ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2014, 12:25:04 PM »วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t][/t] |
วิเคราะห์ | |
1. สภาพภูมิอากาศ | - มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง |
2. การใช้ยาง | - สมาคมรถยนต์นั่งจีนเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ รถเอนกประสงค์ และรถเอสยูวี เดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 อยู่ที่ 1.47 ล้านคัน ขณะที่ยอดจำหน่ายช่วง 6 เดือนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 อยู่ที่ 9.09 ล้านคัน |
3. เศรษฐกิจโลก | - สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 เนื่องจากผลผลิตภาคการผลิตและภาคก่อสร้างปรับตัวลดลง - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงระดับการประเมินเศรษฐกิจทั้ง 9 ภูมิภาคไว้ แม้จะต้องรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับขึ้นภาษีการค้าที่มีผล บังคับใช้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นับเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ - สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจเดือนพฤษภาคมทรงตัวอยู่ที่ระดับเดียวกับเดือนเมษายน โดยรายงานระบุว่าดัชนีพ้องเศรษฐกิจ เช่น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก และจ้างงานใหม่ ทรงตัวอยู่ที่ 111.1 จุด - ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการคลังของจีนเปิดเผยว่า เศรษฐกิจจีนจะสามารถบรรลุเป้าหมายการขยายตัวเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ร้อยละ 7.5 ในปี 2557 คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ของจีนอาจทรงตัวที่ร้อยละ 7.4 และจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังอยู่ที่ร้อยละ 7.6 ขานรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ - คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยว่า ดัชนีแนวโน้มการจ้างงานเดือนมิถุนายนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นแตะ 119.62 จุด จาก 119.03 จุดในเดือนพฤษภาคม เน้นย้ำถึงภาวะแรงงานที่มีความแข็งแกร่งขึ้น - สำนักงานสถิติแห่งชาติสเปนเปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยระบุว่าการผลิตสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ ลดลงร้อยละ 6.1 ส่วนการผลิตสินค้าไม่คงทน เช่น อาหาร ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.9 |
4. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 32.40 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 101.77 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.64 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ |
5. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่ 103.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เป็นการลดลงติดต่อกัน 7 วันทำการ หลังจากมีรายงานว่าลิเบียเตรียมส่งออกน้ำมันที่ท่าเรือ 2 แห่ง ซึ่งปิดทำการนานเกือบ 1 ปี - กระทรวงพลังงานลิเบียเปิดเผยว่า ท่าเรือเอส ซิเคอร์ ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของลิเบีย และท่าเรือ ราส ลานุฟ ซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่อันดับ 3 มีน้ำมันดิบปริมาณ 7.5 ล้านบาร์เรลที่พร้อมจะส่งออกไปยังต่างประเทศ |
6. การเก็งกำไร | - ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 194.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 202.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.1 เยนต่อกิโลกรัม - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 198.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 9.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม |
7. ข่าว | - ผู้อำนวยการกองทุนระหว่างประเทศ (IMF.) ส่งสัญญาณว่า IMF. อาจปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยระบุว่าการลงทุนยังคงอ่อนแอ และสหรัฐฯ ยังคงเผชิญกับความเสี่ยงแม้ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วก็ตาม |
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | - ราคายางปรับตัวลดลง เพราะราคาที่ซื้อก่อนหน้ายังสูงอยู่ ขายออกยาก จึงต้องพยายามให้ราคาเข้าสู่ความเป็นจริงที่ขายได้และลดการขาดทุน ประกอบกับมีการคาดการณ์ว่าผลผลิตน่าจะเพิ่มขึ้น เพราะหลายพื้นที่ต้นยางไดรับน้ำเต็มที่ |
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]