วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
[/t]วิเคราะห์ | [/size]1. สภาพภูมิอากาศ | [/size]- จากอิทธิพลของลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงทำให้ด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง รวมถึงภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ส่วนฝั่งตะวันออกมีฝนเล็กน้อย ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ | [/size]2. การใช้ยาง | [/size]- ศาลากลางรัฐเคดาห์ (Kedah) ของประเทศมาเลเซีย เปิดเผยว่าหน่วยงานต่าง ๆ ในรัฐเคดาห์มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างมากในการจัดตั้งโครงการ Rubber City Tarap รัฐเคดาห์ เพื่อเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรสวนยางของรัฐ เนื่องจากขณะนี้เกษตรกรประสบปัญหายางพาราตกต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยทางรัฐจะมีการเชิญชวนเอกชนมาลงทุนทำธุรกิจผลิตภัณฑ์ยางพาราต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้และความมั่นคงราคายางพาราให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน | [/size]3. เศรษฐกิจโลก | [/size]- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของอังกฤษปรับตัวขึ้น แตะร้อยละ 1.8 ในเดือนเมษายน จากระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ที่ร้อยละ 1.6 ในเดือนเมษายน- ธนาคารกลางเกาหลีใต้ เปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของเกาหลีใต้ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบรายปี หลังจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลงและสกุลเงินวอนแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตามการปรับตัวลงดังกล่าวนับว่าชะลอลงเมื่อเทียบกับที่หดตัวลงร้อยละ 0.5 ในเดือนมีนาคม และร้อยละ 0.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นขาลงเป็นเวลา 19 เดือนติดต่อกัน ซึ่งทำสถิติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ- กระทรวงการคลังของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการค้า 8.089 แสนล้านเยน ในเดือนเมษายน ทำสถิติขาดดุลการค้าเป็นเดือนที่ 22 ติดต่อกัน โดยรายงานเบื้องต้นระบุว่า ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 จากปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.4 | [/size]4. อัตราแลกเปลี่ยน | [/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.56 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ และเงินเยนอยู่ที่ 101.26 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.30 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | [/size]5. ราคาน้ำมัน | [/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน มิถุนายน ปิดตลาดที่ 102.44 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.17 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ตลาดคาดว่าการผลิตน้ำมันที่แข็งแกร่งในสหรัฐฯ จะหนุนปริมาณสต๊อคให้สูงขึ้น | [/size]6. การเก็งกำไร | [/size]- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือน มิถุนายน 2557 เปิดตลาดที่ 196.0 เยนต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง และส่งมอบเดือน ตุลาคม 2557 เปิดตลาดที่ 204.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 210.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | [/size]7. ข่าว | [/size]- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เปิดฉากการประชุมนโยบายเป็นเวลา 2 วัน เมื่อวานนี้ โดยคาดว่าที่ประชุมจะคงนโยบายผ่อนคลายด้านการเงินไว้เพื่อรับมือกับภาวะเงินฝืดพร้อมกับคงมุมมองที่ว่าเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงฟื้นตัวปานกลางแม้จะมีการปรับขึ้นภาษีการบริโภคเมื่อวันที่ 1 เมษายน ก็ตาม- หัวหน้าฝ่ายการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์จีน (MOC) เปิดเผยว่า การค้าระหว่างจีนและเวียดนามจะได้รับผลกระทบอย่างหนักหากสถานการณ์ความรุนแรงที่พุ่งเป้าไปยังบริษัทต่างประเทศในเวียดนามลุกลามมากไปกว่านี้ |
[/size]8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | [/size]- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีแรงหนุนจากผู้ประกอบการเร่งซื้อ เพราะหลายโรงงานเริ่มขาดแคลนยาง และมีกระแสข่าวว่าจีนเริ่มกลับเข้าซื้อ จากสต๊อคที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับผลผลิตยางในระยะนี้ออกสู่ตลาดเพียงร้อยละ 50.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของทุกปี |
[/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว เพราะยังมีแรงหนุนจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ทำให้ต้นยางให้ผลผลิตน้อย ขณะที่แหล่งข่าวรายงานว่าโรงงานหลายแห่งเริ่มขาดแคลนยางจึงเร่งซื้อ อย่างไรก็ตามราคายางในระยะนี้ยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด เพราะนักลงทุนชะลอการซื้อเพื่อรอดูผลประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันนี้ และเงินเยนแข็งค่า รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับภาคอสังหาริมทรัพย์จีน อาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นผู้ใช้ยางรายใหญ่สุดของโลก คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา [/size]
[/size] |
|
[/td][/tr][/table]