ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2015, 03:01:00 PM »


วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพุธที่  25  มีนาคม  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณภาคเหนือและภาคกลางจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง และมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่


2. การใช้ยาง


- สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) คาดการณ์ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติปี 2558 เติบโตร้อยละ 3.2 โดยเลขาธิการสมาคมฯ เปิดเผยว่า ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติจะเพิ่มขึ้นจาก 10.63 ล้านตัน ในปี 2557 มาอยู่ที่ 11.18 ล้านตัน ในปี 2558 และคาดว่าความต้องการใช้ยางธรรมชาติในประเทศสมาชิก ANRPC จะเพิ่มขึ้นจาก 7.4 ล้านตันในปี 2557 ขยับเป็น 7.8 ล้านตันในปี 2558 สาเหตุสำคัญเนื่องจากแนวโน้มราคายางปรับตัวลดลง ผลจากอุปสงค์ยางธรรมชาติของจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อยางรายใหญ่ที่มีสัดส่วนมากกว่ารร้อยละ 30 ปรับลดลง ส่งผลต่อตลาดโดยรวม


- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เปิดเผยว่า ยอดการส่งออกรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ 108,173 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกับปีก่อนร้อยละ 11.32 เนื่องจากตลาดออสเตรเลียเริ่มดีขึ้น ตลาดยุโรปยังคงเติบโตดีจากการส่งออกรถยนต์อีโคคาร์ที่เพิ่มขึ้น ตลาดอเมริกาเหนือ อเมริการกลาง และอเมริกาใต้ ยังคงเพิ่มขึ้น


3. เศรษฐกิจโลก


- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนเดือนสิงหาคมลดลงแตะ 49.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน จาก 50.7 ในเดือนกุมภาพันธ์


- ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะขยายตัวร้อยละ 6.3 ในปีนี้และปีหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่อ่อนแรงลง และจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่


- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจ ดังนี้


ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นญี่ปุ่นเดือนมีนาคมลดลงแตะ 50.4 จาก 51.6 ในเดือนกุมภาพันธ์
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นยูโรโซนเดือนมีนาคมปรับตัวขึ้นแตะ 54.1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 46 เดือน จาก 53.3 ในเดือนกุมภาพันธ์ บ่งชี้ว่ากิจกรรมในภาคธุรกิจขยายตัวขึ้น
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นเยอรมันเดือนมีนาคมปรับขึ้นแตะ 55.3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน จาก 53.8 ในเดือนกุมภาพันธ์
ภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นฝรั่งเศสเดือนมีนาคมลดลงแตะ 51.7 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จาก 52.2 ในเดือนกุมภาพันธ์
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นสหรัฐฯ เดือนมีนาคมปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 55.3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 ที่ขณะนั้นอยู่ที่ 55.9
- นักวิเคราะห์ระบุว่า ข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอเกินคาดของจีนบ่งชี้ว่าอุปสงค์ภายในประเทศกำลังชะลอตัวลง แต่สถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะนำไปสู่การใช้นโยบายกระตุ้นเพิ่มเติม


- รองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า เฟดยังคงมีแนวโน้มที่จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ โดยมีแรงหนุนจากข้อมูลในวงกว้างเกี่ยวกับภาวะตลาดแรงงาน ตัวเลขเงินเฟ้อ ตลอดจนความคืบหน้าทางการเงินต่าง ๆ


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนนี้


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.52 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 119.68 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.09 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดตลาดที่ 47.51 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.06 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายก่อนที่สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) จะเปิดเผยรายงานสต๊อคน้ำมันดิบในคืนวันพุธตามเวลาในประเทศไทย


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดที่ 55.11 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.81 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายน อยู่ที่ 214.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 215.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.4 เยนต่อกิโลกรัม


- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 173.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB.) ได้แถลงต่อรัฐสภายุโรปว่าสถาบันการเงินต่าง ๆ จะไม่สร้างกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ สำหรับกรีซซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่าทุกฝ่ายจะดำเนินตามกฎระเบียบเดิมที่ใช้อยู่ และจะไม่ให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเพื่อจัดการปัญหาสภาพคล่องในกรีซ


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ยอดจำหน่ายบ้านใหม่ในสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์แตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ หลังจากประสบภาวะซบเซาในปีที่แล้ว ทั้งนี้กระทรวงระบุว่ายอดจำหน่ายบ้านใหม่พุ่งขึ้นร้อยละ 7.8 ในเดือนที่แล้ว สู่ระดับ 539,000 ยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ เพราะแม้ว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดลดลง แต่โดยภาพรวมยังมีสินค้าจำนวนหนึ่งที่ยังคงหมุนเวียนในตลาด โดยเฉพาะกระแสข่าวที่ออกมาว่าสถาบันเกษตรกรยังมีปริมาณวัตถุดิบอยู่ในมือจำนวนหนึ่ง ประกอบกับต่างประเทศยังคงซบเซา ทำให้ขายออกยาก ผู้ซื้อจึงไม่เร่งซื้อ






แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ เพราะไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ สนับสนุนราคายาง โดยเฉพาะราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวค่อนข้างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่ภาคการผลิตเดือนมีนาคมยังคงชะลอตัว และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งอาจกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานด้านอุปทานยางที่ลดลงตามฤดูกาลยังส่งผลในเชิงบวกไม่ชัดเจน


 


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา