ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 21, 2015, 11:05:33 AM »วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ | - ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ |
2. การใช้ยาง | - บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประกาศจะสร้างโรงงานใหม่ในเม็กซิโกเป็นเงิน 1,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หลังจากที่ได้หยุดขยายการลงทุนมานาน 3 ปี นอกจากนี้บริษัทจะเพิ่มสายการผลิตใหม่ในโรงงานที่มีอยู่ในภาคใต้ของจีน โดยคาดว่าจะเริ่มได้ในปี 2559 โดยเน้นผลิตรถยนต์โคโรลาและเทคโนโลยีใหม่ และจะปรับโครงสร้างสายการผลิตที่มีอยู่ในบริษัทที่ร่วมทุนกับโตโยต้าในจีน โดยมีแผนสร้างโรงงานเพิ่มภายในปี 2560 |
3. สต๊อคยาง | - สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 17 เมษายน 2558 ลดลง 4,259 ตัน หรือลดลงร้อยละ 3.00 อยู่ที่ 137,866 ตัน จากระดับ 142,125 ตัน เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2558 |
4. เศรษฐกิจโลก | - สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมีนาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบเป็นรายเดือน แต่ปรับลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปี โดยดัชนี PPI เดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 0.2 - รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศคงระดับการประเมินเศรษฐกิจของประเทศในเดือนเมษายน แม้ว่าผลผลิตและการส่งออกจะอ่อนแรง ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนซบเซาหลังการปรับเพิ่มภาษีบริโภคเมื่อเดือนเมษายน ปีที่แล้ว - สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า การก่อสร้างในกลุ่มประเทศยูโรโซนเดือนกุมภาพันธ์ลดลงจากเดือนมกราคมร้อยละ 1.8 และลดลงร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้เศรษฐกิจในภูมิภาคฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม และตัวเลขที่ลดลงชี้ให้เห็นว่าภาคธุรกิจและครัวเรือนยังคงระมัดระวังเกี่ยว กับการลงทุนใหม่ ๆ - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศประจำเดือนมีนาคมลดลงสู่ระดับ -0.42 จาก -0.18 ในเดือนกุมภาพันธ์ แสดงถึงการชะลอตัวของการผลิตและการจ้างงาน - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก กล่าว่า การปรับตัวของเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยตัดสินว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เมื่อใด ขณะที่เขาคาดว่าจะมีการปรับขึ้นในปีนี้ และเขายังกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังคงมีการขยายตัวและเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นในช่วงปีนี้ |
5. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 32.43 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 119.45 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.52 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ |
6. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดตลาดที่ 56.38 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.64 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด หลังมีรายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากที่จีนประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการ ปรับลดอัตรากันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงอีกร้อยละ 1.0 - ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 63.45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยราคาอยู่ระดับทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง - เจ้าหน้าที่ไนจีเรียและอัลจีเรีย ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) คาดว่าราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในระดับต่ำเป็นเวลานาน หลังจากที่ลดลงกว่าร้อยละ 40.0 เมื่อปีที่แล้ว ทั้งไนจีเรียและอัลจีเรียต่างมองว่าราคาน้ำมันปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ประมาณ 60 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะไม่ปรับตัวขึ้นแตะระดับเดียวกับในช่วงปี 2554 - 2556 หรือที่ระดับสูงกว่า 100 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล |
7. การเก็งกำไร | - ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 200.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 201.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.5 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 166.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม |
8. ข่าว | - ไคซิน นิตยสารการเงินของจีนรายงานว่า ธนาคารกลางจีนอัดฉีดเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ธนาคารของรัฐ เพื่อสนับสนุนแผนการพัฒนาในต่างประเทศของรัฐบาล โดยระบุว่าธนาคารกลางจีนจะอัดฉีดเงิน 3.2 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐเข้าสู่ธนาคารไชน่าดีเวล็อปเมนท์ แบงค์ (CDB) และอัดฉีด 3.0 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐเข้าสู่ธนาคารเอ็กซ์พอร์ท - อิมพอร์ท แบงค์ ออฟ ไชน่า (EXIM)- ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB.) ปฏิเสธกระแสคาดการณ์ที่ว่ากรีซจะถูกบังคับให้ออกจากกลุ่มยูโรโซน ซึ่งถือเป็นการเน้นย้ำถึงสถานภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลงของยูโรโซน |
9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | - ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดน้อย และการเปิดกรีดยางรอบใหม่อาจล่าช้ากว่าทุกปี เพราะหลายพื้นที่ยังคงมีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ต้องรอฝนที่ตกหนักมากจึงจะเปิดกรีดได้ |
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา