับตัวด้วยการปรับปรุงคุณภาพสินค้าไม่มุ่งแข่งขันด้านราคา และหาตลาดใหม่ที่ยังมีการขยายตัวได้ดี
 
ส่วนค่าเงินบาทปีนี้ น่าจะอ่อนค่าสูงสุดที่ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  และปีหน้ายังอ่อนค่าลงไปแตะ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรืออาจมากกว่า เพราะสหรัฐน่าจะขึ้นดอกเบี้ยอย่างแน่นอน ซึ่งจะส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่
 
นางพิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า จีดีพีของไทยในช่วงไตรมาส 4/58  คาดว่าจะเติบโต 2.4% ลดลงจากไตรมาส 3/58 ที่เติบโต 2.8% เนื่องจากยังได้รับแรงกดดันจากภาคการส่งออกของไทยที่ยังติดลบต่อเนื่องตาม เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันที่ยังชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทย อย่างเช่น จีน ที่ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเกือบทุกอย่างไปแล้วยังไม่สามารถพลิกฟื้น เศรษฐกิจให้กลับมาได้ จึงส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เนื่องจากต้องพึ่งพาจีนและมีการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ในสัดส่วนค่อนข้างสูง ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีแนวโน้มตกต่ำลง อีกทั้งค่าเงินที่แม้ว่าจะอ่อนค่าแต่ประเทศคู่ค้าได้มีการต่อรองเพื่อลดราคา สินค้า ทำให้กดดันการส่งออกเข้าไปอีก จึงประเมินว่าการส่งออกไทยในปี?58 ติดลบ 5% จากเดิมที่คาดว่าติดลบ 1.7%
 
?นอกจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอ ตัวทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงแล้ว ราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะยังคงอ่อนตัวต่อเนื่องมายังไตรมาส 4 นี้ ซึ่งมาจากซัพพลายของน้ำมันดิบที่จะเข้ามามากขึ้น หากอิหร่านพ้นจากการถูก Sanction ซึ่งราคาน้ำมันที่ลดลงมันไปกระทบราคายางพารา ปิโตรเลียม และปิโตรเคมี และจีนเองที่เศรษฐกิจไม่ดี แม้ว่าจะใช้มาตรการเกือบทุกรูปแบบแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น ทำให้ดีมานด์ของจีนลดลงและมีผลราคาสินค้าที่ลดลงด้วย? ดร.พิมลวรรณ กล่าว
 
ด้าน ปัจจัยเสี่ยงไตรมาสสุดท้ายส่วนใหญ่เป็นปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะความผันผวนในตลาดการเงินจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว โดยคาดการณ์เงินบาทสิ้นปีนี้อยู่ที่ 36.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนปี 2559 อยู่ที่ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนปัจจัยในประเทศ คือ ปัญหาภัยแล้งและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญยังมีผลต่อทิศทาง เศรษฐกิจครึ่งปีแรกของปี 2559
 
สำหรับมองกรอบอัตราการขยายตัวของ เศรษฐกิจไทย(GDP) ในปี?59 จะขยายตัว  2.5-3.5% โดยให้ค่ากลางอยู่ที่ 3% จากปีนี้ที่ประเมินว่าจีดีพีไทยจะขยายตัวอยู่ที่ 2.8% ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาทิ มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ มาตรการสนับสนุนทางภาษีให้กับภาคเอกชน (BOI) การให้เงินสนับสนุนกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกองทุนหมู่บ้าน และการลงทุนอื่นๆ ของทางภาครัฐ โดยมาตรการข้างต้นจะต้องรอประกาศออกมาอย่างเป็นรูปธรรมก่อน และคาดว่าจะเริ่มเห็นผลอย่างชัดเจนตั้งแต่ไตรมาส 4/58 ถึงปีหน้า และทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยจะมีการประเมินกรอบการ
ขยายตัวของจีดีพีที่แน่นอนอีกครั้ง
 
ด้าน นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มีมติปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ปีนี้เหลือ 2.5-3% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 3-3.5% และคาดว่าการส่งออกทั้งปีจะหดตัวถึง 5% สำหรับปัจจัยที่ต้องปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจนั้น มาจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังอ่อนแอ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าที่หดตัวลงถึง 6.7% จากความต้องการกลุ่มประเทศ G3 และอาเซียนที่ชะลอตัว ขณะที่การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิด ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยรวมขยายตัวต่ำลง 24.7% เมื่อเทียบกับการขยายตัว 39.4% ในเดือนก่อนหน้านี้
 
?ในช่วงที่ เหลือของปี กกร.ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร่ง ด่วนไตรมาสสุดท้ายของรัฐบาล วงเงินรวม 136,000 ล้านบาท ซึ่งจะกระตุ้นการบริโภคของผู้มีรายได้น้อยผ่านกองทุนหมู่บ้านและกระตุ้นการ ลงทุนในระดับชุมชน?
 
นอกจากนี้ กกร.เตรียมเสนอรัฐบาลให้กำหนดโครงสร้างการทำงานของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและ เอกชนรายจังหวัด เพื่อให้สามารถสานต่อแนวนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและใช้งบประมาณได้ ตรงตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งเสนอให้รัฐบาลเตรียมจัดตั้งคณะทำงานศึกษารายละเอียดการเปิดการค้า เสรีกับต่างประเทศ ทั้งไทย-สหภาพยุโรป (อียู), ไทย-อิหร่าน หรือแม้แต่ไทย-ตุรกี หลังภาคเอกชนเริ่มมีความกังวลในเรื่องนี้

ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่่ 7 ตุลาคม 2558)