ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2017, 01:01:55 PM »

ชาวสวนยางอินเดียดีใจกับทางเลือกของการส่งออก ในขณะที่ราคายางภายในประเทศลดลง



หลังจากราคายางตกต่ำเป็นเวลานาน ชาวสวนยางในอินเดียพบว่าฤดูการกรีดยางปีนี้สดใส ทั้งผลผลิตและความแตกต่างระหว่างราคายางภายในประเทศและต่างประเทศ
Sibi Monipally เลขาธิการ สมาคมผู้ปลูกยางของอินเดีย (Indian Rubber Growers? Association) เปิดเผยว่า การกรีดยางจะต้องเสร็จสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ แต่จากฝนฤดูร้อน และการที่บริษัทยางล้อเพิ่มสต็อกยาง ฤดูกรีดยางจะยืดไปจนถึงเดือนมีนาคม 


คณะกรรมการยางของอินเดีย (Rubber Board of India) คาดการณ์ว่า การผลิตยางจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ในฤดูกรีดยางปัจจุบัน เทียบกับปีงบประมาณที่แล้ว
ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า ราคายางธรรมชาติจะสูงขึ้น ความจริงแล้ว ราคาภายในประเทศของยางแผ่นรมควัน RSS-4 ซึ่งเป็นยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมี่ยม ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเดือนที่แล้ว


แต่ความหวังคือมีทางเลือกการส่งออกที่มีอนาคต โดยมีช่องว่างระหว่างราคาในต่างประเทศและราคาภายในประเทศ เมื่อราคาในต่างประเทศอยู่ที่ 160 รูปีต่อกิโลกรัม ราคาภายในประเทศจะอยู่ประมาณ 150 รูปีต่อกิโลกรัม ซึ่งหมายความว่า โอกาสของการส่งออกได้เปิดขึ้นแล้ว เช่น บริษัท Manimalayar Rubbers บริษัทส่งออกของอินเดีย ได้ส่งออกยางแม้แต่ไปบราซิล ซึ่งเป็นประเทศแหล่งกำเนิดของยาง


จากขัอมูลของคณะกรรมการยาง ความเป็นไปได้ในการส่งออก มีผลทางจิตวิทยาต่อชาวสวนยางที่มีต่อผู้ซื้อภายในประเทศ โดยชาวสวนยางได้เริ่มหันไปปลูกพืชชนิดอื่น จากราคายางที่ตกต่ำ แต่ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2017 ได้มีการส่งออกยางแล้ว 12,000 ตัน


บริษัทผลิตยางล้อ ซึ่งต้องพึ่งการนำเข้าเป็นอย่างสูง ปัจจุบันกำลังเฝ้าดูราคาในต่างประเทศ และได้ยกเลิกแผนการนำเข้า และกำลังสร้างคลังสินค้าใกล้ศูนย์กลางการผลิตยางในรัฐ Kerala รายงานล่าสุดของสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (Association of Natural Rubber Producing Countries) ระบุว่า ผลผลิตยางแผ่นที่ยังไม่แน่นอนจากไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจทำให้ราคาในต่างประเทศผันผวน อีกประการหนึ่ง สหรัฐฯ กำลังสร้างคลังน้ำมันดิบเพิ่ม ทำให้ราคายางสังเคราะห์ตกลงไปด้วย ซึ่งอาจทำให้ราคายางขึ้นๆ ลงๆ ในตลาดต่างประเทศหลังเดือนมีนาคม



ที่มา: https://globalrubbermarkets.com/48507/export-option-excites-rubber-growers-domestic-prices-fall.html วันที่15 มีนาคม 2017