ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 30, 2015, 11:34:58 AM »
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายางวันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558ปัจจัย[/t][/t] [/t] วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ | 2. การใช้ยาง | - ผู้ส่งออกชี้วิกฤตราคายางตกต่ำถึงที่สุดแล้ว มองเป็นโอกาสที่เกษตรกรไทยต้องปลูกยางต่อไป หลังจีนหันไปปลูกพื้นอื่นแทนและลดการกรีดยางมากขึ้น ขณะที่การบริภาคเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 - 40 ของทุก 10 ปี | 3. สต๊อคยาง | - สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 20 กันยายน 2558 ลดลง 331 ตัน หรือลดลงร้อยละ 3.93 อยู่ที่ 8,093 ตัน จากระดับ 8,424 ตัน เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2558 | 4. เศรษฐกิจโลก | - ผลสำรวจคอนเฟอร์เรนซ์ บอร์ด ระบุว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 103.0 จุดในเดือนกันยายน เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม หลังแตะระดับ 101.3 จุดในเดือนสิงหาคม บ่งชี้ว่าพลเมืองสหรัฐฯ ไม่มีความวิตกกังวลต่อภาวะปั่นป่วนในตลาดโลก ส่วนดัชนีประเมินภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเดือนกันยายนปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ สูงสุดในรอบ 8 ปี - กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เปิดเผยในรายงานเบื้องต้นว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมปรับตัวลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน - ธนาคารกลางอินเดียมีมติลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นลงร้อยละ 0.5 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนส่งผลกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจโลก - เจ้าหน้าที่หลายรายจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบเกือบ 9 ปี มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นภายในปีนี้ - นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า มีแนวโน้มสูงที่ธนาคารกลางจีนจะปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงก่อนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ซึ่งเป็นวันแรกของช่วงวันหยุดยาวประจำชาติของจีน เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแรงลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสภาพคล่องระยะสั้นที่ตึงตัวอันเนื่องมาจากการแทรกแซงตลาดการเงินก่อน หน้านี้ - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกรายงานเตือนว่า เศรษฐกิจประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์อาจชะลอตัวลงในช่วงปี 2558 - 2560 อันเนื่องมากจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลง | 5. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 36.38 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.11 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 119.79 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.10 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | 6. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายนปิดตลาดที่ 45.23 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.80 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้แรงหนุนจากรายงานของคอนเฟอร์เรนซ์ บอร์ด ที่ระบุว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกันยายนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเกินคาด - สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดที่ 48.23ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.89 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล | 7. การเก็งกำไร | - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 153.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 163.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.7 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ - ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 128.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | 8. ข่าว | - ฟิทซ์ เรทติ้งส์ เปิดเผยในรายงานว่า การที่เศรษฐกิจจีนขยายตัวในอัตราช้าลงและเปลี่ยนผ่านไปสู่การเติบโตในรูปแบบ ใหม่จะส่งผลให้อุตสาหกรรมเดินเรือที่ปัจจุบันประสบปัญหาอยู่แล้ว ต้องเผชิญความเสี่ยงครั้งใหญ่ - สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และเคส ซิลเลอร์ ระบุว่า เดือนกรกฎาคมราคาบ้านในสหรัฐฯ ขยับขึ้น ทั้งนี้ดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 4.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี สูงกว่าร้อยละ 4.5 ในเดือนมิถุนายน | 9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | - ราคายางน่าจะทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีน้อย ยังคงทำให้ผู้ประกอบการในประเทศที่ขาดแคลนวัตถุดิบมีการแข่งขันสูง | ?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ อ่อนค่าที่สุดในรอบกว่า 8 ปี ประกอบกับนักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐฯ ส่วนปัจจัยลบมาจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความไม่แน่นอนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา |
|