ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2014, 09:39:05 AM »


สกย.ดัน4ยุทธศาตร์พัฒนายาง เพิ่มเป้าผลผลิต300กก.ต่อไร่ สร้างอำนาจต่อรองเกษตรกร


 
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อังคารที่ 25 มีนาคม 2557 06:00:00 น.
นายประสิทธิ์ หมีดเส็น รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา สกย. สามารถดำเนินงานได้ตามแผนวิสาหกิจ ซึ่งได้วางยุทธศาสตร์ไว้ 4 ด้าน คือ  1.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  ได้มีการเร่งรัดให้ปลูกยางพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง ซึ่งพันธุ์ยางที่ สกย. แนะนำคือ พันธุ์ RRIT 251 ให้ผลผลิตในพื้นที่ปลูกยางเดิมเฉลี่ย 462 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และพื้นที่ปลูกยางใหม่เฉลี่ย 343 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และพันธุ์ RRIM 600 ในพื้นที่ปลูกยางเดิมจะให้ผลผลิต เฉลี่ย 297 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และพื้นที่ปลูกยางใหม่เฉลี่ย 240 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี


นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้เกษตรกรโค่นสวนยางเก่าที่มีอายุมากกว่า 25 ปี เพื่อปลูกยางพันธุ์ดีหรือไม้ยืนต้นอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทดแทน ซึ่งสามารถทำได้ตามแผนที่วางไว้  ทำให้ผลผลิตยางพาราของไทยในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 274 กิโลกรัมต่อไร่ สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน และยังตั้งเป้าจะเพิ่มผลผลิตน้ำยางให้ได้เฉลี่ย 300 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีภายในปี 2559 อีกด้วย


2.การสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร สกย.สนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยรวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มหรือเป็นสถาบันในทุกพื้นที่ที่มีการปลูกยางพารา โดยขณะนี้จัดตั้งไปแล้วประมาณ 3,000 กลุ่ม  เพื่อให้สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทั้งด้านการผลิต แปรรูป และการตลาด เป็นการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มอำนาจในการต่อรองให้กับชาวสวนยาง โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้ทุกๆ กลุ่มเป็นนิติบุคคล เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน และทำธุรกรรมได้ง่ายขึ้น


3.การพัฒนาระบบตลาดยางพารา  ได้มีการจัดตั้งตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่นไปแล้ว 108 แห่ง  เพื่อรองรับผลผลิตยางพาราครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีการส่งเสริมการปลูกยางพารา  และให้เกษตรกรได้ขายยางในราคาที่เป็นธรรม มีเป้าหมายที่จะให้ยางเข้าสู่ตลาดดังกล่าว 500,000 ตัน พร้อมทั้งได้พัฒนาการซื้อขายจากการประมูลยื่นซองหรือโทรศัพท์ มาประมูลทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยในปีที่ผ่านมาได้ทำการทดสอบระบบ และได้นำร่องใช้จริงไปแล้วจำนวน 10 ตลาด ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี น่าน บึงกาฬ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ระนอง ราชบุรี พัทลุง สตูล และนครศรีธรรมราช


4.การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้บุคลากรของ สกย.สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ สอดรับกับการเปลียนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน   ซึ่งในปีที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)  โดยบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด  ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารความเสี่ยงขององค์กร  ได้ประเมินผลให้คะแนน สกย.  จากที่เคยได้ 3.50 เพิ่มเป็น 3.87 จากคะแนนเต็ม 5