ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2015, 11:39:14 AM »วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1.สภาพภูมิอากาศ
- ภาคใต้ยังมีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจายร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล ซึ่งเป็นอุสรรคต่อการกรีดยางส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนเล็กน้อย ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่
2.การใช้ยาง
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย เปิดเผยว่า รัสเซียรับปากพิจารณานำเข้ายางพารา 8 หมื่นตัน มูลค่า 131 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามที่เคยให้คำมั่นไว้เมื่อครั้งที่รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของรัสเซียเดินทางมาเยือนไทยเมื่อเดือนมกราคม 2558
3.เศรษฐกิจโลก
- รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจรัสเซีย เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยับขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนตุลาคม แต่ภายในสิ้นปี 2558 อัตราการลดลงของ GDP รัสเซียอาจอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ทางกระทรวงเศรษฐกิจได้คาดการณ์ไว้
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาริชมอนด์ กล่าวว่า เขาเชื่อว่า เฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า เนื่องจากเหตุผลในการสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีน้ำหนักมากขึ้นในปีนี้
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา กล่าวว่า เขาเชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และข้อมูลเศรษฐกิจในปัจจุบันสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.93 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.13 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 123.47 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.01 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดตลาดที่ 40.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.08 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐ เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 0.57 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 44.14 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) คาดการณ์ว่าราคา
น้ำมันดิบเบรนท์จะเคลื่อนไหวโดยเฉลี่ยที่ 54 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2558 และ 56 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2559 พร้อมกับคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบ WTS จะเคลื่อนไหวโดยเฉลี่ยที่ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2558 และ 51 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2559
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐ เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 252,000 บาร์เรล สู่ระดับ 487.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกันขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2 ล้านบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ 150.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6
เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 157.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 121.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กรีซ บรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ยุโรปเมื่อวานนี้ เกี่ยวกับมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งจะปูทางให้กรีซได้รับเงินกู้งวดใหม่ วงเงิน 2 พันล้านยูโร รวมถึงเงินจำนวน 1 หมื่นล้านยูโร สำหรับการอัดฉีดเงินเข้าสู่ภาคธนาคารที่กำลังประสบปัญหา
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลง ร้อยละ 11.0 ในเดือนตุลาคม สู่ระดับ 1.06 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลง เพราะไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาดและต่างประเทศยังคงเงียบ การถามซื้อมีน้อยและเสนอซื้อในราคาต่ำ อย่างไรก็ตาม ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ผู้ประกอบการหลายรายยังต้องการซื้อเพื่อป้อนโรงงาน
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ยาง หลังจากจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลกรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ขยายตัวเพียงร้อยละ 6.9 ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ 7.0 เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 ปี อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงเคลื่อนไหวในกรอบจำกัด เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย จากสภาพอากาศทางภาคใต้ของไทยยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา