ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2017, 04:00:23 PM »


กยท. เจ้าภาพจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเสถียรภาพราคายาง ANRPC ครั้งที่ 4 ร่วมหารือ 9 ประเทศสมาชิกผู้ผลิตยาง ดัน มาตรการด้านเสถียรภาพราคายาง


ThaiPR.net -- ศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2560 09:51:04 น.


กรุงเทพฯ--26 พ.ค.--การยางแห่งประเทศไทย
 
วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 ประเทศไทย โดยการยางแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเสถียรภาพราคายาง ANRPC ครั้งที่ 4 มี 9 ประเทศสมาชิกได้แก่ ไทย กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาปัวนิกีนี ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา เวียดนามในฐานะผู้ผลิตยางธรรมชาติของโลกเข้าร่วมประชุม หวังหาแนวทางและมาตรการด้านเสถียรภาพราคายางของประเทศสมาชิก ณ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา



ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าภาพการประจัดประชุม ANRPC กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทยมีความยินดีในฐานะเจ้าภาพการจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเสถียรภาพราคายาง ของสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (The Association of Natural Rubber Producing Countries: ANRPC) ซึ่งครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 โดย กยท. เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะทำหน้าที่บริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา สถาบันเกษตรกร ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมทั้งบริหารจัดการราคายางของประเทศให้เสถียรภาพ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักในการประชุมของประเทศสมาชิก ANRPC ครั้งนี้ คือ การร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนแนวคิด ข้อเสนอแนะ พร้อมหาแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในช่วงราคายางลดลง และเสนอมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านข้อมูลอุตสาหกรรมและระบบการรายงานของ ANRPC ทั้งนี้ ประเทศไทย ทาง กยท. ได้มีการผลักดันหลายๆ โครงการที่ช่วยในการรักษาเสถียรภาพราคายางซึ่งได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้แก่ การขยายระยะเวลาโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางพาราภายใต้แนวทางยางพาราทั้งระบบ วงเงินสินเชื่อ1 หมื่นล้านบาท และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง รวมถึงโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง โดยรัฐบาลจะสนับสนุนด้วยการชดเชยดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 3 กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ หรือคิดเป็นเงินช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 300 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 1 หมื่นล้านบาท ให้กับผู้ประกอบการที่กู้เงินธนาคารใดๆ ก็ตาม เพื่อเป็นการผลักดันราคายางให้สูงขึ้น
 
ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยยังให้การสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรายย่อย ไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ จำนวนประมาณ 720,000 ครัวเรือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,000 ล้านบาท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่แก่ชาวสวนยางในช่วงฤดูกาลที่ราคายางลดลง
 
นอกจากนี้ ยังมีโครงการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ถนนยางพารา หมอนยาง เตียงยาง ยางรถยนต์ และอื่น ๆ
โดยภาครัฐได้มีการผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการใช้ยางภายในประเทศ
 
ซึ่งตั้งเป้าไว้จะมีการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 600,000 เมตริกซ์ตัน เป็น 1.2 ล้านเมตริกซ์ตันภายใน 5 ปี