ผู้เขียน หัวข้อ: ทุ่ม 3.8 หมื่นล้าน ดัน 'ยาง' กิโล 65  (อ่าน 2187 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82591
    • ดูรายละเอียด
ทุ่ม 3.8 หมื่นล้าน ดัน 'ยาง' กิโล 65
« เมื่อ: ธันวาคม 18, 2017, 08:24:53 PM »
ทุ่ม 3.8 หมื่นล้าน ดัน 'ยาง' กิโล 65

18 December 2017





กนย.เตรียมชงครม.ไฟเขียว 3 มาตรการใหม่ ดันราคายาง 65 บาท/กก. วงเงินกว่า 3.87 หมื่นล้านสั่งลุยเพิ่มใช้ยางของหน่วยงานรัฐเฟส 2 เตรียมเคาะราคาและเปิดจุดรับซื้อนาน 4 เดือน ล็อกสเปกเฉพาะเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. 1.34 ล้านรายเท่านั้นที่มีสิทธิ์ร่วมแหล่งข่าวจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) วันที่ 15 ธันวาคม 2560 ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้มีมติเห็นชอบมาตรการใหม่เพื่อพยุงราคายางพาราเพิ่มอีก 3 มาตรการตามที่กยท.นำเสนอรวมวงเงิน 3.87 หมื่นล้านบาท เป้าหมายดันราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่ 65 บาท/กิโลกรัม (ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ณ วันที่ 15 ธันวาคม 60 อยู่ที่ 45.90 บาท/กิโลกรัม

++3มาตรการดันราคามาตรการที่ 1 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) ร่วมกับสมาคมยางพาราไทย วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 3% ต่อปี เพื่อดูดซับยางออกจากระบบ 11% หรือประมาณ 3.5 แสนตัน จากผลผลิตยางแห้งของไทย 3.2 ล้านตัน/ปี

2.โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ เป้า หมาย 2 แสนตัน งบประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ล่าสุดในปี 2561 มีหน่วยงานรัฐได้แจ้งความประสงค์มาเบื้องต้น ได้แก่ กระทรวงคมนาคม เกษตรและสหกรณ์ มหาดไทย และศึกษาธิการ ต้องการใช้ยางรวม 1.71 แสนตัน แบ่งเป็น นํ้ายางข้น 1.07 แสนตัน และยางแห้ง 6.44 หมื่นตัน โดยเงื่อนไขชาวสวนยางที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการนี้ต้องเป็นเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท.ไว้แล้ว (ข้อมูล ปี 2560 เกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนกับ กยท. จำนวน 1.34 ล้านราย คิดเป็นพื้น ที่ทั้งสิ้นประมาณ 14.5 ล้านไร่) โดย ชาวสวนยางสามารถนำยางมาขาย ณ สถานที่รับซื้อยางที่กยท.กำหนดตามพื้นที่สวนยางเปิดกรีดซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท.รายละไม่เกิน 15 ไร่ (จำนวนเศษของไร่ให้ปัดขึ้นเป็น 1 ไร่) ไร่ละ 2 กิโลกรัม/วัน (ไม่เกิน 15 วัน/เดือน) รวมไม่เกิน 1,800 กิโลกรัม (ยางแห้ง)/รายซึ่งจะดำเนินการเปิดจุดรับซื้อ 4 เดือน (สิ้นสุดเม.ย.61)

P1-3323-A

3.โครงการควบคุมเพื่อลดปริมาณผลผลิตยางกว่า 1 แสนตัน มี 3 มาตรการย่อย ใช้เงิน 6,780 ล้านบาท ได้แก่

1.ลดพื้นที่ปลูกยางแบบถาวร จำนวน 2 แสนไร่ ใช้งบ 3,284.28 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกรสมาชิก กยท. จำนวน 2 หมื่นราย (เฉลี่ยรายละ 10 ไร่) คาดลดผลผลิตได้ 4.52 หมื่นตัน/ปี
2.ลดพื้นที่ปลูกยางแบบชั่วคราว โดยส่งเสริมปลูกพืชแบบผสมผสานเพื่อชะลอกรีดยาง โดยจะจ่ายเงินให้เกษตรกรโดยตรงรายละ 4,000 บาท เป้าหมาย 2 แสนไร่ วงเงิน 3,200 ล้านบาท คาดลดผลผลิตยางได้ 4.52 หมื่นตัน/ปี
และ
3.ลดปริมาณผลผลิตยางของหน่วยงานภาครัฐที่มีสวนยางรวม 1.21 แสนไร่ ประกอบด้วยขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) 8.9 หมื่นไร่ กรมวิชาการเกษตร 2,000 ไร่ และ กยท. 3 หมื่นไร่ โดยจะหยุด กรีด 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.61)

"มาตรการทั้งหมดหลังผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม กนย.แล้วจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบในวันที่ 19 ธันวาคมนี้ เพื่อดำเนินการต่อไป?


++เตรียมเคาะราคา-เปิดจุดซื้อนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการ กยท. ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง กล่าวว่า โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ เป้าหมาย 2 แสนตัน ซึ่งเป็นโครงการในเฟสที่ 2 ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดราคากลางในการรับซื้อยางแต่ละชนิด จะรอให้ที่ประชุม ครม.วันที่ 19 ธันวาคมนี้ให้การอนุมัติเห็นชอบโครงการก่อน จึงจะประชุมร่วมกับผู้ประกอบการยางที่เกี่ยวข้องในภายหลัง เพื่อกำหนดราคาซื้อยางแต่ละชนิด และเปิดจุดรับซื้อต่อไป
แหล่งข่าวจาก กยท.กล่าว อีกว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาราคายาง 4 โครงการโดย 1 ในนั้นคือโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งโครงการในเฟสแรก (ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ ม.ค.59-1 ก.ย. 60) วงเงินงบประมาณ 5,479 ล้านบาท วิธีการให้เข้ารับซื้อยาง จากเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. โดยกำหนด ราคารับซื้อยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 กก.ละ 45 บาท นํ้ายางสด 42 บาท/กก. และยางก้อนถ้วย 41 บาท/กก.ซึ่งผลการดำเนินงานซื้อยางได้ 2,892 ตัน เป็นเงิน 122.92 ล้านบาท และส่งผลให้ ราคายางในช่วงนั้นปรับตัวสูงขึ้น ทำให้มียางเข้าโครงการน้อย

++ลุ้นราคาขยับยกแผงนายสาฝีอี โต๊ะบู นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากทั้ง 3 มาตรการใหม่ของรัฐหากสามารถผลักดันราคาแผ่นรมควันชั้น 3 ได้ที่ 65 บาท/กก. ราคายางก้อนถ้วย นํ้ายางสด และ ยางแผ่นดิบก็ควรอยู่ที่ 32-33 บาท,59 บาท และ 63 บาท/กก. ตามลำดับ ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการค้ายางพารา ให้ความ เห็นว่า โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานรัฐ 2 แสนตันนั้นอาจก่อให้เกิดการกักตุนยางของเกษตรกรเพื่อเข้าร่วมโครงการเพื่อหวังราคาสูง



อ้างถึง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,323 วันที่ 17 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2017, 09:05:44 PM โดย Rakayang.Com »