ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2015, 07:36:26 AM »

ชาวสวนยางบุกร้องนายกฯ ค้านตั้ง กก.กยท. - เสนอ 5 มาตรการบรรเทาความเดือดร้อน


เมื่อ วันที่ 25 พ.ย. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กลุ่มเกษตกรชาวสวนยาง นำโดยนายทศพล ขวัญรอด และเกษตรกรสวนยางจำนวน 4 คน ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกัฐมนตรี เพื่อขอให้เร่งดำเนินการบรรเทาความเดือดร้อน สร้างความเป็นธรรมต่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อย คนกรีดยาง และชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ จำนวนไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ตาม 5 มาตรการ คือ

1.ขอคัดค้านการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เนื่องจากระเบียบวิธีสรรหาอาจขัดต่อพ.ร.บ.การยาง โดยเฉพาะในกรณีกรอบของเวลาที่ให้อำนาจรัฐมนตรี ไม่เกิน 120 วัน วิธีการสรรหาที่ผ่านมา มีเกษตรกรชาวสวนยางเป็นผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก อาจนำไปสู่การฟ้องร้อง และอาจเกิดความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรชาวสวนยางกับเจ้าหน้าที่ กยท. ในวงกว้าง และอาจนำสู่ความวุ่นวาย มีการตั้งข้อสังเกตจากบุคคลหลายฝ่าย กรณีบุคคลที่ผ่านการสรรหา จาก กยท.ว่าอาจเป็นบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ทำธุรกิจค้าขายปุ๋ย ซึ่งอาจทำให้เกษตรกรชาวสวนยางต้องใช้ปุ๋ยที่ไม่มีคุณภาพและราคาแพง

2.ขอ ให้นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ กยท. ออกระเบียบให้ชาวสวนยางรายย่อยที่ไม่มีเอกสารสิทธิลงทะเบียน และไม่อยู่ในเขตป่าต้นน้ำ เขตป่าอนุรักษ์ ให้เข้าถึงมาตรการการช่วยเหลือจากรัฐบาลและมีสิทธิ์ลงทะเบียนเกษตรกรชาวสวน ยางพาราด้วย เพราะ กยท.ออกระเบียบกีดกันชาวสวนยางกลุ่มนี้ซึ่งไม่มีต้นทุนใด ๆ

3.ขอให้นายกรัฐมนตรี เร่งรัดมาตรการช่วยเหลือที่อนุมัติไปแล้ว 1,500 บาท/ไร่

4.ขอให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจที่มีอยู่และประชาชนให้โอกาส กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระบุใน TOR การจัดซื้อจัดจ้างให้ผู้รับจ้างใช้ยางธรรมชาติจากสถาบันเกษตรกรหรือเกษตรกร ในท้องถิ่นโดยตรงเท่านั้น และ

5.ขอให้รัฐบาลมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะสินค้าทุกชนิดมีน้ำมันเป็นปัจจัยการผลิตการขนส่ง แต่ในปัจจุบันสาเหตุที่น้ำมันราคาลดลง เป็นเหตุให้ราคายางพาราลดลงเพียงอย่างเดียว แต่สินค้าอื่นกลับแพงขึ้นจนเกษตรกรไม่มีกำลังซื้อ และเป็นสาเหตุของปัญหาอื่น ๆ ตามมา


ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558)