ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 03, 2014, 06:00:55 AM »


AFET แนะชาวสวนยางใต้เร่งศึกษาก่อนเข้าสู่ AEC




โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   31 มีนาคม 2557 09:55 น.        












   
ตรัง - ประธานตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าไทย (AFET) แนะให้ผู้ประกอบการ และเกษตรชาวสวนยางภาคใต้เร่งศึกษาแนวโน้ม และแนวทางการผลิตเพื่อลดความเสี่ยง เพราะใกล้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว
       
       วันนี้ (31 มี.ค.) นายประสาท เกศวพิทักษ์ ประธานกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ ?การรับมือความเสี่ยงจากราคายางพารา? โดยมีผู้ประกอบการ และเกษตรชาวสวนยางในพื้นที่ภาคใต้ ให้ความสนใจเข้ารับฟัง พร้อมกับร่วมตอบข้อซักถามกันเป็นจำนวนมาก ขณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติมากที่สุด ส่วนรองลงไปคือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยมีปริมาณผลผลิตรวมกันคิดเป็นร้อยละ 70 ของปริมาณผลผลิตทั้งหมดของโลก ซึ่งมีอยู่ที่ 10.7 ล้านตัน
       
       สำหรับเมื่อปี 2555 ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตยางธรรมชาติ 3.87 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 35.33 ของปริมาณการผลิตยางธรรมชาติของโลก ส่วนตลาดส่งออกยางที่สำคัญของประเทศไทยในปี 2548-2555 หรือช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และกลุ่มยุโรป ดังนั้น เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ผู้ประกอบการ และเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้ม และแนวทางการผลิตเพื่อลดความเสี่ยง เพราะหลายประเทศก็เริ่มมีการส่งออกยางแข่งขันกับประเทศไทย
       
       อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์ปริมาณความต้องการใช้ยางของโลก เชื่อว่าคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน โดยในปี 2563 จะมีปริมาณยางธรรมชาติ 12.4 ล้านตันออกสู่ตลาด และประเทศที่มียางมากที่สุดจะได้เปรียบ ดังนั้น ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย จึงเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่จะเป็นช่องทางในการช่วยผู้ประกอบการ และเกษตรกร สำหรับการวางแผนการจำหน่าย การกำหนดราคาขายให้เป็นธรรม การปรับโครงสร้างการผลิต และระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ตนเอง