ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2014, 04:02:43 PM »


ผู้บริหารรับเบอร์ วัลเลย์พ่อค้ายางจีนหารือสกย.สร้างช่องทางซื้อขายยางพารา


คณะผู้บริหารรับเบอร์ วัลเล่ย์ พ่อค้ายางจีน หารือ ทีมบริหาร สกย.หวังขยายโอกาส และสร้างตลาดยางระดับเกษตรกร


เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2557 คณะผู้บริหารจากบริษัท QINGDAO RUBBER VALLEY SUPPLY CHAIN CO.,LTD จากประเทศจีน พบปะกับผู้บริหาร สกย. สร้างความสัมพันธ์ และสร้างช่องทางการซื้อขายยางพาราจากกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางไทย ณ ห้องประชุมสำรวจพฤกษาลัย ชั้น 2 อาคาร 50 ปี สกย.บางขุนนนท์


นายประสิทธิ์ หมีดเส็น รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กล่าวว่า การพบปะคณะผู้บริหารจากบริษัท QINGDAO RUBBER VALLEY SUPPLY CHAIN CO.,LTD ในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ สกย.ได้มีโอกาสต้อนรับ ซึ่งการประเทศจีน ในฐานะประเทศผู้ซื้อยางรายใหญ่ของโลกได้เห็นความสำคัญและเข้ามาติดต่อกับ สกย. เพื่อเปิดโอกาสและหาช่องทางในการซื้อขายยางพารากับเกษตรกรชาวสวนยางเป็นผู้ ผลิตโดยตรง นับว่าเป็นทิศทางในการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมและระบบตลาดยางพาราของไทยที่ดีอีก ระดับหนึ่ง


อย่างไรก็ตาม ในภารกิจของ สกย. ซึ่งมีเป้าหมายให้เกษตรกรชาวสวนยางสามารถรวมตัวเป็นกลุ่ม และดำเนินธุรกิจค้าขายได้ พร้อมทั้ง มีนโยบายพัฒนาสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง ยังต้องคำนึงถึงปริมาณผลผลิตและคุณภาพของสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของ ตลาดด้วย ที่ผ่านมา ปริมาณผลผลิตในรูปแบบยางประเภท ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่ง STR 20 และยางคอมปาวด์ ของเกษตรกรที่อยู่ในความดูแลและการส่งเสริมของ สกย. อาจยังมีปริมาณน้อย หากเทียบกับปริมาณความต้องการของทางบริษัท เพราะมีเพียงไม่กี่สหกรณ์ที่สามารถดำเนินธุรกิจแปรรูปยางขั้นต้นได้เอง


ทั้งนี้ การทำธุรกิจค้าขายระดับเกษตรกร เป็นเรื่องที่สำคัญและต้องศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้ง ในเบื้องต้น จะต้องมีการศึกษาข้อมูลทั้งในระบบการตลาด และการส่งออก ในระยะหนึ่ง เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อให้มีศักยภาพจากเกษตรกรผู้ผลิต เป็นผู้ขายสินค้า อาทิ การเตรียมความพร้อมของสหกรณ์กองทุนสวนยาง ซึ่งจะต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน GMP หรือ ปริมาณยาง จะต้องควบคุมและบริหารจัดการให้มีระดับเพียงพอต่อการส่งออก เป็นต้น










ที่มา : ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ (01/07/2557)