ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 10:55:16 AM »


วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  13  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1.สภาพภูมิอากาศ


- ภาคใต้มีฝนกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนเล็กน้อยร้อยละ 20-30 ของพื้นที่

2.การใช้ยาง


- นักวิจัยของประเทศเวียดนามและญี่ปุ่น ร่วมมือพัฒนาเทคนิคในการผลิตยางปลอดคาร์บอน มีจุดประสงค์เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ โดยการใช้ยางธรรมชาติ ซึ่งไม่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์เพิ่มสู่ชั้นบรรยากาศอีกทดแทนการใช้ยางสังเคราะห์ที่มีต้นกำเนิดมาจากแหล่งฟอสซิล

3.เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า อัตราการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือนกันยายน เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.1

- ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณถึงความพร้อมในการใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงินเพิ่มเติมในการประชุมเดือนหน้า เพื่อผลักดันเงินเฟ้อให้สูงขึ้น หากมีความจำเป็น

- สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีขยับขึ้นเล็กน้อยในเดือนตุลาคม แต่ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.0 ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอาจจะมีการใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงินเพิ่มเติม

- รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานของภาคเอกชนในเดือนกันยายน ปรับตัวขึ้นร้อยละ 7.5 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เพราะได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของยอดสั่งซื้อนอกภาคการผลิต

- คณะกรรมการกำกับภาคธนาคารจีน เปิดเผยว่า ภาคธนาคารของจีนมีสัดส่วนหนี้เสียเพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 1.59 ณ สิ้นเดือนกันยายน โดยสัดส่วนหนี้เสียดังกล่าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.09 เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน ขณะที่มูลค่าหนี้เสียที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น 9.44 หมื่นล้านหยวน

- รายงานจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ควรรอต่อไปเพื่อให้สัญญาณที่ชัดเจนของเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งก่อนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.85 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 122.60 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ  แข็งค่า 0.32 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดตลาดที่ 41.75 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.18 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด

- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 1.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 44.06 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) รายงานว่า สต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6.3 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่แล้วสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1 ล้านบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ 150.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 159.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.7 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 122.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการณ์ว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้วทรงตัวที่ระดับ 276,000 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์จะลดลงสู่ระดับ 270,000 ราย  อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 36 ติดต่อกัน

- ผลสำรวจนักวิเคราะห์ และนักธุรกิจของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท พบว่าผู้ถูกสำรวจมีความเห็นเกือบเป็นเอกฉันท์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในการประชุมเดือนหน้า หลังจากที่ได้คงอัตราดอกเบี้ยใกล้ ร้อยละ 0.0 ไว้นานราว 7 ปี

8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางในระยะนี้ยังคงเคลื่อนไหวทรงตัวหรือไม่เปลี่ยนแปลงมาก เพราะไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด กระแสข่าวที่เป็นปัจจัยด้านบวกและลบ ยังเป็นปัจจัยเดิม ๆ ที่นักลงทุนซึมซับมานาน  ดังนั้นคงต้องรอดูสถานการณ์ไปเรื่อย ๆ ตามกระแสข่าวรายวัน

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในกรอบแคบ ๆ โดยมีปัจจัยลบจากเงินเยนแข็งค่าขึ้น และราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ และเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ส่วนปัจจัยบวกมาจากภาคใต้ยังคงมีฝนตกในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ปริมาณอุปทานยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา