ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2015, 12:11:55 PM »
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายางวันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558- ความกดอากาศสูงจากจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศหนาวเย็นลง โดยอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีเมฆบางส่วน และมีฝนบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง |
|
- สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า จีนนำเข้ายางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ จำนวน 350,000 ตัน ในเดือนมกราคม ซึ่งลดลงร้อยละ 14.6 จากเดือนที่แล้ว และลดลงร้อยละ 27.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน - สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า อินเดียนำเข้ายางธรรมชาติในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แตะระดับ 30,441 ตัน เนื่องจากราคายางในตลาดโลกที่ต่ำลง เป็นแรงจูงใจให้ผู้ผลิตยางล้อนำเข้ามากขึ้น |
|
-สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 มีจำนวน 164,821 ตัน เพิ่มขึ้น 140 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.09 จาก 164,681 ตัน วันที่ 30 มกราคม 2558 |
|
- รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่าดัชนีรวมชี้วัดสภาพเศรษฐกิจปรับตัวขึ้นในเดือนธันวาคม โดยดัชนีพ้องเศรษฐกิจ เช่น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยอดค้าปลีก และการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากเดือนก่อนหน้าสู่ระดับ 110.7 เมื่อเทียบระดับฐานที่ 100 ในปี 2553 - สถาบัน IFO ซึ่งเป็นสถาบันเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่าดัชนีภาวะทางเศรษฐกิจในยูโรโซนในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ปรับตัวขึ้นแตะ 112.7 จาก 102.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญ คาดว่า ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.7 ในปี 2558 และอัตราเงินเฟ้อรายปีจะอยู่ที่ราวร้อยละ 1.6 ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า - กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนี เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม ปรับตัวขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่ม่ขึ้นร้อยละ 0.4 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนพฤศจิกายน นับเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจเยอรมนีอ่อนแรงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา - เทรดเดอร์ (ผู้ค้า) มองว่ามีความเป็นไปได้ร้อยละ 62.0 ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน ขณะที่มีความเป็นไปได้ร้อยละ 47.0 ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน หลังจากเปิดเผยตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ ที่สูงเกินคาด และค่าจ้างเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว - ข้อมูลจากศุลกากรจีน ระบุว่ายอดส่งออกของจีนเดือนมกราคม ปรับตัวลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบรายปี แตะ 1.23 ล้านล้านหยวน ส่วนยอดนำเข้าอยู่ที่ 8.6 แสนล้าน ลดลงร้อยละ 19.7 - ธนาคารกลางอิตาลี ปรับเพิ่มคาดการณ์ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจอิตาลีจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 0.5 ในปี 2558 ซึ่งปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับคาดการณ์การขยายตัวเมื่อเดือนที่แล้วที่ร้อยละ 0.4 |
|
- เงินบาทอยู่ที่ 32.62 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 118.84 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 1.49 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ |
|
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 51.69 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.21 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าบ่อขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ล่าสุด นอกจากนี้ข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งก็ช่วยหนุนตลาดเช่นกัน - ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้น 1.23 ดอลลาร์ ปิดที่ 57.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล |
|
- บริษัทเบอเกอร์ฮิวส แสดงให้เห็นว่า บ่อขุดเจาะน้ำมันที่มีการผลิตในสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.0 ในสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 9 ติดต่อกันสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 |
|
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ 213.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2558 อยู่ที่ 212.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.9 เยนต่อกิโลกรัม - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 178.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม |
|
- สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซ ลงสู่ระดับB? จากB และประกาศเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ ซึ่งเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับเศรษฐกิจยุโรป - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 257,000 รายในเดือนมกราคม ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้นที่ราว230,000 ราย และเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกันที่การจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่า 200,000 ราย ขณะที่อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สู่ระดับร้อยละ 5.7 จากร้อยละ 5.6 ในเดือนธันวาคม - บรรดารัฐมนตรีคลัง ของยูโรโซน จะจัดการประชุมพิเศษในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเงินต่อกรีซ ขณะที่เตรียมพร้อมสำรหรับผู้นำขอสหภาพยุโรป (EU) ที่จะเจรจาในเรื่องดังกล่าวในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ |
|
9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ |
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดต่างประเทศ และผลผลิตยางเริ่มลดลง เพราะหลายพื้นที่เข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการกล่าวว่าต้องรอดูสถานการณ์ต่อไป เพราะโดยภาพรวมตลาดต่างประเทศค่อนข้างเงียบ ยังขายออกยาก โดยเฉพาะผู้ซื้อจากจีนบางส่วนหายไป เพราะเตรียมหยุดยาวในเทศกาลตรุษจีน ประกอบกับผู้ซื้อหันไปซื้อยางแท่ง เพราะราคาถูกกว่ายางแผ่นรมควันกิโลกรัมละ 10-12 บาท |
|
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียวจากการอ่อนค่าของเงินเยน และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากตัวเลขจ้างงานของสหรัฐฯ เดือนมกราคม เพิ่มขึ้นมากเกินคาด รวมทั้งปัจจัยภายในที่มีมาตรการกระตุ้นการใช้ยางในประเทศให้เพิ่มขึ้นและอุปทานยางเริ่มลดลง เพราะหลายพื้นที่เริ่มเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ[/size][/size]ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา