ผู้เขียน หัวข้อ: ลงชื่อโค่นยางแล้ว 2.8 แสนไร่ ดีเดย์ 9 พ.ค.  (อ่าน 667 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82609
    • ดูรายละเอียด
ลงชื่อโค่นยางแล้ว 2.8 แสนไร่ ดีเดย์ 9 พ.ค.



สกย. ขานรับนโยบายรัฐบาล เร่งเดินหน้าลดพื้นที่ปลูกยางลดซัพพลาย เผยมีเกษตรกรแจ้งความจำนงโค่นยางเก่าแล้ว 2.8 แสนไร่ จากเป้า 4 แสนไร่ ลั่น 9 พ.ค.นี้ รวม 3 องค์กรตั้งการยางแห่งประเทศไทย แก้ปัญหายางทั้งระบบ ด้านสภาไตรภาคีจับมือ 5 ประเทศผู้ผลิตถกที่อินโดนีเซีย มั่นใจเห็นยางแตะ 70 บาท


นายเชาว์  ทรงอาวุธ รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ในฐานะประธานคณะทำงานย่อยประสานงานและติดตามผลการบริหารจัดการพัฒนายางทั้ง ระบบ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงมาตรการลดพื้นที่ปลูกยางพาราซึ่งเป็น หนึ่งในแผนบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบเพื่อลดปริมาณผลผลิต และแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำในระยะยาวตามนโยบายนั้น ล่าสุดได้มีเกษตรกรที่แจ้งความจำนงในการโค่นต้นยางเก่าโดยได้รับเงิน สงเคราะห์เพื่อจูงใจมาแล้ว (ณ 19 ก.พ.58) รวมพื้นที่ประมาณ 2.8 แสนไร่ จากเป้าหมายของสกย.ในปีนี้ที่ 4 แสนไร่ ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับเงินสงเคราะห์ไร่ละ 2.6 หมื่นบาท
ทั้งนี้พืชเศรษฐกิจที่สกย.แนะนำให้ปลูกนั้น หากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำไม่เหมาะต่อการปลูกยางพารา โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มเขตจังหวัดกระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี  นครศรีธรรมราช และพัทลุง เมื่อโค่นยางทิ้งแล้ว ควรจะปลูกปาล์มน้ำมันทดแทน เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้ผลตอบแทนสูง


นายเชาว์ กล่าวอีกว่า จากราคายางที่ตกต่ำ มีผลให้ สกย.จัดเก็บค่าธรรมเนียมในการส่งออกยางจากผู้ประกอบการ(เงินเซสส์) เพื่อนำมาใช้เป็นเงินสงเคราะห์ผู้ปลูกยางพาราได้ลดลง โดยล่าสุดเก็บได้ในอัตรา 1.40 บาท/กิโลกรัม(การเก็บเงินเซสส์มี 5 ระดับ กรณีราคายางในประเทศไม่เกิน 60 บาท/กก.เก็บที่ 1.40 บาท/กก. สูงสุดหากราคายางเกิน 100 บาท/กก. เก็บ 5 บาท/กก.) ยอมรับว่าขณะนี้ได้ส่งผลกระทบกับค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักงาน แต่ไม่กระทบกับเงินสงเคราะห์เกษตรกร ที่เป็นงบผูกพัน ปัจจุบันเงินเซสส์ยังเหลือกว่าหมื่นล้านบาท


ส่วนความคืบหน้า การยางแห่งประเทศไทย หรือ (กยท.) ในวันที่ 9 พฤษภาคมนี้ หากผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่ชาติ (สนช.) จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกาเพื่อบังคับใช้ทันที สาระสำคัญเพื่อรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการเกี่ยวกับยางพาราของประเทศอย่าง ครบวงจรมีเอกภาพ เป็นอิสระ คล่องตัว และใช้ยางพาราและผลิตผลจากยางพาราให้เกิดประสิทธิภาพ  โดยร่างกฎหมายจะยุบ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) และสถาบันวิจัยยาง เพื่อรวมกันเป็นหนึ่งเดียว และรับผิดชอบดูแลบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร เพื่อยกระดับรายได้เกษตรกร


ด้านนายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCo)  เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 23-27 กุมภาพันธ์ 2558 จะมีการประชุมสภาไตรภาคียางพารา (ประกอบด้วยไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย) เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราและกำหนดแนวทางความร่วมมือในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งสถานการณ์ราคายางพาราเป็นที่น่าสังเกตว่าราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ( ณ ตลาดกลางสงขลา) อยู่ในระดับราคาที่สูงกว่าราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 (เอฟโอบี) เนื่องจากการเข้าซื้อยางในราคานำตลาดของ อ.ส.ย.ภายใต้โครงการมูลภัณฑ์กันชน หรือบัพเฟอร์ ฟันด์ (เริ่มโครงการตั้งแต่ 5 พ.ย.57)


ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคายางพาราในภาพรวมยังปรับตัวลดลงเนื่องจากราคายางพารา ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่กรุงโตเกียวและเซี่ยงไฮ้ ยังลดลงจากนักเก็งกำไรยังขาดความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงปรับตัวต่อเนื่อง ตลอดจนประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลกเศรษฐกิจชะลอตัวลง อย่างไรก็ดีมองว่าช่วงนี้ราคายางมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 70 บาท หากรัฐบาลเร่งระบายยางในสต๊อกช่วงนี้จะเหมาะสมที่สุด


ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่  22 - 25  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558)