ผู้เขียน หัวข้อ: คอลัมน์: อ่านเอาเรื่อง: ยางพาราพืชการเมือง?  (อ่าน 1084 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82735
    • ดูรายละเอียด
คอลัมน์: อ่านเอาเรื่อง: ยางพาราพืชการเมือง?


หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พุธที่ 12 กรกฎาคม 2560 00:00:23 น.
โดย ผักกาดหอม
 
วานนี้ (๑๑ กรกฎาคม) นายกฯ ประยุทธ์ พูดถึงสถาน การณ์ราคายางพาราเอาไว้น่าสนใจ ชนิดที่ว่านายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่กล้าพูดแน่ๆ ท่านบอกว่า "...ประเทศไทยได้หารือในสภาไตรภาคียางพาราครั้งที่ ๒๘ ร่วมกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๖-๗ ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีการระบุว่าการที่จะทำให้ราคายางพาราสูงกว่าเดิมเป็นไปได้ยาก และบอกว่าประเทศไทยเป็นคนทำให้ราคายางพารามีปัญหา เพราะมียางพารามากเกินไป จะให้เขาเข้ามาทำคงลำบาก เราจึงต้องปรับว่าควรมีปริมาณยางเท่าไหร่


ต่างประเทศเขามองว่า กรณียางพาราในประเทศไทยเป็นเรื่องการเมือง ถ้าการเมืองไม่มีเสถียรภาพ  อย่างไรราคายางพาราก็ตก เพราะมีการซื้อขายในตลาดกลางของโลกล่วงหน้า สถานการณ์ในประเทศดูเหมือนว่าเป็นเรื่องของความมั่นคง เป็นเรื่องการเมือง ก็เลยไปกันใหญ่..."
ประเด็นยางพาราเป็นพืชทางการเมืองไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีมานานแล้ว
 
การเมืองระหว่างพรรคการเมืองด้วยกันการเมืองระหว่างการเมืองกับกลุ่ม ๕ เสือ ๕ เสือ ที่ว่าประกอบด้วย ๑.บริษัท ไทยฮั้วรับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ๒.บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ๓.บริษัท เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด ๔.บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด และ ๕.บริษัท  ไทยรับเบอร์ ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด
 
ระหว่างการเมืองด้วยกันคือ ฝ่ายค้าน รัฐบาล มีเรื่องให้นำไปอภิปรายไม่ไว้วางใจกันอยู่เรื่อยๆ ทั้งในเรื่องนโยบาย และเรื่องโกง
ส่วนการเมืองกับกลุ่ม ๕ เสือจะมีปัญหาแทบทุกครั้งที่ยางราคาตก
กลุ่ม ๕ เสือถูกมองว่าเป็นคนทุบราคา และได้ประโยชน์อยู่ฝ่ายเดียว
 
แต่ก็น่าแปลกที่ฝ่ายการเมืองจัดการอะไรกับกลุ่ม ๕ เสือไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่เป็นผู้กุมนโยบาย
 
ก็เลยเกิดคำถามว่าสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ยางพาราราคาตกอย่างต่อเนื่องนั้นเกิดจากอะไรกันแน่
 
เอาที่เป็นหลักฐานชัดๆ คาตา นโยบายยาง ๑ ล้านไร่ยุคทักษิณ ช่วงปี ๒๕๔๗-๒๕๔๙ คือเส้นทางสู่หายนะอย่างแท้จริง
 
อายุยางพาราที่สามารถกรีดได้ประมาณ ๗ ปีครึ่งขึ้นไป ก็นับไปซิครับ ปลูกปี ๒๕๔๗-๒๕๔๙ ก็กรีดได้ประมาณปี ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
 
เมื่อไปดูสถิติราคายางพาราย้อนหลัง ปี ๒๕๔๙ อยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ ๖๙ บาท ปีสุดท้ายก่อนยาง ๑ ล้านไร่จะกรีดได้ ราคายางพาราอยู่กิโลกรัมละ ๑๕๔ บาท แต่หลังจากนั้นกู่ไม่กลับ ราคาลดลงเรื่อยๆ
 
ปี ๒๕๕๕ กิโลกรัมละ ๑๐๐ บาท ปี ๒๕๕๖ กิโลกรัมละ ๘๗ บาท ปี ๒๕๕๗ เหลือ ๖๘ บาท ปี  ๒๕๕๘ ดำดิ่ง ๕๘ บาท ปีที่แล้วตกต่ำสุดขีด กิโลกรัมละ ๓๖ บาท
 
วันนี้อยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ ๕๐ บาท ที่ว่ามานี้คือราคายางแผ่นรมควันชั้น ๓ ฉะนั้นคงสังเกตเห็นนะครับว่า ต้นตอคืออะไร ช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมาพื้นที่ปลูกยางพาราในมาเลเซียสวนทางกับไทยอย่างสิ้นเชิง
 
มาเลเซียมีแต่หดลง โค่นยางไปปลูกปาล์มแทน แต่ไทยกลับเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่ากันเยอะมาก
 
อย่าไปโทษใคร ต้องโทษตัวเอง เราปลูกเยอะเกินไป ปริมาณยางพาราในไทยที่เพิ่มขึ้นมาเกือบ ๑ ล้านตันต่อปี จะจัดการในส่วนนี้อย่างไร
 
นั่นคือสิ่งที่ต้องคิด หากไม่ขจัดส่วนเกินนี้ออกไป ก็อย่าหวังครับว่า ราคาจะกลับไปดีเหมือนเดิม
มันแค่หลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน ทำอย่างไรให้ อุปสงค์และอุปทาน มันสมดุลกัน
ดุลยภาพของตลาด เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ฉลองได้ทันที.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2017, 02:32:12 PM โดย Rakayang.Com »

5 Tigers

  • บุคคลทั่วไป




               เแต่ ช่วงยางขาดตลาด ไม่มีผลผลิต ราคายางกลับลดลงมาก เป็นเพราะอะไร

                 เดี๋ยวนี้ พวกโบรกเกอร์จีน ญี่ปุ่น  มีโกดังเก็บตุนนอกประเทศ เห็นความอ่อนแอของการค้าในประเทศ ราคาจึงถูกดมานานอย่างง่ายดาย  การบริหารจัดการของรํฐยังไม่ดีพอ ขาดการยริหารเชิงลุก การแปรรูปในประเทศก็มีแต่ลมๆแล้งๆ  มิหนำซ้ำยังมีสต็อกยางคุณภาพต่ำออกมาขายบ่อยๆ จนทำให้ราคาต่ำต้อยเพราะราคาตามคุณภาพนั้นเป็นราคาขายทีใช้ อ้างอิง ในการซื้อของลูกค้าต่างประเทศในครั้งต่อไป

               Supply มากแล้วเป็นอย่างไร รุกขึ้นมาแก้ปัญหา หรือ จะปล่อยให้ตายหมู่