วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
[/t] วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนกระจายร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกมีฝนกระจายเกือบทั่วไป ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด ระนอง กระบี่ พังงา และภูเก็ต ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง | 2. การใช้ยาง | - สมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีนเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถเดือนสิงหาคมของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 1.71 ล้านคัน และปรับตัวขึ้นร้อยละ 6.72 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ส่วนการผลิตรถยนต์อยู่ที่ 1.71 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.22 เมื่อเทียบเป็นรายปี ลดลงร้อยละ 0.34 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน | 3. เศรษฐกิจโลก | - สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี สะท้อนให้เห็นว่าเงินเฟ้อของเยอรมันยังคงเคลื่อนไหวที่ระดับต่ำสุดนับ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2553 เนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลง - สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนสิงหาคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนกรกฎาคม และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากฤดูกาลลดราคาสิ้นสุดลง ประกอบกับค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวปรับตัวขึ้น - ผลสำรวจของรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่ 11.1 จุดในไตรมาส 3 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ที่ -14.6 จุด นอกจากนี้ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งมีมุมมองเป็นบวกต่อ แนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยดัชนีคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจอยู่ที่ 9.9 จุดในไตรมาส 4 และ 7.3 จุดในไตรมาสแรกปีหน้า - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นการปรับตัวลดลงรุนแรงกว่าเดือนกรกฎาคมที่ลดลงร้อยละ 0.9 และหากเทียบเป็นรายเดือน ดัชนี PPI เดือนสิงหาคมปรับลงร้อยละ 0.2 จากเดือนกรกฎาคม และเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 30 ติดต่อกัน ชี้ให้เห็นถึงแรงกดดันที่ยังมีอยู่จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว | 4. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 32.25 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.10 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 107.26 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.57 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | 5. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดตลาดที่ 92.83 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.16 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางและ รัสเซียอาจส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันนตลาดโลก ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ณ ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 0.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 98.08 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล - สำนักงานพลังงานสากล (IEA.) ปรับลดคาดการณ์ความต้องการน้ำมันทั่วโลกปี 2558 ต่ำกว่าระดับประเมินเดือนก่อน โดยปรับลดลง 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือร้อยละ 1.3 อยู่ที่ 93.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน | 6. การเก็งกำไร | - ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม2557 อยู่ที่ 179.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ 190.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.6 เยนต่อกิโลกรัม - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 163.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | 7. ข่าว | - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 6 กันยายน 2557 ปรับขึ้น 11,000 ราย อยู่ที่ 315,000 ราย ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 300,000 ราย - สหภาพยุโรป (EU.) ประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่ มีผลบังคับใช้วันที่ 12 กันยายน 2557 โดยระบุว่ากลุ่มประเทศสมาชิก EU. และบริษัทเอกชนใน EU. จะไม่จัดหาเงินกู้ให้กับธนาคารของรัฐบาลรัสเซีย 5 แห่ง ขณะเดียวกันการซื้อขายพันธบัตรชุดใหม่ หลักทรัพย์ หรือตราสารหนี้ที่มีอายุการไถ่ถอนมากกว่า 30 ปี ซึ่งออกโดยธนาคารเหล่านี้จะถูกระงับ | 8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | - ราคายางทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ เพราะผู้ประกอบการชะลอการซื้อ เพื่อรอดูการแถลงนโยบายของรัฐบาลว่าจะมีความชัดเจนหรือไม่ในมาตรการแก้ไข ปัญหาราคายางตกต่ำ | แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยบวกจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน และเงินเยนอ่อนค่าเหนือระดับ 107 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าที่สุดในรอบ 6 ปี จากสัญญาณบ่งชี้ว่าญี่ปุ่นพร้อมที่จะดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อหนุน เศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ส่วนปัจจัยลบมาจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะตลาดแรงงานยังมีความผันผวน และจีนยังคงดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดภาวะฟองสบู่ ขณะที่นักลงทุนบางส่วนยังต้องรอดูผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 16 - 17 กันยายนนี้
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา |
[/td][/tr][/table]