ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2015, 01:24:39 PM »


วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  27  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1.สภาพภูมิอากาศ


- มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีอากาศหนาวเย็นลงอีก โดยอุณหภูมิลดลงได้ 2-4 องศาเซลเซียส

2.การใช้ยาง


- รายงานของสำนักงานวิจัยตลาด คาดการณ์ว่ ตลาดสารเคมีช่วยในการแปรรูปยางจะมีมูลค่าถึง 4,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563 โดยมีอัตราเติบโตที่ ร้อยละ 5.4 ต่อปี ในช่วงปี 2558 -2563 โดยสารเคมีที่ช่วยทำให้สมบัติของยางที่ใช้ในการผลิตยางล้อดีขึ้น ตลาดมีแรงขับเคลื่อนหลังจากการเติบโตของอุปสงค์ยานพาหนะที่มีปัจจัยหนุนจากการที่มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

3.เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารกลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้ที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน ได้ปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ขานรับมาตรการการกระตุ้นทางการเงินและการคลัง โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCSI) ซึ่งสะท้อนการประเมินภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภคเกาหลีใต้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 จุด จากเดือนก่อนหน้าแตะ 106 ในเดือนพฤศจิกายน

- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) รายงานว่า ทางธนาคารกลางมีกำไรสุทธิ 6.288 แสนล้านเยน (5.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ? กันยายน โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากดอกเบี้ยจากการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

- กระทรวงสื่อสารและกิจกรรมภายในประเทศของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนตุลาคม ปรับตัวลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบรายปี โดยดัชนี CPI ของญี่ปุ่นปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนให้เห็นว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากในการพยุงเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.79 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 122.62 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ  แข็งค่า 0.02 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- ราคาน้ำมันตลาดหุ้นนิวยอร์ก ปิดทำการวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า

6. การเก็งกำไร


- TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ 156.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 164.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.4 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 123.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า อัตราว่างงานเดือนตุลาคมปรับตัวลดลงสู่ระดับ ร้อยละ 3.1 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ร้อยละ 3.4

8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะปริมาณผลผลิตยางมีน้อย และประกอบการยังมีความต้องการซื้อเพราะขาดแคลนวัตถุดิบป้อนโรงงาน

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดน้อยและเงินบาทอยู่ในระดับอ่อนค่า ส่วนปัจจัยลบมาจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และเศรษฐกิจจีนที่เปราะบาง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา