ผู้เขียน หัวข้อ: พบตัวเลขผลิตยางปี56ผิดปกติ 'ปีติพงษ์'วอนผู้ค้าอย่ากดราคา (22/12/57)  (อ่าน 1045 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82731
    • ดูรายละเอียด
พบตัวเลขผลิตยางปี56ผิดปกติ 'ปีติพงษ์'วอนผู้ค้าอย่ากดราคา (22/12/57)


18 ธ.ค.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่าจากการตรวจสอบสถานการณ์ราคายางที่ผ่านมา พบว่าราคารับซื้อยางในประเทศ มีการตกต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ ปี2556  โดยชาวสวนยางพารามีการประท้วงและมีการปิดถนน เพื่อขอรัฐบบาลแก้ปัญหาราคายางพารา และหยุดประท้วง ระหว่างมีการประท้วงใหญ่ทางการเมืองของกลุ่มกปปส. เมื่อ ช่วง เดือน พฤศจิกายน 2556 โดยเป็นที่น่าจับตามองว่า ระหว่างที่มีการชุมนุมประท้วงอย่างต่อเนื่อง ของกลุ่ม กปปส. มาจนถึงช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2557ก่อนที่จะมีการทำรัฐประหารในที่สุด ในส่วนสถานการณ์?ยางมีการตกอย่างต่อเนื่อง  โดยภาคเอกชน หรือ กลุ่มนักธุรกิจยางได้ของรัฐบาล ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกยางพารา กิโลกรัมละ 1.4บาท  โดยอ้างว่าไม่สามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคม2556 และมีคำสั่งจากระทรวงให้มีการยกเลิกการเก็บค่าทำเนียมมดังกล่าว ทันที  2556
จากการตรวจสอบพบว่า ในช่วงระยะเวลา ดังกล่าว เป็นช่วงที่ ฝนตกในพื้นที่ภาคใต้อย่างต่อเนื่องทำให้ ปริมาณการผลิตยางพาราน่าจะลดลง  ไปจนถึงเดือนธันวาคมและสามารถกรีดยางได้มากที่สุดในช่วงเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนที่จะถึงยางผลัดที่ต้องพักหน้ายาง และเป็นที่น่าสังเกตุว่าในช่วงตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี2556  ถึงช่วงเดือน มกราคม 2557 ก่อนที คสช. จะยึดอำนาจ ระหว่างที่ มีการประท้วงทางการเมือง กลับพบว่าตัวเลขการผลิตยางพารา ที่ทางสำนักงาน สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการกระทรวงเกษตรฯ ที่มีการทำข้อมูลการผลิตยางและตัวเลขการส่งออกเพราะเป็นผู้ที่ต้องออกใบรับรองการส่งออกยางพาราไปยังต่างปนะเทศตาม พรบ.ยางปี42 พบว่าตัวเลขการผลิตยางพาราสูงผิดปกติ  โดยจากช่วงเดียวกันของทุกปี  ตัวเลขผลลผลิตยางพารา น่าจะไม่เกิน 3แสนตัว และส่งออกเดือนละ2แสนตันเศษ  แต่จากกาารตรวจสอบพบว่า มีตัวผลผลิต ขยับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ  โดยเดือนสิงหาคมตัวเลขการผลิตยางสูงมากถึง 3.7 แสนตัน และส่งออกกว่า 3.1 แสนตัน จากนั้น ก็ขยับสูงขึ้น โดยในช่วงเดือน ธันวาคม 2556ที่เป็นช่วงหน้าฝนในพื้นที่ ภาคใต้ตัวเลข ผลผลิตสูงถึง 4.5แสนตัน และส่งออก มากกว่า 3.9แสนตัน  โดยจากการตรวจสอบพบว่าช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน มีการส่งออกยาง มากกว่า1.7ล้านตัน  ซึ่งหาก เก็นเงินค่าทำเนียมส่งออก จาก เอกชน จะมีรายได้ เข้ารัฐได้กว่า1.044  หมื่นล้านบาท แต่จากมติดังกล่าวส่งผลให้ เอกชนไม่ต้องจ่ายเงิน โดยอ้างว่าเป็นภาระไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้  ซึ่งการยกเลิกการเก็บเงินครั้งนี้ นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงเกษตรฯ เป็นที่ปรึกษาเรื่องยางให้กับกระทรวงเกษตรในสมัยที่ผ่านมาด้วย



ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตุว่าในการส่งออกยางพาราไปยังต่างประเทศ พบว่าส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีทั้งประเทศลาว เวียดนาม ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าทั้งหมด เป็นประเทศที่ไม่มีการใช้ยางพาราจริง แต่กลับพบว่ามีบริษัทเอกชนหลายราย ที่ส่งออกยางมีบริษัทยางและมีโกดังเก็บสต๊อกยางในประเทศดังกล่าว จึงน่าจะไม่มีการสั่งซื้อจริงเพียงแต่โยกย้ายสต๊อกไปเตรียมที่จะส่งออกไป ในช่วงที่ เก็บเงินค่าทำเนียมส่งออกปกติ ขณะเดียวกัน ทั้งสองประเทศไม่มีการเก็บภาษีนำ เข้า และยังได้สิทธิการส่งออกไปยังประเทศจีนในฐานะประเทศ ที่มีชายแดนติดกัน ในอัตราภาษีต่ำกว่าส่งออกจากประเทศไทยโดยตรง โดย ตัวเลขที่ผิดปกติดังกล่าวที่คาดว่าไม่ส่งออกจริง แต่มีการซื้อขายล่วงหน้า โดยไม่ต้องเก็บค่าทำเนียมส่งออก  โดยคาดว่าจะตกลงราคาที่ ไม่น่าจะต่อกว่า70-80บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้เอกชน ส่งออกยางได้ถึงเดือนตุลาคม จากปริมาณยางที่มีอยู่กว่า1.7ล้านตัน เพราะในความเป็นจริงน่าจะส่งยางได้ไม่เกินเดือนละ2แสนตันแท่านั้น ส่งผลให้เอกชนไม่ยอมรับซื้อยางจากเกษตรกร และทำให้ราคายางพาราตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลับมาเก็บค่าทำเนียมการส่งออก ผลผลิตยางกลับมาปกติ  โดยตัวเลขผลผลิตยางช่วงเดือนมมีนาคม 2557 อยู่ที่ 2.7แสนตัน ในขณะที่ตัวเลข ส่งออกอยู่ที่2.8แสนตัน  ซึ่งเกินผลผลิตด้วย



แต่ล่าสุดเป็นที่น่าแปลกใจว่ารัฐบบาลยังมีมาตรการช่วยเหลือเอกชน โดยให้เงินกูอัตราดอกเบี้ยต่ำเข้าไปรับซื้อยาง ซึ่งน่าจะเป็นวิธีการที่ผิด เพราะจากสถิติพบว่าราคายางในช่วงจากนี้ไป ถือเป็นช่วงที่ขาดแคลนยางเนื่องจาก เป็นช่วงฤดูฝนมีการกีดยางน้อยลงทำให้ราคายางสูงขึ้น แม้ไม่มีมาตราการใดๆ  ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องควรที่จะทบทวนถึงมาตรการ ที่ดำเนินการอาจผิดวิธี เนื่องจากสาเหตุที่ยางราคาตกต่ำ น่าจะไม่ใช่สถานการณ์ ราคาน้ำมันที่ต่ำลง แต่ เป็นเรื่องพ่อค้ารวมหัวกดราคา รับซื้อยางเพื่อเข้าสต๊อก แทนที่มีการยืม ไปส่งออก ส่งผลให้าราคายางตกต่ำ



ล่าสุด นายปึติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุทธทยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เรียกผู้ประกอบการยางมาหารือและกำชับให้ดำเนินการซื้อยาง พร้อมกับขอร้องงอย่ากดราคารับซื้อยางกับเกษตรกร หากยัง ไม่มีความคืบหน้าจะดำเนินการขั้นเด็ดขาด ด้วยวิธีการตรวจเอกสารการนำเข้าย้อนหลัง และตรวจสต๊อกการส่งออกยางทั้งหมด



อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวระดับสูงกล่าวอีกว่า เป็นที่น่าจับตามมองว่า การเข้ามาดำรงต้ำแหน่งของนายอำนวยในครั้งนี้ น่าจะสร้างปัญหาให้กับรัฐบาลมากกว่าการแก้ปัญหาเพราะ นายอำนวยถือเป็นบุคคลที่อยู่เบื้องหลังเรื่องยางมาหลายสมัย แต่ไม่เคยแก้ปัญหาราคายางได้เลย จึงน่าจะมีการทบทวนเพื่อแก้ปัญหาราคายางให้กับเกษตรกรชาวสวนยางอย่างจริงจังเพราะขณะเดียวกันยังมีรายงานด้วยว่า บริษัทที่คุมมเรื่องธุรกิจยาง ที่ส่งยางไปลาว และเวียดนาม เพื่อเตรียมส่งออกจีนและสร้างผลกระทบต่อราคายางพาราในประเทศ ล้วงแต่มีที่ปรึกษาบริษัทเป็นอดีตข้าราชการระดับสูงกระทรวงเกษตรที่เคยดูแลเรื่องยางถึงยากที่จะแก้ปัญหาได้


ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า (18/12/57)

สามิต

  • บุคคลทั่วไป
กระทั่งป่านนี้ อำนวยแจ้งว่าจะทำราคา 60 บาท/กก คือยางชนิดไหน รมควัน หรือ ยางแผ่นดิบชาวสวน อย่าพูดเหมารวม ฟังแล้ว งง    (ฮง ติ ตายแล่ว) ซื้อยางแผ่น รมควัน 57 บาท หวังจะให้ ราคา น้ำยางวิ่งขึ้นตาม รอชาตหน้า ให้นายทุนโรงรม ทำตามที่คิด ในสวน น้ำยางยังอยู่ระดับ 30 กว่า บาท โรงรมกำไรมหาศาล แต่อำนวย อสย ยังไม่รู่เรื่อง น่าสงสารชาวสวนยางจริง สนใจชาวสวนบ้าง