ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 19, 2015, 02:56:09 PM »บล.ทรีนีตี้ : STA แนะนำ"ซื้อ" ราคาเป้าหมายปี 58 ที่ 15 บาท อิง PER 12 เท่า
หลายปัจจัยเริ่มหนุนราคายาง
เรามองว่าราคายางจะเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น หลังจากที่อุปทานส่วนเกินของโลกเริ่มลดลง อีกทั้งยังมีน้ำท่วมในพื้นที่ปลูกยางหลักในช่วงปลายปีที่ผ่านมากดดันผลผลิตเพิ่มเติม ส่วนในระยะยาวไทยมีแผนลดผลผลิตลง พร้อมดึงโรงงานผลิตยางรถยนต์จากจีนมาช่วยรองรับผลผลิตในประเทศ คาดผลประกอบการปี 58 จะฟื้นตัวแรงตามคาดการณ์ราคายาง ให้ราคาเป้าหมายปี 58 ที่ 15 บาท อิง PER 12 เท่า แนะนำ "ซื้อ"
คาดหลายปัจจัยหนุนราคายางปี 58 ฟื้นตัว
ราคายางในช่วงปีที่ผ่านมาปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากต้นปีที่ 232 cent/kg มาอยู่ที่ราว 160 cent/kg ในช่วงปลายปี โดยมีสาเหตุจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ความกังวลจากอุปทานส่วนเกินของยาง และสต็อกยางในจีนและไทยที่มีอยู่จำนวนมาก อย่างไรก็ตามเรามองว่าปัจจัยกดดันดังกล่าวจะเริ่มหมดไป โดยในด้านเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ โดยเฉพาะในส่วนของสหรัฐฯ ที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ขณะที่ด้วยราคายางที่ตกต่ำทำให้ผลผลิตเริ่มชะลอตัว ซึ่งตัวเลขครึ่งปีแรกของ 2014 อุปทานของยางโลกต่ำกว่าอุปสงค์ (Supply Deficit) ราว 4.61 แสนตัน หลังจากที่ในช่วง 2 ปีก่อนมีอุปทานส่วนเกินเป็นจำนวนมาก ซึ่งเราคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีจะเห็น Supply Deficit มากขึ้น สาเหตุหนึ่งมาจากมรสุมที่ทำให้เกิดฝนตกและน้ำท่วมหลักในมาเลเซียและภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ผลิตยางสำคัญ เฉพาะของในไทยคิดเป็นราว 40% ของพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศ แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีการประเมินความเสียหายอย่างเป็นทางการ แต่ International Rubber Consortium (IRCo) ให้ความเห็นว่าอาจทำให้ผลผลิตลดลงราว 1 แสนตัน/เดือนในช่วงน้ำท่วม ด้วยตัวเลขอุปทานส่วนเกินที่ติดลบนี้จะชดเชยสต็อกยางในชิงเต่าของจีนและไทยได้ ซึ่งเรามองว่า Downside ของราคายางเริ่มมีไม่มาก และจะฟื้นตัวได้ในปี 58 นี้
การแก้ปัญหาจากไทยจะส่งผลดีในระยะยาว
ปัจจุบันไทยมีพื้นที่ปลูกยางที่กรีดได้แล้วราว 17.4 ล้านไร่ และมีผลผลิตต่อปีราว 4 ล้านตัน ส่งออกปีละ 3.7 ล้านตัน (เป็นผู้ส่งออกหลักของโลก คิดเป็นราว 35% ของปริมาณส่งออกรวม) โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีการเพิ่มพื้นที่การปลูกจากไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคายางตกต่ำ โดยทางการไทยมีแผนจะลดพื้นที่การปลูกยางปีละ 4 แสนไร่ รวมคิดเป็น 2.8 ล้านไร่ภายใน 7 ปี ซึ่งเรามองว่าจะส่งผลดีต่อราคายางในระยะยาว นอกจากนั้นยังมีแผนจะดึงผู้ผลิตยางรถยนต์จากจีนเข้ามาลงทุนสร้างฐานการผลิตในไทย หลังผู้ผลิตจากจีนต้องการฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ (ปัจจุบันเข้ามาลงทุนแล้ว 2 ราย) ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยให้ราคายางในประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้นด้วย
คาดปี 58 ผลประกอบการฟื้นตัว
เราคาดผลกำไรปี 2557 ที่ 1,354 ล้านบาท โดยอาจตกต่ำลงไปค่อนข้างมาก 25%YoY เนื่องจากราคายางที่ตกต่ำเป็นปัจจัยกดดัน แต่ด้วยแนวโน้มของราคายางในปี 58 ที่เราคาดว่าจะกลับตัว ทำให้มองว่าผลประกอบการในปี 2558 จะฟื้นตัวแรงได้ถึง 19%YoY โดยภายใต้สมมติฐานของเรา ทุกๆ 1% ที่ราคายางปรับตัวขึ้นจะส่งผลให้กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกัน นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง จากการเปิดโรงงานใหม่อีก 7 แห่ง ซึ่งจะเพิ่มผลผลิตจาก 1.4 ล้านตัน เป็น 1.7 ล้านตันในปี 2558
มองเป็นโอกาสให้เข้าซื้อ
เราให้ราคาเป้าหมายสำหรับปี 2558 ที่ 15 บาท อิง PER 12 เท่า (เทียบเท่ากับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง) โดยมองว่าราคาหุ้นปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำ และแนวโน้มผลประกอบการที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้จากปัจจัยหนุน เป็นโอกาสให้เข้าซื้อ
นักวิเคราะห์ :
ธนภัทร ฉัตรเสถียร
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 049194
tanapat@trinitythai.com
หลายปัจจัยเริ่มหนุนราคายาง
เรามองว่าราคายางจะเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น หลังจากที่อุปทานส่วนเกินของโลกเริ่มลดลง อีกทั้งยังมีน้ำท่วมในพื้นที่ปลูกยางหลักในช่วงปลายปีที่ผ่านมากดดันผลผลิตเพิ่มเติม ส่วนในระยะยาวไทยมีแผนลดผลผลิตลง พร้อมดึงโรงงานผลิตยางรถยนต์จากจีนมาช่วยรองรับผลผลิตในประเทศ คาดผลประกอบการปี 58 จะฟื้นตัวแรงตามคาดการณ์ราคายาง ให้ราคาเป้าหมายปี 58 ที่ 15 บาท อิง PER 12 เท่า แนะนำ "ซื้อ"
คาดหลายปัจจัยหนุนราคายางปี 58 ฟื้นตัว
ราคายางในช่วงปีที่ผ่านมาปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากต้นปีที่ 232 cent/kg มาอยู่ที่ราว 160 cent/kg ในช่วงปลายปี โดยมีสาเหตุจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ความกังวลจากอุปทานส่วนเกินของยาง และสต็อกยางในจีนและไทยที่มีอยู่จำนวนมาก อย่างไรก็ตามเรามองว่าปัจจัยกดดันดังกล่าวจะเริ่มหมดไป โดยในด้านเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ โดยเฉพาะในส่วนของสหรัฐฯ ที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ขณะที่ด้วยราคายางที่ตกต่ำทำให้ผลผลิตเริ่มชะลอตัว ซึ่งตัวเลขครึ่งปีแรกของ 2014 อุปทานของยางโลกต่ำกว่าอุปสงค์ (Supply Deficit) ราว 4.61 แสนตัน หลังจากที่ในช่วง 2 ปีก่อนมีอุปทานส่วนเกินเป็นจำนวนมาก ซึ่งเราคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีจะเห็น Supply Deficit มากขึ้น สาเหตุหนึ่งมาจากมรสุมที่ทำให้เกิดฝนตกและน้ำท่วมหลักในมาเลเซียและภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ผลิตยางสำคัญ เฉพาะของในไทยคิดเป็นราว 40% ของพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศ แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีการประเมินความเสียหายอย่างเป็นทางการ แต่ International Rubber Consortium (IRCo) ให้ความเห็นว่าอาจทำให้ผลผลิตลดลงราว 1 แสนตัน/เดือนในช่วงน้ำท่วม ด้วยตัวเลขอุปทานส่วนเกินที่ติดลบนี้จะชดเชยสต็อกยางในชิงเต่าของจีนและไทยได้ ซึ่งเรามองว่า Downside ของราคายางเริ่มมีไม่มาก และจะฟื้นตัวได้ในปี 58 นี้
การแก้ปัญหาจากไทยจะส่งผลดีในระยะยาว
ปัจจุบันไทยมีพื้นที่ปลูกยางที่กรีดได้แล้วราว 17.4 ล้านไร่ และมีผลผลิตต่อปีราว 4 ล้านตัน ส่งออกปีละ 3.7 ล้านตัน (เป็นผู้ส่งออกหลักของโลก คิดเป็นราว 35% ของปริมาณส่งออกรวม) โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีการเพิ่มพื้นที่การปลูกจากไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคายางตกต่ำ โดยทางการไทยมีแผนจะลดพื้นที่การปลูกยางปีละ 4 แสนไร่ รวมคิดเป็น 2.8 ล้านไร่ภายใน 7 ปี ซึ่งเรามองว่าจะส่งผลดีต่อราคายางในระยะยาว นอกจากนั้นยังมีแผนจะดึงผู้ผลิตยางรถยนต์จากจีนเข้ามาลงทุนสร้างฐานการผลิตในไทย หลังผู้ผลิตจากจีนต้องการฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ (ปัจจุบันเข้ามาลงทุนแล้ว 2 ราย) ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยให้ราคายางในประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้นด้วย
คาดปี 58 ผลประกอบการฟื้นตัว
เราคาดผลกำไรปี 2557 ที่ 1,354 ล้านบาท โดยอาจตกต่ำลงไปค่อนข้างมาก 25%YoY เนื่องจากราคายางที่ตกต่ำเป็นปัจจัยกดดัน แต่ด้วยแนวโน้มของราคายางในปี 58 ที่เราคาดว่าจะกลับตัว ทำให้มองว่าผลประกอบการในปี 2558 จะฟื้นตัวแรงได้ถึง 19%YoY โดยภายใต้สมมติฐานของเรา ทุกๆ 1% ที่ราคายางปรับตัวขึ้นจะส่งผลให้กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกัน นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง จากการเปิดโรงงานใหม่อีก 7 แห่ง ซึ่งจะเพิ่มผลผลิตจาก 1.4 ล้านตัน เป็น 1.7 ล้านตันในปี 2558
มองเป็นโอกาสให้เข้าซื้อ
เราให้ราคาเป้าหมายสำหรับปี 2558 ที่ 15 บาท อิง PER 12 เท่า (เทียบเท่ากับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง) โดยมองว่าราคาหุ้นปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำ และแนวโน้มผลประกอบการที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้จากปัจจัยหนุน เป็นโอกาสให้เข้าซื้อ
นักวิเคราะห์ :
ธนภัทร ฉัตรเสถียร
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 049194
tanapat@trinitythai.com
เรียบเรียง โดย ประน้อม บุญร่วม
อีเมล์. reporter@efinancethai.com