วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557
[/t] วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - อิทธิพลพายุไต้ฝุ่น ?คัลแมกี (Kalmaegi) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง | 2. การใช้ยาง | - สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ในจีนเปิดเผยว่า เดือนสิงหาคมยอดจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมียอดจำหน่าย 1.72 ล้านคัน ขณะที่เดือนกรกฎาคมมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนช่วง 8 เดือน (มกราคม - สิงหาคม) ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 มีจำนวน 10.02 ล้านคัน | 3. เศรษฐกิจโลก | - องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวร้อยละ 2.1 ในปี 2557 และร้อยละ 3.1 ในปี 2558 ขณะที่ OECD ได้ประเมินเมื่อเดือนพฤษภาคมว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2557 และร้อยละ 3.5 ในปี 2558 และยังระบุถึงปัจจัยเสี่ยงอันเนื่องมาจากการเมืองในภูมิภาคที่ส่งผลต่อ เศรษฐกิจโลก พร้อมคาดการณ์เศรษฐกิจยุโรป ดังนี้ - ผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สหภาพยุโรป (EU.) จะขยายตัวร้อยละ 0.8 ในปี 2557 ลดลงจากร้อยละ 1.2 เนื่องจากความเสี่ยงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ
- เศรษฐกิจอิตาลีจะหดตัวร้อยละ 0.4 ในปี 2557 จากเดิมที่ขยายตัวร้อยละ 0.5
- ปรับ ลดคาดการณ์อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจเยอรมันและฝรั่งเศสเหลือร้อยละ 1.5 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.9 และร้อยละ 0.9
- กระทรวงการคลังจีนเปิดเผยว่า รายได้ทางการคลังเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี ชะลอตัวลงจากอัตราร้อยละ 6.9 ในเดือนกรกฎาคม - ผู้ว่าการธนาคารกลางยูเครนกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หดตัวลงไปแล้วร้อยละ 6.5 ในปีนี้ แม้ว่าจะมีโครงการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังยูเครนคาดว่าเศรษฐกิจยูเครนจะหดตัวร้อยละ 6.0 ในปี 2557 - นักเศรษฐศาสตร์เปิดเผยว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะชะลอตัวลงสู่อัตราการขยายตัวรายปีเฉลี่ย ที่ร้อยละ 7.0 - 7.5 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินทั่วโลก ยอดส่งออกของจีนจึงปรับตัวลงอย่างมาก เป็นผลจากภาคการผลิตของประเทศที่ซบเซา - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมหดตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มกราคม นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการขยายตัวที่ไม่ต่อเนื่อง โดยรายงานระบุว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงร้อยละ 0.1 ในเดือนสิงหาคมเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงร้อยละ 0.3 - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม ซึ่งเป็นการสำรวจกิจกรรมการผลิตในเขตนิวยอร์กปรับเพิ่มขึ้นแตะ 27.5 จุดในเดือนกันยายน จาก 14.7 จุดในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะที่ 16.0 จุด | 4. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 32.25 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 106.97 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.25 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | 5. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดตลาดที่ 92.92 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรก่อนที่จะทราบผลการประชุมของธนาคารกลาง สหรัฐฯ (เฟด) อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันปรับขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรมจีน ส่วนสัญญาน้ำมันเบรนท์ (Brent) ลดลง 0.46 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 96.65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล | 6. การเก็งกำไร | - ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม2557 อยู่ที่ 181.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ 192.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.4 เยนต่อกิโลกรัม - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 163.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | 7. ข่าว | - นายกรัฐมนตรียูเครนกล่าวว่า ประธานาธิบดีรัสเซียต้องการที่จะฟื้นคืนสหภาพโซเวียตและครอบครองยูเครน ขณะที่สหรัฐฯ ได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย เนื่องจากการสู้รบที่ยังคงดำเนินต่อไปในพื้นที่ทางตะวันออกของยูเครน แม้ว่าผู้นำยูเครนจะตกลงสงบศึกกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนแล้วก็ตาม | 8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | - ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เพราะปริมาณยางน้อยมาก หลายโรงงานเริ่มซื้อเก็บสต๊อค เนื่องจากสินค้าในโรงงานเริ่มขาดแคลน | แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อยลงจากภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ปลูกยางของ ไทย อย่างไรก็ตาม ราคายางปรับตัวสูงขึ้นในกรอบจำกัด เพราะยังมีปัจจัยลบจากนักลงทุนผิดหวังต่อข้อมูลภาคอุตสาหกรรมของจีนที่ อ่อนแอ และวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครน รวมทั้งรอดูผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในสัปดาห์นี้
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา |
[/td][/tr][/table]